"กลุ่มเป้าหมายทั้งสองฝ่าย”

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ครู และโรงเรียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

"กลุ่มเป้าหมายทั้งสองฝ่าย”

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ครู และโรงเรียน

ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

บทย่อ
ข้อเสนอแนะ
ระเบียบวิธีวิจัย
1. มาตรฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ
2. ประวัติความเป็นมา
3. การโจมตีและภัยคุกคามครู
4. การยึดครองสถานที่ของโรงเรียนโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัย
5. การเข้าโจมตีโรงเรียนรัฐบาลของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
6. การปลูกฝังลัทธิแบ่งแยกดินแดนและการหาสมาชิกใหม่ที่โรงเรียน
รัฐบาลเข้าจู่โจมและจับกุมที่โรงเรียนอิสลามหลายแห่ง
8. ข้อเสนอแนะ
ภาคผนวก
รายการคำถามสำหรับฐานข้อมูล
ขอบคุณ

 

บทย่อ

ผมหันกลับมาและพบว่ามีปืนจ่ออยู่ที่แก้มของผม  เมื่อสลักถูกดึงแรงกระสุนปืนทำให้ตัวผมหมุน แล้วผมถูกยิงเข้าอีกด้านหนึ่งของศีรษะ  ผมพยายามใช้มือปัดป้องการยิงแต่กระสุนกลับทะลุผ่านนิ้วมือข้างซ้ายเข้าไปในกระโหลกศีรษะของผม    นักเรียนของผมตกตะลึงไปชั่วขณะและรับรู้ได้ว่าผมถูกยิง  พวกเขาร้องไห้ และถามว่า ใครยิงคุณครู หลายคนมาเยี่ยมผมที่โรงพยาบาล และร้องไห้เมื่อเห็นว่าผมถูกยิง
 ครูมุสลิมชาวมาเลย์ผู้สอนอยู่ทีโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งและถูกยิงโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
ฉันไม่เคยต่อต้านพวกทหารที่มาประจำการอยู่นอกโรงเรียน  แต่เมื่อกองทหารย้ายเข้าไปตั้งอยู่ในโรงเรียน  ฉันกลัวว่าโรงเรียนจะถูกโจมตี ดังนั้น ฉันจึงเอาลูก ออกจากโรงเรียน  เพราะถ้ามีการต่อสู้กัน เด็กๆ ก็จะได้รับบาดเจ็บด้วย
 คุณแม่ของลูกสองคน ซึ่งเรียนอยู่ที่โรงเรียนที่ส่วนหนึ่งถูกกองกำลังอาสาสมัครทหารพรานของรัฐบาลมาตั้งค่ายอย่

การจู่โจมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมีผลทำให้การเรียนการสอนหยุดชะงักลง  อีกทั้งยังสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้กับคร และนักเรียน เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไรทหารจะมา ฉันและนักเรียนของฉันรู้สึกไม่ปลอดภัยเลย

 คุณครูคนหนึ่งของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

ตั้งแต่ปี 2547  เมื่อกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดนหวนกลับมาก่อความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส  สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เด็กนักเรียน คุณครู และโรงเรียน ตกเป็นเหยื่อจากความรุนแรงของทั้งสองฝ่ายคือกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบและกองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล

กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบซึ่งมีทัศนคติว่าระบบการศึกษาเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ของชาวไทยพุทธ  จึงได้มีการเผา และระเบิดโรงเรียนของรัฐบาล   รังควานก่อกวน และสังหารชีวิตครู  ซึ่งสร้างความหวาดกลัวให้กับผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ครูส่วนใหญ่ที่ถูกฆ่าจะเป็นชาวไทยพุทธ  ซึ่งการเสียชีวิตของครูเหล่านี้ เป็นการประกาศเตือนไปในตัวให้กับผู้อื่น   นอกจากนี้ครูมุสลิมก็ไม่ได้รับการไว้ชีวิตเช่นกัน  โดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยังมุ่งเป้าหมายไปที่ครูมุสลิมที่สอนอยู่ที่โรงเรียนรัฐบาล และเจ้าหน้าที่โรงเรียนอิสลามที่ขัดขวางไม่ให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใช้ห้องเรียนเป็นสถานที่ปลูกฝังล้างสมอง (สั่งสอนให้ซึมซาบลัทธิต่างๆ) และเกณฑ์เด็กนักเรียนให้เข้าไปอยู่ฝ่ายตน   ในบางพื้นที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยังสร้างความกดดันให้ครอบครัวชาวมาเลย์มุสลิม โดยบังคับไม่ให้ส่งลูกหลานไปเข้าเรียนที่โรงเรียนรัฐบาล

รัฐบาลเผชิญหน้ากับความท้าทายในการที่จะหาทางปกป้องเด็กนักเรียนและครู  ทว่าในบางหมู่บ้านกองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลและกองกำลังอาสาสมัครทหารพรานได้เข้าไปตั้งฐานที่มั่นอย่างถาวรในอาคารของโรงเรียนและบริเวณโรงเรียน  ทำให้เป็นการรบกวนการเรียนการสอนและชีวิตประจำวันของนักเรียน อีกทั้งยังเป็นการยั่วยุให้เกิดการโจมตีมากกว่าป้องกันการโจมตี  เมื่อกองกำลังรักษาความปลอดภัยตั้งข้อสงสัยว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใช้โรงเรียนอิสลามเป็นที่ซ่อนตัวและเป็นที่กำบังหรือกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกำลังมองหาเด็กนักเรียนเพื่อล้างสมองและปลูกฝังให้มีความคิดในการแบ่งแยกดินแดนตลอดจนคัดเลือกผู้สนับสนุนและผู้ต่อสู้กลุ่มใหม่  ฝ่ายรัฐบาลจะตอบโต้ด้วยการจู่โจมโรงเรียนและจับตัวเด็กนักเรียนทั้งโรงเรียน  การจู่โจมบางครั้ง มีความรุนแรงมาก นักเรียน และครูตกอยู่ในอันตราย  กลยุทธ์เข้มงวดที่กล่าวมานี้เป็นการสร้างความแบ่งแยกตังเองจากรัฐบาลในชุมชมมาเลย์มุสลิมมากขึ้น

ผลก็คือเด็กนักเรียน ครู และโรงเรียนได้ตกเป็นเหยื่อที่อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากการ เสี่ยงกับความรุนแรงจากทั้งกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และกองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล ครูใหญ่ของโรงเรียนอิสลามแห่งหนึ่งกล่าวกับ Human Rights Watch ว่า เป็นเรื่องยากมากที่จะต้องอยู่ในฐานะนี้ คือตรงกลางระหว่างสองฝ่าย และถ้าคุณพยายามเป็นกลาง คุณก็จะกลายเป็นเป้าหมายของทั้งสองฝ่ายได้เหมือนกัน

ความรุนแรงทีเกิดจากความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ สำหรับเด็กนักเรียนจำนวนนับแสนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งชาวไทยพุทธและชาวมาเลย์มุสลิม

กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ โจมตีโรงเรียน

การโจมตีโรงเรียนรัฐบาลโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดน  กลายเป็นเรื่องที่กระฉ่อนโด่งดังที่สุดในเรื่องความขัดแย้งของจัดหวัดชายแดนภาคใต้  ระหว่างเดือนมกราคม 2547 เดือนสิงหาคม 2553 มีการลอบวางเพลิงที่โรงเรียนรัฐบาลอย่างน้อย 327 แห่ง ในสามจังหวัด  การโจมตีโรงเรียนของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในหลายๆ ครั้ง เกิดจากแรงจูงใจจากการเป็นปรปักษ์ ต่อระบบการศึกษาของไทย และการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างง่ายดาย  ผู้ลอบวางเพลิงบางรายโจมตีโรงเรียน โดยใช้การซุ่มโจมตี ขณะที่มีการโอนกองกำลังรักษาความปลอดภัย  บางโรงเรียนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ได้ลอบวางระเบิดบริเวณสนามโรงเรียน เพื่อมุ่งทำร้ายกองกำลังรักษาความปลอดภัย ทำความเสียหายให้กับทรัพย์สิน หรือสร้างสถานการณ์ให้เกิดความหวาดกลัว

ตั้งแต่กลางปี 2550  จำนวนการลอบวางเพลิงที่โรงเรียนลดลง น่าจะเป็นเพราะทั้งสองฝ่าย  คือรัฐบาลและชุมชนมีการปรับปรุง และเพิ่มขีดความรับผิดชอบ  ส่วนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบนั้นมีการเปลี่ยนเป้าหมายการโจมตี อย่างไรก็ตามยังไม่มีคำประกาศใดๆ จากผู้อาวุโส หรือผู้บัญชาการของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดน ว่าจะยุติการโจมตีโรงเรียนความรุนแรงจึงยังมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อนักเรียนที่ต้องการได้รับการศึกษา

เมื่อ Human Right Watchได้ไปเยี่ยมโรงเรียนประถมบ้านบาโง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ซึ่งนักเรียนทั้งหมดเป็นมุสลิม กองหนังสือยังคงกองอยู่ในห้องสมุดของโรงเรียนเมื่อ  5 วันก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการเรียนในเทอมนั้น กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบประมาณ 15 คน ได้บุกเข้าไปในโรงเรียน พังเข้าไปในห้องเรียน และเทน้ำมันราดไปทั่วห้อง กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเริ่มต้นด้วยการจุดไฟที่ห้องสมุด และในห้องเรียนชั้นอนุบาล ใช้หนังสือและที่นอนของเด็กอนุบาลเป็นเชื้อเพลิงในการจุดไฟ เปลวไฟลุกอย่างรวดเร็วในห้องเรียน คุณครูคนหนึ่งเล่าให้ Human Right Watch ฟังว่า “ผมอยู่ที่บ้าน และได้ยินเสียงปืนยิง 2 นัด เมื่อผมออกมา ก็ได้เห็นอาคารโรงเรียนถูกเผาอยู่ในกองเพลิง  ผมเรียหน่วยดับเพลิง ทหาร และตำรวจ  แต่ไม่มีใครมา เพราะทุกคนกลัวว่าจะเกิดการโจมตีครั้งที่สอง หรือการแอบดักซุ่มโจมตีระหว่างทางผมต้องอ้อนวอนนานเกือบชั่วโมงให้พวกเขามา”

การสูญเสียอาคารเรียน มีผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาของเด็กนักเรียน การขาดแคลนบุคคลากร และทรัพยากรของโรงเรียน เกิดความหวาดกลัวของครู นักเรียน และผู้ปกครอง เด็กนักเรียนต้องเปลี่ยนสถานที่เรียนจากห้องเรียน บ่อยครั้งเด็กๆต้องไปแออัดกันอยู่ในเต้นท์ หรือ ที่เรียนชั่วคราวใน สนามเด็กเล่น  ครูและนักเรียนเล่าให้ Human Right Watch ฟังว่า การเรียนการสอนแบบชั่วคราวนี้ สร้างปัญหาให้กับเด็กนักเรียน เนื่องจากต้องอยู่กันอย่างแออัด และหนวกหู และต้องขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ที่ร้อนจัดและเปียกฝนบ่อยครั้งที่การโจมตีโรงเรียนทีเป็นเป้าหมาย ทำให้ โรงเรียนใกล้เคียงต้องปิดชั่วคราวไปด้วย

กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบโจมตีครู

กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ โจมตี และบ่อยครั้งสังหารครู และเจ้าหน้าที่ทางการศึกษาอื่นๆ ตั้งแต่ภารโรง จนถึงเจ้าหน้าที่ธุรการของโรงเรียน  ระหว่างเดือนมกราคม 2547 ถึงสัปดาห์แรกของเดือนกันยายน 2553 มีครูจำนวน 108 คน และเจ้าหน้าที่ทางการศึกษาอีก 27 คน ถูกฆ่าในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีครูจำนวน 103 คน และ เจ้าหน้าที่ทางการศึกษาอีก 19 คนได้รับบาดเจ็บ ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – เดือนกันยายน 2553 ในจำนวนครู 14 คนที่ถูกสังหารประกอบด้วย ครูผู้ชาย 10 คน ครูผู้หญิง 4 คน  ขณะที่ผู้ถูกโจมตีส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพุทธ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยังโจมตีครูชาวมาเลย์มุสลิม ที่ไปสอนหนังสือที่โรงเรียนรัฐบาล หรือครูที่สอนที่โรงเรียนอิสลาม แต่ขัดขวางกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่พยายามใช้โรงเรียนเป็นสถานที่สำหรับปลูกฝังล้างสมองและคัดเลือกเด็กนักเรียนด้วยเช่นกัน

ชาวไทยพุทธผ้เป็นอดีตครูประจำอยู่ที่โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในหมู่บ้านมุสลิม อธิบายให้ทาง Human Rights Watch ฟังว่า ผู้ก่อความไม่สงบคนหนึ่งได้เข้าทำร้ายเธอและเพื่อนครู 4 คนขณะที่กำลังเดินทางออกจากโรงเรียนโดยรถปิคอัพ “รถปิคอัพของเราถูกบังคับให้จอดโดยคนถือปืน  ฉันจำไม่ได้ว่ามีกระสุนกี่นัดยิงมาที่รถปิคอัพ ครู 4คน ที่อยู่บนรถโดนยิง”  การถูกโจมตีครั้งนั้นทำให้ครูเป็นอัมพาตจากเอวลงมา  “ตอนนี้ฉันไม่สามารถนั่งด้วยตัวเอง ไม่สามารถไปห้องน้ำด้วยตัวเอง” เธอพูด และเธอหมดโอกาสที่จะเป็นครู “ฉันรักที่จะสอนเด็กๆ  ฉันสอนหนังสือมากว่า 30 ปี ในหมบ้านนั้น”

ครูอีกคนเล่าให้ Human Rights Watch ฟังว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้เตือนเขาหลายครั้ง ว่าเขาเป็นมุสลิม เขาไม่ควรที่จะไปสอนหนังสือให้โรงเรียนรัฐบาล กองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลส่วนท้องถิ่นบอกเขาในทำนองเดียวกันว่า “ให้ระมัดระวัง” ซึ่งเขาคิดว่าเป็นการข่ขวัญผู้ก่อความไม่สงบที่จะมาฆ่าเขา ยิงเขาครั้งแรกที่ปาก ทำให้ขากรรไกรแหลกยับ และลิ้นของเขาพิการ  จากนั้นกระสุนนัดที่สองก็เจาะเข้าไปในกระโหลกศีรษะของเขา

ครูใหญ่โรงเรียนอิสลามดั้งเดิมโรงเรียนหนึ่ง เล่าให้ Human Rights Watch ฟังว่าพวกหัวรุนแรงที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน สร้างความกดดัน  ให้เขาอนุญาตให้มีการปลูกฝังล้างสมองที่โรงเรียน และเขาได้รับใบปลิวเตือนไม่ให้เข้าร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในเวลาเดียวกันทางเจ้าหน้าทีของรัฐบาลก็มีโทรศัพท์มาหาเขา เพื่อให้เขายืนยันว่าโรงเรียนของเขาไม่ได้กลายเป็น “พวกหัวรุนแรง” และตกอยู่ใต้อำนาจของลัทธิการแบ่งแยกดินแดน  หลายเดือนหลังจากที่ Human Right Watch ไปพบสัมภาษณ์ครูใหญ่ท่านนี้  กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ยิงเขา 3 ครั้ง ด้านหลัง จนเสียชีวิต  ครูใหญ่ที่มาแทนครูท่านนั้น ได้เล่าให้ Human Right Watch  ฟังว่า เขาได้เรียนรู้บทเรียนจากการลอบสังหาร นี้ว่าพวกเราไม่ควรใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่มากเกินไป  เราจะไม่หันหล้งให้กับรัฐ แต่เราจะเว้น ต้องอย่ห่างพอประมาณ.

นอกเหนือจากการสูญเสียชีวิตที่น่าเศร้า อันเป็นผลมาจากการโจมตี ครู  นักเรียนที่ต้องการจะศึกษาเล่าเรียนก็ยังคงต้องประสบกับความเดือดร้อน  บ่อยครั้งที่ต้องปิดโรงเรียนหลังจากที่ครูถูกโจมตี  และผู้ปกครองจะต้องย้ายลูกหลาน ไปยังโรงเรียนอื่นๆ ซึ่งอย่ไกลออกไป  ความรู้สึกไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้มีการโยกย้ายและเปลี่ยนครูบ่อยขึ้น  นำไปสู่ความวิตกกังวล  ไม่มีสมาธิ และทำให้การสอนนักเรียนไม่มีคุณภาพ

การยึดครองโรงเรียน โดยกองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล

กองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล ทั้ง กองทหาร และหน่วยอาสาสมัครทหารพรานที่เข้าไปตั้งฐานที่มั่น หรือค่ายในอาคารของโรงเรียน หรือบนสนามของโรงเรียน ทำให้เกิดความยุ่งยากต่อการศึกษาของเด็ก กองกำลังรักษาความปลอดภัยใช้ฐานที่มั่นเหล่านี้ไม่ใช่เพียงระยะสั้น เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามโรงเรียนทีเจาะจงเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นที่พัก และสถานที่ตั้งระยะยาวที่มีบริเวณที่สะดวกสบาย โดยเฉพาะอย่างยิงในพื้นที่ที่ไม่มีความมั่นคง  และจะตั้งอยู่นานหลายปี  ผลก็คือเด็กนักเรียน ทั้งเด็กหญิง และเด็กชาย ต้องไปเรียนหนังสือในโรงเรียนที่มีกองกำลังติดอาวุธอยู่รอบตัว

ที่โรงเรียนบ้านคลองช้าง ในอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี คือตัวอย่าง ที่เกือบครึ่งหนึ่งของสนามเด็กเล่นในโรงเรียน ถูกยึดครองเป็นเวลา 2 ปีโดยอาสาสมัครทหารพราน  เด็กผู้หญิงอายุ 9 ขวบคนหนึ่งเล่าให้ Human Rights Watch  ฟังว่า “หนูกลัวมาก  กลัวเมื่อเวลาคิดว่าโรงเรียนจะถูกโจมตี เพราะทหารเข้ามาอยู่ที่โรงเรียน แต่นักเรียน และครูจะเป็นผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

นักเรียนหญิงอายุ 10ปี เรียนโรงเรียนเดียวกันเล่าว่า “หนูกลัวพวกทหาร เพราะว่าพวกทหารขี้โมโห ฉุนเฉียวง่าย และหนูจะไม่ชอบเวลาที่พวกทหารถามหนูว่าหนูมีพี่สาวไหม และจะขอเบอร์ขอพี่สาวหนู”

การยึดครองโรงเรียน เป็นการกระทำที่ทำให้เกิดความยุ่งยากอย่างมากต่อการเรียนการสอนของเด็ก เมื่อกองกองกำลังรักษาความปลอดภัยมาถึง การอพยพของนักเรียนจำนวนมากก็เกิดขึ้น เด็กจะย้ายไปที่อื่น ถึงแม้ว่าจะต้องเสียเวลาในการเดินทางเพิ่มขึ้น และค่าเดินทางก็แพงขึ้น บางคนจากไปเพราะกลัวการโจมตีของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ขณะที่บางคนจากไปเพราะกลัวการลวนลาม

เด็กนักเรียนที่ยังคงเรียนอยู่ในโรงเรียนที่มีการยึดครอง มักรู้สึกได้ว่าคุณภาพการศึกษาเริ่มด้อยลง ผู้ปกครองและเด็ก บ่นให้ Human Rights Watch ฟังว่าครูกลายเป็นคนวิตกจริต และละเลยหน้าที่ของตัวเอง เพราะมีความเครียดเพิ่มขึ้นจากการเข้ามาตั้งมั่นของกองทหาร  ทหารที่ติดอาวุธ ยังเป็นผ้ทำลายสภาพแวดล้อมของการศึกษา  Human Right Watch ได้รับฟังการปรับทุกข์จากผู้ปกครองเกี่ยวกับทหารเหล่านั้น ว่ามีการดื่มเหล้า เล่นการพนัน เสพยาเสพติด ในบริเวณสนามของโรงเรียน

รัฐบาลจู่โจมโรงเรียนอิสลาม

รัฐบาลเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ยากต่อการตอบโต้การปลูกฝังกระบวนการแบ่งแยกดินแดน และ จัดหาคนเข้าร่วมอุดมการณ์  ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่มีจำนวนไม่มากนัก และในโรงเรียนอิสลามดั้งเดิมที่รู้จักในนามว่า ปอเนาะ  ในปีที่ผ่านมา กองทหาร และอาสาสมัครทหารพราน  ได้ดำเนินการจู่โจมหลายครั้งและค้นหาเอกสารหรือตัวบุคคลที่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและที่ปอเนาะ ในบางเหตุการณ์ กองกำลังของรัฐบาลจับเด็กจำนวนมากโดยปราศจากเหตุผล  หรือด้วยความรุนแรง จนทำให้เกิดอันตรายแก่เด็กนักเรียน และครู

ระหว่างการจู่โจมที่ ปอเนาะแสงธรรมอิสลามวิทยา ในเดือนตุลาคม 2552 กองกำลังรักษาความปลอดภัยได้จับกุมเด็กนักเรียน 40 คน มี 2 คนที่อายุ 10 ขวบและพาเด็กไปที่ค่ายทหารท้องถิ่น เพื่อทำการสอบถาม ครูที่โรงเรียนไม่ได้รับอนุญาตให้ไปกับเด็ก และผู้ปกครองก็ไม่ได้รับการแจ้งการกักขังเด็กนักเรียนทั้งหมดถูกปล่อยตัวในที่สุด และการค้นหาที่จะเชื่อมโยงไปสู่สิ่งผิดกฎหมาย หรือการจาจล ก็ล้มเหลว  “สิ่งดีๆ ที่ทำมาโดยตลอดยี่สิบปี ถูกทำลายลงในวันนั้น”  ครูใหญ่กล่าว เมื่อตอบคำถามเกี่ยวกับผลกระทบของการจู่โจมต่อชื่อเสียของโรงเรียน

โรงเรียนอิสลามเป็นสถาบันแห่งความภาคภูมิใจ และความสำคัญทางวัฒนธรรมของชุมชนมุสลิมมาเลย์ในประเทศไทย ครูสอนศาสนาบางคนอาจเกี่ยวข้องกับการจราจล และโรงเรียนอิสลามบางแห่งถูกใช้เพื่อการปลูกฝังล้างสมอง และการคัดเลือกจัดหาคนในบางครั้งบางคราว  แต่ครูและโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีการเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ การดำเนินการที่เข้มงวดและรุนแรงของรัฐบาล ถึงแม้จะเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กถูกนำไปเข้าร่วมกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ท้ายทีสุดแล้วจะทำให้เกิดความหมางเมิน ในกลุ่มคนหนุ่มสาว และเพิ่มความไม่พอใจมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การเข้าร่วมกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ การจับกุมซึ่ง ถึงแม้ไม่ได้นำไปส่การลงโทษ แต่ก็ทำให้เป็นผู้ต้องสงสัย ทำให้นักเรียนมีปัญหาที่โรงเรียน หรือกับสมาชิกในชุมชนผู้ไมสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ หรือ กลยุทธ์ต่างๆ ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ

บริบทแห่ง ความขัดแย้งในภาคใต้ของประเทศไทย

นับแต่มีการหวนกลับมาของการจาจลแบ่งแยกดินแดนของชาวมุสลิมมาเลย์ ในเดือนมกราคม 2547 มีประชาชนถูกสังหารมากกว่า 4,100 ราย และอีกมากว่า 7,100 รายได้รับบาดเจ็บในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ส่วนใหญ่ของผู้เสียชีวิตเหล่านี้ เป็นประชาชน ที่ถูกสังหารโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ

ในขณะเดียวกัน การตอบโต้ของรัฐบาลต่อการจาจล ได้ทวีความเข้มงวดและมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับผู้ต้องสงสัย และผู้ให้การสนับสนุนอย่างกว้างขวาง การละเมิดโดยรัฐ ที่มีความชัดเจนมากที่สุดก็คือเหตุการณ์ ครือเซะ (28 เมษายน 2547) และที่ตากใบ (25 ตุลาคม 2547)  ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ มีผู้ถูกจับกุมจำนวนมาก ถูกทรมาน “หายสาบสูญ” และถูกฆ่าอย่างผิดกฎหมาย อันเป็นการเติมเชื้อเพลิงให้การจาจลกระจายไปทั่ว เจ้าหน้าที่ที่ทำการละเมิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้แทบไม่เคยถูกลงโทษ ถึงแม้ว่าจะในกรณีที่มีเอกสารและหลักฐานชัดเจนก็ตาม  ปัญหานี้เลวร้ายยิ่งขึ้นนับแต่เดือนสิงหาคม 2548 เมื่อมีการบังคับใช้พระราชกำหนดในการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน)ซึ่งมีผลให้กองกำลังรักษาความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่ของรัฐตลอดจนข้าราชการไม่มีความผิดจากการก่ออาชญากรรม และการผิดระเบียบวินัย

ขณะที่การโจมตีของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทวีความรุนแรง และมีประสิทธิภาพเต็มที  รัฐบาลไทยกลับมีความมุ่งมั่นในการที่จะหาทางแก้ไขการขัดแย้งนี้น้อยลง ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นบนถนนในกรุงเทพฯ ระหว่างการต่อต้านรัฐบาลแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช) และพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย (PAD) ความไม่สงบซึ่ง ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้นำไปส่ การแบ่งแยกคนในประเทศ และเบี่ยงเบนความสนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศจากปัญหาของภาคใต้  ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งพึ่งพิงการสนับสนุนจากทหาร เพื่อรักษาอำนาจไว้  มีความใส่ใจน้อยมากต่อการปฏิบัติการด้วยยุทธวิธีทางทหารในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลก็คือ มีการส้รบเพิ่มขึ้นโดยมีการกำกับดูแลและควบคุมของฝ่ายพลเรือนน้อยลง

 

ข้อเสนอแนะ

ถึงกลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดน และนักสู้ทุกกลุ่ม:

  • ยุติการโจมตีโดยทันที ต่อประชาชนพลเรือน โดยไม่เลือกศาสนา เชื้อชาติ และอาชีพของพวกเขา รวมถึงครูและเจ้าหน้าทีทางการศึกษาอื่นๆด้วย
  • ยุติการโจมตีโดยทันที ต่อทรัพย์สินของประชาชนพลเรือน รวมถึงโรงเรียน
  • ยุติการจัดหาคัดเลือกและใช้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี โดยทันที

ถึงรัฐบาลไทย

  • ห้ามกองกำลังรักษาความปลอดภัยใช้อาคารเรียน หรือสนามโรงเรียนเพื่อการตั้งค่าย หรือฐานที่มั่น ซึ่งเป็นการรบกวนสิทธิของเด็กที่จะได้รับการศึกษาภายใต้กฎหมายของราชอาณาจักรไทยและระหว่างประเทศ
  • พร้อมที่จะจัดตั้งกลุ่มทำงานระดับกระทรวง ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก และคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อที่จะเข้าไปสำรวจ ว่าควรเพิ่มการให้บริการและกระทำในสิ่งที่เหมาะสมให้กับโรงเรียนที่ถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยยึดครองอย่างไรบ้าง  เพื่อแก้ปัญหาผลกระทบด้านการศึกษา
  • ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบในการแก้ไขปัญหามีความรวดเร็ว และพร้อมที่จะดำเนินการ ดังนั้น เมื่อมีการโจมตีเกิดขึ้น โรงเรียนก็จะได้รับการซ่อมแซมบูรณะ และมีการนำอุปกรณ์การเรียนการสอนมาทดแทนสิ่งที่ถูกทำลาย  ระหว่างการบูรณะซ่อมแซมโรงเรียน  เด็กนักเรียนควรจะได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องในสถานที่อื่นๆ หรือในทางเลือกอื่นที่เหมาะสม และได้รับการดูแลทางด้านจิตใจ
  • ออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดโดยชัดเจนว่า บทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้ง และวิธีพิจารณาคดีของศาลเยาวชนและครอบครัว ที่เกี่ยวข้องกับการจับกุม ควบคุมตัวเด็กและพิจาราณาความอาญา ยังคงมีผลบังคับใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ระเบียบวิธีวิจัย

Human Rights Watch ได้ดำเนินการวิจัย ตามรายงานฉบับนี้ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และในกรุงเทพ ระหว่างเดือนมีนาคม เมษายน และสิงหาคม 2553  อนึ่งรายงานนี้ยังได้เสนอข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิจัยที่ได้ทำขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2550 ด้วย

Human Rights Watch ทำการสัมภาษณ์บุคคลมากกว่า 90 ท่าน รวมเด็ก 15 คน อายุตั้งแต่ 8 ขวบถึง 17 ปี และได้เข้าเยี่ยมโรงเรียน 19 แห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้  เราได้สัมภาษณ์ผู้ปกครอง ครู ครูใหญ่ของโรงเรียน เจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้าน ผู้นำทางด้านศาสนา สมาชิกของกองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ สมาชิกปัจจุบัน และในอดีตของกลุ่มก่อความไม่สงบ และสมาชิกขององค์กรส่วนท้องถิ่ม และองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศภาคเอกชน (NGO) การสัมภาษณ์มีทั้งการสัมภาษณ์โดยตรงเป็นภาษาอังกฤษ  ภาษาไทย หรือภาษามลายู (ยะวี) และภาษาไทยโดยผ่านล่าม ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ ในการให้ข้อมูลต่างๆ

เราใช้นามสมมติสำหรับเด็กทุกคนที่กล่าวถึงในรายงานนี้  ในหลายกรณี ผู้ใหญ่ที่ให้สัมภาษณ์ได้ขอร้องไม่ให้เอ่ยชื่อเพื่อความปลอดภัย หรือเพราะว่ากำลังทำงานให้รัฐบาล นามสมมติที่นำมาใช้ตั้งขึ้นจากตัวย่อของชื่อที่สอง ตัวอย่างเช่น พ่อ น.ทั้งในเชิงอรรถ และในเชิงบทความ นามสมมติอาจไม่ตรงกับศาสนาของผู้ให้สัมภาษณ์  เพื่อป้องกันการเปิดเผยชื่อของบุคคลบางท่านเราจึงอ้างถึงโดยกล่าวว่าเป็น ผ้อย่ในท้องถิ่น แทนการระบุโดยเจาะจง

คำว่า “เด็ก” ทีใช้ในรายงานฉบับนี้ หมายถึงคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก กล่าวไว้ในมาตรา 1 “ตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฉบับปัจจุบัน เด็กหมายความถึงทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่ในกรณีที่มีกฎหมายว่าด้วยเด็กกำหนดอายุไว้ต่ำกว่านี้”  พระราชบัญญัติคุ้ครองเด็กของประเทศไทย ปีพ.ศ. 2546กำหนดว่าเด็กคือบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีเช่นกัน

1. มาตรฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ

เนื่องจากการเป็นศัตรูกันในภาคใต้ของประเทศไทยได้ขยายตัวกลายเป็นความรุนแรงด้วยการต่อสู้โดยใช้อาวุธ ดังนั้นจึงต้องนำกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศหรือกฏหมายสงครามเข้ามาใช้การก่อความไม่สงบไม่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และกฎหมายสงครามไม่ได้ห้ามมิให้โจมตีเป้าหมายที่เป็นกองกำลังทหาร (ถึงแม้ว่าจะละเมิดกฏหมายภายในประเทศไทยก็ตาม)[1]อย่างไรก็ตามกฎหมายสงครามได้จำกัดความหมายและวิธีการทำสงครามสู้รบกันโดยกลุ่มคนต่างๆที่ติดอาวุธที่สร้างสถานการณ์ความรุนแรงและยังเป็นตัวกำหนดให้มีหน้าที่ป้องกันดูแลความปลอดภัยให้กับพลเรือนและผู้ที่ทำการรบที่ได้รับบาดเจ็บและที่ถูกจับกุมตัว.[2]ข้อกฎหมายตัวนี้นำมาบังคับใช้กับทั้งกองทหารประจำการและกับกลุ่มกองกำลังติดอาวุธที่ไม่ขึ้นกับรัฐ

รากฐานสำคัญประการหนึ่งของหลักปฏิบัติสำหรับกฎหมายสงครามคือการแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างพลเรือนกับกองกำลังทหารอย่างเป็นรูปธรรม และการกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจนว่าในการโจมตีอาจจะโจมตีกองกำลังทหารที่เป็นเป้าหมายได้โดยตรงเท่านั้น[3]คำว่าพลเรือนมีความหมายว่าเป็นบุคลซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกหรือมีส่วนร่วมกับการติดอาวุธต่อสู้[4]พลเรือนจะมีส่วนเป็นกองกำหลังทหารต่อเมื่อมีการรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วมโดยตรงในการทำสงคราม  ในกรณี ที่เกิดข้อสงสัยว่าบุคคลนั้นๆจะเป็นพลเรือนหรือกองกำลัง ให้พิจารณาไว้ก่อนว่านั้นๆเป็นพลเรือน.[5]

พลเมืองที่มีเชื้อชาติหรือกลุ่มชนที่เหมือนกันหรือต่างกันในการนับถือศาสนาจำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองจากการถูกโจมตี  ทั้งนี้รวมไปถึงเด็กนักเรียน ครูบาอาจารย์และเจ้าหน้าที่บริหารโรงเรียนของรัฐบาล  ตลอดจนข้าราชการต่างๆที่ไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในการพยายามที่จะทำสงคราม[6]การกระทำหรือการข่มขู่คุกคามที่ทำให้เกิดความรุนแรงของใครคนใดคนหนึ่งที่มีจุดประสงค์แพร่ขยายเข้าไปในหมู่ประชากรพลเรือนเป็นสิ่งที่ต้องห้าม.[7]ซึ่งรวมถึงการโจมตีและคุกคามที่จงใจทำให้นักเรียนและครูไม่กล้าที่จะไปโรงเรียน

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีการห้ามมิให้โจมตีทำลายสิ่งของต่างๆที่เป็นของพลเรือน อย่างเช่นบ้านที่อยู่อาศัย โรงเรียน และวัดวาอารามหรือสุเหร่าต่างๆ[8] สิ่งต่างๆที่เป็นของพลเรือนจะถือเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารต่อเมื่อกองทัพนำมาใช้ด้วยเจตนาทางการทหาร  ดังนั้นเมื่อกองกำลังรักษาความปลอดภัยใช้โรงเรียนเป็นที่ตั้งฐานเป็นเวลาเนิ่นนานออกไป สถานที่เหล่านั้นจึงกลายเป็นเป้าของการโจมตีในที่สุด  ในกรณีเช่นนี้ทหารต้องมีภาระหน้าที่ระวังไว้ส่วนหน้าในการปกป้องพลเรือนจากการถูกโจมตีและขนย้ายพวกผ้คนออกจากบริเวณนั้น[9]พลเรือนจะตกอย่ในความเสี่ยงโดยไม่จำเป็นหากใช้โรงเรียนเป็นสถานที่ศึกษาพร้อมกับเป็นฐานที่ตั้งของการใช้อาวุธ  เมื่อกองกำลังรักษาความปลอดภัยขยายเวลาการใช้โรงเรียนนั้นจึงเป็นผลเสียต่อความสามารถในการศึกษาของเยาวชน การกระทำที่กล่าวมานี้เป็นการละเมิดสิทธิทางการศึกษาของเยาวชนที่มีการรับรองภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ[10]

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศยังมีข้อกำหนดด้วยว่าเยาวชนมีสิทธิ์ได้รับความเอาใจใส่เและดูแลเป็นพิเศษ[11]สิ่งนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นจาก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กและเยาวชน ซึ่งกำหนดให้มีสถานภาพที่ “ให้ได้รับมาตราการในกาค้มครองและดูแลเยาวชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการส้รบด้วยอาวุธ”[12]

2. ประวัติความเป็นมา

การก่อการจราจลอย่างต่อเนื่องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย  สองจังหวัดหลังตั้งอยู่ติดรอยต่อกับประเทศมาเลเซีย เขตรอยต่อยาวไปเกือบถึงจังหวัดสตูล จังหวัดเหล่านี้ของประเทศไทยก่อตั้งขึ้นด้วยผู้คนส่วนใหญ่ที่เป็นกลุ่มคนที่มีเชื้อสายมาเลย์และนับถือศาสนาอิสลามมากกว่ากลุ่มคนที่มีเชื้อชาติไทยและนับถือศาสนาพุทธ  ประชากรมุสลิมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเหล่านี้พูดภาษามาเลย์ปัตตานี หรือที่เรียกกันว่าภาษายาวี เป็นภาษาหลัก

เป็นเวลานานกว่า หนึ่งศตวรรษที่  จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยตกเป็นที่ตั้งของกลุ่มสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนที่หยั่งรากฝังลึกโดยเฉพาะเรื่องศาสนา เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และความเป็นเอกลักษณ์ ในพิธีกรรมทางศาสนา  หน่วยงานรัฐบาลในภาคส่วนต่างๆได้พยายามระงับและสมานความแตกต่างทั้งหลาย  ด้วยการวางมาตรการเช่น การสับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการ และการรวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลางเพื่อควบคุมการศึกษาของอิสลามและพิธีกรรมทั้งหมด[13]    แต่อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ของรัฐยังคงเพิกเฉย ต่อสภาพเศรษฐกิจ มาตรฐานความเป็นอยู่ และหลักนิติธรรมเพื่อความยุติธรรมในภาคใต้ของประเทศไทย  สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ที่เป็นมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ทั้งหลายรู้สึกถึงความหมางเมินที่ได้รับ  และก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อรัฐบาล  ดังนั้นจึงก่อให้เกิดการต่อต้านและการก่อความไม่สงบ ซึ่งมีรากฐานสำคัญ 3 ประการได้แก่  ความศรัทธาในคุณงามความดีในวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมและความยิ่งใหญ่ของ ปัตตานี ดารารุลสลาม (ปัตตานีดินแดนของชาวอิสลาม) เอกลักษณ์แห่งชนชาติมาเลย์  และความเลื่อมใสในแนวทางของหลักศาสนาอิสลาม[14]

การก่อความไม่สงบซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำในปัจจุบันนั้นย้อนกลับไปส่สาเหตุที่เกิดขึ้นในเช้าตรู่ของวันที่4มกราคม2547เมื่อ กองกำลังติดอาวุธมากกว่า50นายได้บุกปล้นอาวุธปีนของกองพันพัฒนาที่4ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์และขนเอาปืนเล็กยาว  ปืนกลมือเครื่องยิงจรวดปืนพกเครื่องยิงอาร์พีจี  และอาวุธยุทธภัณฑ์อื่นๆรวมทั้งกระสุนปืนจำนวนมากไป

ผู้ที่บุกจู่โจมสังหารทหารไทยผู้นับถือศาสนาพุทธรวมสี่นาย  ระหว่างที่ล้อมจับทหารเชื้อสายมุสลิมมาเลย์  และบอกให้ทุกคนสวดปฏิญาณ ตนในเรื่องความศรัทธาหรือ ซาฮาดะ  แล้วบอกให้ถอนตัวจากการเป็นทหาร[15]หนึ่งในผู้ที่จู่โจมตามรายงานข่าวได้ตะโกนออกมาว่าปัตตานีเมอร์ดิก้า” (จงปลดปล่อยปัตตานี)[16]ในจังหวัดนราธิวาสกองกำลังวางเพลิงโรงเรียน 20 แห่งและป้อมตำรวจอีก 3 แห่งในเวลาเดียวกัน  วันต่อมามีการยิงจรวดในหลายๆแห่งติดกับเขตจังหวัดปัตตานี  ตลอดหนึ่งอาทิตย์นั้นดูเหมือนว่ารัฐบาลไทยไม่สามารถหยุดยั้งระลอกใหม่ของการโจมตีไม่ว่าจะเป็นการยิงการวางระเบิดการวางเพลิงที่เกิดขี้นกับทุกหนทุกแห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้

รัฐบาลตอบโต้ด้วยการระดมพลครั้งใหญ่เพื่อจัดส่งหน่วยรักษาความปลอดภัยสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้   และโดยประกาศกฎอัยการศึกใน ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2547

ทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้มีอำนาจทำการค้นและจับกุมผู้ต้องสงสัยว่าเป็นกองกำลังฝ่ายตรงข้ามโดยปราศจากหมายค้นจากศาล  และสามารถกักขังผ้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมภายใต้กฎอัยการศึกถึงเจ็ดวันโดยไม่มีข้อกล่าวหา

ในเดือนกรกฎาคม 2548 นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ผ้ดำรงตำแหน่งขณะนั้นได้ออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พระราชกำหนดซึ่งผ่านการลงมติรับรองโดยสภาผู้แทนราษฎรเป็นบทบัญญัติที่ละเมิดหรือเพิกถอนหลักการสำคัญที่ค้มครองสิทธิมนุษยชนหลายข้อ ด้วยการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุม และกักขังผู้ต้องสงสัยโดยปราศจากข้อกล่าวหาจำกัดการเคลื่อนไหวและการติดต่อสื่อสารควบคุมสื่อการประชาสัมพันธ์ และกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ที่ใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ รอดพ้นจากความผิดโดยปริยาย   พระราชกำหนดนี้ยังคงมีผลบังคับใช้ในสามจัหวัดนี้และต่ออายุได้ทุกสามเดือนตามความจำเป็น

มีหน่วยงานรักษาความปลอดภัยมากมายหลายรูปแบบ  ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลที่ยังคงปฏิบัติการอยู่ในภาคใต้อย่างเช่นตำรวจท้องที่กองทัพรวมไปถึงทหารและนาวิกโยธินหน่วยกำลังกองหนุนของทหารที่รู้จักกันในนามทหารพรานกำลังพลเสริมของกระทรวงมหาดไทยกองกำลังอาสารักษาดินแดน (อส.) กลุ่มทหารพลเรือนกลุ่มอาสาสมัครป้องกันรักษาหมู่บ้าน (...) และกลุ่มทหารพลเรือนที่เป็นชาวพุทธเรียกว่าราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน (...)

ปัจจุบันผู้สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนประกอบไปด้วยกลุ่มคนหลากหลายกลุ่ม  คือกลุ่มประสานงาน BRN  ซึ่งย่อมาจาก “ชาตินิยมอิสลามสังคมนิยม” หรือ Barisan Revolusi Nasional-Koordinas  หรือกลุ่มประสานงานการปฏิวัติแห่งชาติส่วนหน้าซึ่งหลายครั้งที่ออกมาแสดงตัวเป็นกลุ่มองค์กรหลัก  อย่างไรก็ตามกล่มอื่นที่กระจายกันอย่ไม่มีการ ประสานกันมากนัระหว่างเครือข่ายแต่ละเครือข่าย  และแต่ละกลุ่มมีลักษณะการทำงานและองค์กรที่แตกต่างกัน  กลุ่มคนติดอาวุธที่สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนจาก กลุ่ม BRN มีเรียกตัวเองว่า Pejuang Kemerdekaan Patani  (กลุ่มนักรบปัตตานีอิสระ) เรียกง่ายๆสั้นๆโดยคนมาเลย์มุสลิมว่า pejuangหรือ นักรบ  กลุ่มคนสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนติดอาวุธที่ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดีจากกลุ่ม Pejuang Kemerdekaan Pataniทำหน้าที่เป็นหน่วยจู่โจมหรือกลุ่มกองโจรที่รู้จักกันในชื่อของ Runda Kumpulan Kecil (กลุ่มาดตระเวนเล็ก หรือ กลุ่ม RKK)

การตัดสินใจโจมตีเป้าหมายที่เป็นพลเรือนโดยไม่เลือก เป็นสาเหตุของการแยกตัวออกจากกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างกล่มสูงอายุและคนที่มีอายุน้อยในผู้นำกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ

ผู้สูงอายุหรือผู้อาวุโสจากกลุ่มผู้สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนอย่างเช่นองค์การกู้เอกราชสหปัตตานี (พูโล) ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ..2511 เพื่อต่อสู้ให้ได้มาซึ่งรัฐอิสระของชาวมุสลิม  บอกกับHuman Right Watch ว่าระดับและวิธีการก่อความรุนแรงในการโจมตีพลเรือนโดยตรงทำให้พวกเขากลัวจนแทบตั้งสติไม่อยู่[17]

กลุ่มกำลังคนที่ติดอาวุธมีเป้าหมายเป็นข้าราชการของรัฐบาล ผู้ที่มีเชื้อชาติไทยนับถือศาสนาพุทธและพระสงฆ์และผู้ที่เป็นมุสลิมที่ต้องสงสัยว่าให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทย ยิ่งกว่านั้นยังมี

การโจมตีโดยเฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคล  กองกำลังติดอาวุธดำเนินการรณรงค์โดยใช้ความรุนแรงสร้างความหวาดกลัวโดยการวางระเบิดในตลาดที่เต็มไปด้วยผู้คนและจุดศูนย์กลางต่างๆของพลเรือนอย่างเช่นธนาคารพาณิชย์ร้านอาหารห้างสรรพสินค้าและโรงแรมต่าง  พวกกองกำลังติดอาวุธได้เข่นฆ่าหรือทำร้ายประชาชนพลเรือนให้ได้รับบาดเจ็บโดยเป็นผู้คนที่ใช้ชีวิตปกติประจำวัน  รวมไปถึงการทำร้ายระหว่างการเดินทางไปทำงานประจำวันรับส่งลูกหลานจากโรงเรียนต้อนฝูงวัวควายซื้อหาอาหารจากตลาดและกำลังรับประทานอาหารอยู่ในร้าน[18]ตั้งแต่เดือนมกราคม.. 2547 ถึงเดือนสิงหาคม.. 2553 กองกำลังติดอาวุธโจมตีผู้คนและทำให้มีคนเสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 4,100 รายและบาดเจ็บมากกว่า 7.100 ราย[19]

การโจมตีประชาชนพลเรือนทั้งหลายนี้ดูเหมือนจงใจให้เป็นการสร้างความกดดัน และทำให้รัฐบาลไทยหมดความน่าเชื่อถือ  ยัดเยียดความหวาดกลัวให้หมู่ประชาชนพลเรือน (ทั้งผู้ที่เป็นชาวไทยพุทธและผู้ที่เป็นชาวมาเลย์มุสลิม) เพื่อให้เข้าใจไขว้เขวว่า เป็นการกระทำผิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และหน่วยรักษาความปลอดภัยต่างๆ  ทำให้ชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์เสียวัญจากการให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆของรัฐบาลไทย  ทำให้บุคลากรของรัฐบาลไขว้เขวจากภาระหน้าที่ของกองทัพ  ขัดขวางการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน และปลุกปั่นยั่วยุให้รัฐบาลตอบโต้อย่างหนัก ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มก่อการไม่สงบ มีโอกาสมากขึ้นในการรับคนใหม่เข้าร่วมขบวนการ

รัฐบาลมักจะตอบโต้การก่อความไม่สงบ ด้วยการใช้กำลังทหาร   แต่ใส่ใจไม่เพียงพอ ในการรับประกันด้านความปลอดภัยของประชาขน  และการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน[20]เริ่มต้นด้วยการส่ง  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไปจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผ่านการฝึกฝนขั้นพื้นฐานในการใช้อาวุธและยุทธวิธีทางการทหาร   โดยขาดความรู้ความเข้าใจกลยุทธ์สำหรับใช้ต่อต้านฝ่ายตรงข้าม ขาดชั้นเชิงหรือขาดความรู้ในเรื่องของความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนา และความซับซ้อนของสถานการณ์  หลังจากกองทัพทำการรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 ด้วยการปลด นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ออกจากอำนาจ  มีการจัดส่งกองกำลังรักษาความปลอดภัย ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มียุทธวิธีเพิ่มขึ้น  มาปฏิบัติการทางทหารเพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้าม หน่วยสืบราชการลับรวมตัวกันปรับปรุงการวิเคราะห์ข่าว  ซึ่งมีส่วนทำให้ทางทหารประสบความสำเร็จในการกวาดล้างจุดยุทธศาสตร์ของการก่อความไม่สงบและสามารถขัดขวางการก่อความไม่สงบ ครั้งสำคัญได้หลายคราว

หน่วยกองกำลังรักษาความปลอดภัยสามารถที่ระบุตัวการได้หลายรายในการก่อความไม่สงบ  รวมถึงหน่วยจู่โจมต่างๆ และสมาชิกระดับกลุ่มย่อยต่างๆของฝ่ายตรงข้าม  รวมทั้งผู้ที่ให้การสนับสนุน  หลายคนถูกจับกุมและอีกหลายคนถูกสังหารในเวลาเดียวกัน

อย่างไรก็ตามยุทธวิธีของกองกำลังหน่วยรักษาความปลอดภัยที่ประสบผลสำเร็จนั้นถูกทำให้ดูเลวร้าย ด้วยการกระทำมิชอบอย่างต่อเนื่อง และการขาดความรับผิดชอบ  เนื่องจากไม่มีการอธิบายเรื่องกฎข้อบังคับของการสู้รบ  แก่เหล่าทหารโดยถูกต้องชัดเจน  ซึ่งมีผลให้เหล่าทหารที่ทำการสู้รบอยู่นั้นคิดว่าตนเองมีอำนาจพิเศษสามารถที่จะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ  และนำมาตราการนอกกฏหมายตลอดจกำลังอาวุธมาใช้ถึงแม้ไม่มีการส้รบ  เจ้าหน้าที่ ของรัฐฯที่เป็นตัวอันตรายในจังหวัดชายแดนภาคใต้น้อยคนมากที่ถูกลงโทษ  ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานเป็นเอกสารแน่นหนาก็ตาม

กองกำลังผู้สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนได้มุ่งแสดงให้เห็นว่าการก่อความรุนแรงนั้นเป็นการจองเวรสำหรับผู้ที่ให้การสนับสนุนกับฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์อันเลวร้ายที่เกิดขึ้นที่มัสยิด ครือเซะ และที่อำเภอตากใบ

เหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นคือ การที่กองกำลังติดอาวุธเข้ายึดสุเหร่าเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี  และเมื่อวันที่ 28 เมษายน  2547 กองกำลังรักษาความปลอดภัยได้เข้าจู่โจมและได้สังหารฝ่ายตรงข้ามที่อยู่ในสุเหร่า 32 ศพ  ถึงแม้ว่ารัฐบาลได้มีคำสั่งให้กองกำลังหน่วยรักษาความปลอดภัยยุติเหตุการณ์โดยตระหนักถึงความปลอดภัยของทุกฝ่ายก็ตาม[21]

เหตุการณ์ที่สองคือ เมื่อวันที่  25 ตุลาคม 2547  ในจังหวัดนราธิวาส อำเภอตากใบ มีผู้ประท้วงเสียชีวิตอย่างน้อย 86 ศพ  กองกำลังรักษาความปลอดภัยคือผ้รับผิดชอบต่อการสังหารผู้ประท้วงโดยการทำให้หายใจไม่ออกด้วยการโยนพวกเขาใส่หลังรถบรรทุกเพื่อนำตัวไปที่ค่ายทหารซึ่งไกลออกไปหลายกิโลเมตร.[22]

กองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล ผ้ใช้อำนาจกระทำความผิดได้รับการละเว้น จากการลงโทษ หล่าทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีการติดตามจับกุมผู้ที่กระทำผิดมาดำเนินคดีอาญาแม้แต่รายเดียว แต่กลับปกป้องกองกำลังของตัวเองที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดกฎหมายไม่ให้ตกเป็นผู้ต้องหาในเหตุการณ์ความรุนแรง  ในทำนองเดียวกันกรมสอบสวนคดีพิเศษกระทรวงยุติธรรม  และ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่สอบสวนการกระทำวิสามัญฆาตกรรม และข้อหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็มิได้ดำเนินการสอบสวนโดยเป็นกลางอย่างสมบูรณ์  สิ่งนี้เป็นการกระตุ้นให้คนที่มีเชื้อชาติมาเลย์มุสลิมหลายคนเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น  สามารถให้ความยุติธรรมสำหรับสิ่งที่ถูกกระทำ  แนวความคิดนี้ถูกตอกย้ำโดยการประกาศใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. 2548 ซึ่งทำให้จ้าหน้าที่กองกำลังหน่วยรักษาความปลอดภัยและบรรดาข้าราชการรอดพ้นจากการถูกลงโทษจากการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง ตลอดจนการสอบสวนทางวินัย.[23]

ผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์มุสลิมจำนวนมากเกิดความคับข้องใจเพิ่มมากขึ้นตลอดมา  ในเรื่องของวิธีการทำงานที่บกพร่องของรัฐบาลที่ไม่สามารถอธิบายเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด  และไม่เอาผิดในสิ่งที่ทหารได้ ประพฤติตัวในภาคใต้ เป็นเวลานานกว่า 6 ปี มาแล้วหลังจากที่การระดมยิงโจมตีรอบใหม่เปิดฉากขึ้น  ปรากฏว่าความเป็นปรปักษ์ระหว่างกองกำลังติดอาวุธกับกองกำลังของรัฐบาลพุ่งขึ้นสู่ขีดสูงสุดเท่าที่เป็นมา  และผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลกำลังจะกลายเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า และเป็นอันตรายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ในเวลาเดียวกัน กลายเป็นว่ารัฐบาลไทยเข้าไปเกี่ยวพันน้อยลงทุกขณะในการสืบเสาะค้นหาวิธีการแก้ปัญหาความรุนแรง  นายกเทศมนตรีเมืองปัตตานีได้กล่าวว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ทางใต้สุดตอนนี้มีความรู้สึกว่าสถานการณ์ที่ไม่สงบที่ดำเนินอยู่ในตอนนี้เป็นปัญหาที่รัฐบาลลืมไปแล้ว.[24]ความว่นวายทางการเมืองอันเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างกล่มต่อต้านรัฐบาลคือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช) และพันธมิตรประชาธิปไตย (PAD) ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้นำไปส่การแบ่งแยกคนในประเทศและเบี่ยงเบนความสนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากปัญหาของภาคใต้ ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งพึ่งพิงการสนับสนุนจากทหาร ยังมีความใส่ใจน้อยมากต่อการปฏิบัติการด้วยยุทธวิธีทางทหารในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 25

การศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ในประเทศไทย

รัฐบาลไทยเผชิญหน้าความท้าทายด้านการศึกษาอย่างมากในภาคใต้ของประเทศไทย  นอกเหนือจากอุปสรรคจากสถานการณ์ความขัดแย้ง  รัฐบาลยังต้องหาช่องทางที่จะให้ชาวมาเลย์มุสลิมเข้าไปศึกษาในหลักสูตรของรัฐ  และเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐ   ตลอดจนต้องแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การศึกษา โอกาส และผลการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเมื่อเปรียบเทียบกับผู้จบการศึกษาจากโรงเรียนรัฐบาล

ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสิทธิในการศึกษาสำหรับเด็กๆ ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2550 ของประเทศไทยซึ่งกำหนดให้ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษา อย่างมีคุณภาพ เป็นเวลา 12 ปีฟรี26  นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเด็กต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี27   รัฐธรรมนูญของไทยยังเน้นย้ำว่า คนยากจนและคนพิการมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน28กฏหมายแพ่งได้ระบุไว้ว่า ผู้ปกครองมีหน้าที่ ดูแลบุตร และ ให้การศึกษาที่เหมาะสมสำหรับทุกคน29

มากและเกินไปสำหรับรัฐบาลที่จะให้ การศึกษาที่มีคุณภาพ 12 ปีฟรี รัฐยังยอมรับในรัฐธรรมนูญเที่จะทำให้ทุกคน ได้รับความคุ้มครอง และส่งเสริม ในด้านการศึกษา  "โดยองค์กรวิชาชีพหรือเอกชน  การศึกษาทางเลือกสำหรับสาธารณชน  การเรีนรู้โดยตรงด้วยตัวเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต30รัฐธรรมนูญไทยรับรองให้ครูและนักเรียน มีเสรีภาพทางวิชาการ "โดยไม่ขัดต่อ ... หน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดี31

แม้จะมีการคุ้มครองเหล่านี้ตามกฎหมาย ผลการศึกษาสำหรับเด็กในภาคใต้ของประเทศไทยตามที่ผ่านมา ยังแย่อยู่มาก  แม้ว่าจะมีนักศึกษามุสลิมสำเร็จการศึกษาในจำนวนสูง  แต่มีนักเรียน มุสลิมมาเลย์ไม่กี่คนที่สามารถสอบผ่านเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยไทย ยังมีนักเรียนจำนวนมาก ที่จบออกมา โดยมีความร้ไม่เพียงพอที่จะแข่งขันในตลาดแรงงาน.32

ในเดือนมีนาคม 2548  อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ  ได้จัดตั้ง คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ  ประกอบด้วยสมาชิก  48 คน เพื่อให้  "คนจากส่วนต่างๆ  ของสังคมรวบรวมกำลังความคิด และกำลังกายเพื่อหาทางแก้ปัญหาระยะยาว ให้กับภาคใต้  เพื่อที่จะนำไปสู่ การประนีประนอมอย่างแท้จริงด้วยความสงบและความยุติธรรม33  รายงานของคณะกรรมการ ที่ส่งไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549, บ่งชี้ว่าคุณภาพการศึกษาที่ต่ำ  เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความขัดแย้ง  และให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล 16 ข้อ ในการที่จะมุ่งรักษาความหลากหลายในระบบการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั่วไป34หลายคำแนะนำเหล่านี้ยังคงเป็นคำแนะนำที่สำคัญสำหรับการปรับปรุงในอนาคต

สถาบันการศึกษาสำหรับเด็กๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สำคัญมี 4 ประเภท

โรงเรียนรัฐบาล  ซึ่งดำเนินการตามมาตรฐานแห่งชาติและใช้หลักสูตรเดียวกับโรงเรียนรัฐบาลอื่น ๆ ทั้งหมดในประเทศไทย   โรงเรียนดังกล่าว จะมีชัวโมงสำหรับสอนศาสนา สองชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเด็กๆ ในภาคใต้สามารถเข้าศึกษาศาสนาพุทธหรือศาสนาอิสลาม ได้ตาม ศาสนาของตน

ชาวมุสลิมจำนวนมากเลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลเพราะคุณภาพของครู   ครูที่โรงเรียนของรัฐที่มีนักเรียนมุสลิมร้อยละ 70 และชาวพุทธร้อยละ 30 อธิบายเหตุผลที่ผู้ปกครองมุสลิมส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนเธอ:

ถ้ามองในแง่ของคุณภาพการสอน  ที่นี่คือโรงเรียนที่ดีที่สุดในหมู่บ้านขณะนี้  เรามีคอมพิวเตอร์  มีหลักสูตรการสอนที่เข้มข้น   เราได้รับบริจาคอุปกรณ์การเรียน อย่างเช่น เครื่องถ่ายเอกสาร  ซึ่งค่อนข้างจะหายากในละแวกนี้  มีนักเรียนหลายคนจากโรงเรียนอิสลาม ที่เลือกที่เจะย้ายมาเรียนที่นี่   ในวันศุกร์ เราก็จะมีชั่วโมงเรียนศาสนา   นักเรียนชาวพุทธ ก็จะเรียนที่วัด  ส่วนนักเรียนมุสลิม ก็จมี อิหม่ามมาสอน35

แต่ผู้ปกครองบางท่านเห็นว่า เวลาแค่ 2 ชั่วโมง สำหรับการเรียนศาสนา ไม่เพียงพอ  คุณพ่อคนหนึ่งกล่าวอย่างเรียบๆ กับ  Human Rights Watch ว่า  มันไม่เพียงพอ36

ประเภทที่สองก็คือ  โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  เป็นโรงเรียนมัธยม ที่สอน  ทั้งหลักสูตรศาสนาอิสลามและหลักสูตรการศึกษาแบบดั้งเดิม    รัฐบาลรับรองว่าเด็กนักเรียนที่เรียนจบจากโรงเรียนเหล่านี้สามารถศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่สูงกว่าได้   โรงเรียนเหล่านี้มีหลักสูตรแห่งชาติในตอนเช้า  และช่วงบ่าย 3-4 ชั่วโมงจะเป็น การเรียนการสอนศาสนา ด้วยเหตุนี้ นักเรียนโรงเรียนอิสลามจึงเรียนวิชาศาสนาไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ซึ่งมากกว่าเพื่อนในโรงเรียนรัฐบาล  แม้ว่ารัฐบาลจะให้เงินสนับสนุนโรงเรียนเหล่านี้แต่สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ก็ยังดูด้อยกว่าของโรงเรียนรัฐบาล ตามความเห็นของมูลนิธิเอเชียซึ่งมีกองทุนเพื่อปรับปรุงระบบการศึกษาของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามเอกชนในประเทศไทย  ข้อจำกัดทางการเงิน เป็นปัจจัยสำคัญในการจำกัดความสามารถของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามเอกชน ที่จะดำเนินแผนการสอนให้ได้มาตรฐาน และยังเป็นปัจจัยจำกัดความสามารถของครูผู้สอนตามหลักสูตรที่รัฐบาลกำหนดด้วย37

แม่คนหนึ่งทีมีลูก 6 คน  อธิบายให้Human Rights Watch ฟังว่า เธอเชื่อว่าโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสามารถให้พื้นฐานที่สำคัญทางศาสนาสำหรับลูกเธอ: “เป็นโอกาสเช่นเดียวกับที่โรงเรียนรัฐบาลแต่ดีกว่าเพราะทำให้นักเรียนเข้าใจดีในเรื่องศาสนาอิสลาม และหลังจากนั้น เด็กๆสามารถเลือกเส้นทางของตัวเองว่าจะศึกษาเพิ่มเติมหรือดำเนินชีวิตต่อไป  แต่พวกเขาจะมีความเข้าของศาสนาอิสลามในชีวิต[25]

โรงเรียนอิสลาม ปอเนาะ (รู้จักกันในชื่อโรงเรียนปอเนาะ) คืออีกรูปแบบหนึ่งของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  ที่ให้แบบที่สามของการศึกษา ปอเนาะสอนวิชาศาสนาอิสลามเท่านั้นและมีแนวโน้มที่จะเป็นโรงเรียนประจำโดยส่วนใหญ่  อายุของนักเรียนมีถึงวัยผู้ใหญ่ ด้วยประวัติอันยาวนานและเป็นประเพณีของอิสลามโลก  ทำให้โรงเรียนปอเนาะของประเทศไทยมีบทบาทสำคัญต่อเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและศาสนาของภาคใต้   รัฐบาลพยายามที่จะขึ้นทะเบียน แต่ไม่รับรองโรงเรียนเหล่านี้และนักเรียนจากโรงเรียนเหล่านี้ไม่สามารถเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษาของไทยได้   ปอเนาะที่มีการขึ้นทะเบียน บางแห่งเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกที่จะเรียนเพิ่มเติม บ่อยครั้งในช่วงเย็นในหลักสูตรระดับมาตรฐานชาติทำให้นักเรียนที่จบหลักสูตรพิเศษสามารถไดรับการรับรองระดับชาติ

เนื่องจากปอเนาะไม่มีการขึ้นทะเบียนจนถึงปี 2004 ดังนั้นจึงยังไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ซึ่งอาจสูงถึง 1,000 แห่ง  ปอเนาะที่ขึ้นทะเบียนได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลตามจำนวนนักศึกษา ครูใหญ่คนหนึ่งของปอเนาะกล่าวว่า ตั้งแต่มีปฏิบัติการครั้งใหม่ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทำให้ปอเนาะพากันมาขึ้นทะเบียนเพื่อที่จะป้องกันตนเองจากการตกเป็นเป้าการรุกรานหรือการล่วงละเมิดโดยความดูแลของรัฐบาล[26]

การศึกษาประเภทที่สี่เป็น tadika ซึ่งเด็กชั้น ป.1ถึงป.6 สามารถเข้าเรียนด้  หลังจากเลิกเรียนศาสนาแล้ว โดยปกติจะเรียนกันที่มัสยิดหลักสูตรเหล่านี้อย่ในควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ

สถาบันการศึกษาในภาคใต้:[27]

>

ปัตตานี

ยะลา

นาราธิวาส

โรงเรียนรัฐบาล

363

259

380

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

69

44

48

ปอเนาะสอนวิชาศาสนาอิสลามเท่านั้น

230

109

52

Tadika

624

411

605

การศึกษาสองภาษาสองวัฒนธรรมภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

หนึ่งในข้อถกเถียงที่สำคัญต่อนโยบายการศึกษาของรัฐบาลไทย คือจะต้องเปิดให้ชาวมาเลย์มุสลิมเข้าถึงการศึกษาในภาษาของตนเอง ยอมรับเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง ในขณะเดียวกันต้องรู้ภาษาไทยมากพอที่จะใช้ในการเข้าร่วมในการจ้างงานระดับชาติและการศึกษาระดับอุดมศึกษา

กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเน้นว่าการศึกษาควรจะถูกพัฒนาโดยตรงในเรื่องของการเคารพวัฒนธรรมภาษาและค่านิยมของเด็กเอง  เท่ากับค่านิยมระดับชาติของประเทศที่เด็กอาศัยอยู่[28]  ตระหนักถึงความตึงเครียดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างจุดมุ่งหมายเหล่านี้คณะกรรมการสิทธิเด็กที่เป็นผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศที่ดูแลการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กได้อธิบายว่าส่วนสำคัญของบทบัญญัตินี้อยู่ที่การรับรู้อย่างถ่องแท้  ในการสร้างความสมดุลทางการศึกษาและหนึ่งในวิธีที่จะประสบความสำเร็จในการประนีประนอมในเรื่องของค่านิยมที่หลากหลายก็คือการสนทนาและการเคารพในความแตกต่าง[29]

เด็กๆ มีสิทธิที่จะใช้ภาษาแรกของพวกเขา[30] แต่ไม่ได้หมายความว่า  เด็กๆ จะมีสิทธิได้รับการสอนภาษานั้นอย่างครบถ้วนที่โรงเรียน  แต่ก็สนับสนุนแนวคิดที่ว่า อย่างน้อยเด็กควรจะได้รับการสอน พูด อ่านและเขียนภาษาแรก ของตนเองในโรงเรียน[31] อย่างไรก็ตาม การสอนภาษาแรกของเด็ก โดยไม่ส่งเสริมความคล่องแคล่วในภาษาของชนกลุ่มใหญ่ อาจทำให้คนที่จบการศึกษาเสียเปรียบในการแสวงหาการจ้างงานและโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้น และมีส่วนร่วมในวาทกรรมทางแพ่งและทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงมีหน้าที่ในการรับประกันว่าคุณภาพการเรียนการสอนภาษาของชนกลุ่มใหญ่จะมีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับเด็กที่เป็นชนกลุ่มน้อย เพื่อที่จะให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในสังคมที่กว้างไกล เท่าเทียมกับเด็กที่เรียนมาจากกลุ่มภาษาของชนกลุ่มใหญ่[32]

3. การโจมตีและภัยคุกคามครู

ภาคใต้ของประเทศไทยเป็นหนึ่งในสถานที่อันตรายที่สุดในโลกสำหรับครูไม่ใช่แค่ครูที่ตกเป็นเป้าหมายและถูกสังหารผู้บริหารภารโรงและคนขับรถโรงเรียนก็เสียชีวิตจากการโจมตีของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ[33] ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างเดือนมกราคม 2547 และในสัปดาห์แรกของเดือนกันยายน2553 มีครูจากภาครัฐอย่างน้อย108 คนและบุคลากรทางการศึกษาอีก27คนถูกสังหารในการโจมตีที่คาดว่าเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ[34]  ในช่วงระหว่างเดือนมกราคมและในสัปดาห์แรกของเดือนกันยายน 2553  ครูจำนวน14  คน   เป็นชาย10 คนและหญิง4 คนถูกฆ่า[35] ครูอื่นที่รอดจาการกลอบทำร้ายหรือการลอบสังหารตั้งแต่มกราคมปี 2547[36]มีครูจากภาครัฐอย่างน้อย103 คนและบุคลากรทางการศึกษา19 คนได้รับบาดเจ็บผลก็คือมีครูมากมายที่ใช้ชีวิตอยู่ในความกลัวทุกวันมีครูจำนวนมากได้ขอให้รัฐบาลย้ายโอนไปสอนนอกพื้นที่ภาคใต้และบางส่วนยินดีที่จะรับเบี้ยเสี่ยงภัยหากไม่ได้ย้าย

ครูที่ถูกสังหารส่วนใหญ่เป็นครูไทยพุทธที่ทำงานในโรงเรียนรัฐบาล แต่ครูมุสลิมก็ไม่ได้รับการไว้ชีวิต ครูชาวมาเลย์มุสลมที่ทำงานที่โรงเรียนรัฐบาลและครูมุสลิมที่ทำงานในโรงเรียนอิสลาม แต่ถูกมองว่าเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือไม่ให้การสนับสนุนฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบเพียงพอ ก็จะได้รับการคุกคามเช่นกัน

ในกรณีที่Human Rights Watch มีการสอบสวน กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจะดำเนินการโจมตี   โดยการกำหนดเป้าหมายเป็นครูแต่ละคน หรือขบวนรถที่มีบุคลากรของโรงเรียนเดินทาง ไปกลับโรงเรียน ในการโจมตีพวกกบฏมักจะยิงด้วยปืนพก แต่ปืนกลก็ถูกนำมาใช้ด้วย ผู้กระทำผิดมักใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ เพื่อความรวดเร็วในการเข้าออกสถานที่เกิดเหตุ

กรณีศึกษา: การโจมตีครูที่โรงเรียนรัฐบาล

ลาวัณย์ ครูชาวไทยพุทธ เล่าให้ทาง Human Rights Watch ฟังเกี่ยวกับเรื่อง ที่เธอและเพื่อนร่วมงานสี่คน ถูกโจมตีที่โรงเรียนรัฐบาลในหมู่บ้านมุสลิมโดยมือปืนเมื่อ ปี 2549

โรงเรียนเลิกประมาณบ่ายสาม ครูมารวมตัวกันเหมือนทุกวัน

เรามักจะใช้รถกระบะคันหนึ่งที่เป็นของครูคนหนึ่ง เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ให้เราเดินทางเข้าและออกด้วยกัน และวันนั้นเราก็เกือบตายพร้อมกัน

รถกระบะออกจากโรงเรียนและวิ่งไปได้ประมาณ 700 เมตร เมื่อเราเกือบจะถึงทางแยกเพื่อเดินทางจากโรงเรียนไปยังหมู่บ้าน เราอยู่ใกล้มัสยิด มือปืนได้หยุดรถกระบะ

ฉันไม่เห็นว่าเขามาจากไหน ไม่ได้เห็นใบหน้าของเขาด้วยซ้ำ เพราะว่าฉันนั่งหลังคนขับดังนั้นจึงไม่เห็นอะไรมากนัก  ฉันจำไม่ได้ว่าเขายิงรถกระบะของเรากี่นัด มีครูสี่คนภายในรถถูกยิง ทุกคนมีสติอยู่แม้พวกเราจะถูกยิง เราทุกคนพยายามที่จะใช้มือถือของเราเพื่อโทรขอความช่วยเหลือขณะที่มีคนโทรเรียกตำรวจ ฉันโทรหาสามีของฉัน

ฉันมองไปรอบ ๆ พบว่าทุกคนถูกยิง บางคนถูกยิงที่ไหล่ คนขับรถร้องด้วยความเจ็บปวด หลังจากที่ฉันโทรหาสามีของฉัน ฉันก็สลบตื่นขึ้นอีกครั้งก็อยู่ที่โรงพยาบาลแล้ว ...[37]

ลาวัณย์ถูกยิงที่หลัง และเป็นอัมพาตจากเอวลงไป เธอกล่าวว่าฉันไม่สามารถนั่งด้วยตัวเอง ฉันต้องพิงบางอย่างฉันไม่สามารถไปห้องน้ำด้วยตัวเอง สามีต้องช่วยฉัน ดังนั้นเขาจึงไม่สามารถไปทำงานได้[38]เธอยังบอก Human Rights Watch ว่าเธอคิดถึงการเป็นครูฉันรักการสอน ฉันรักการสอนเด็ก ๆ ... ฉันสอนมากว่า 30 ปีในหมู่บ้านนั้น[39]

แม้ว่าลาวัลย์จะกล่าวถึงเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีโดยไม่แสดงอารมณ์ แต่ร้องไห้เมื่อเธอกล่าวถึงการเป็นอัมพาตที่มีผลต่อลูกชายของเธอ"ลูกของเราเป็นนักเรียนฉลาดมาก เขาได้รับทุนการศึกษาลายแห่ง  แต่เขาเสียสละโอกาสมากมายเพื่ออยู่ที่นี่ ตั้งแต่ปีที่แล้วเพื่อดูแลฉัน ฉันถ่วงความเจริญของลูกของฉัน ฉันโทษตัวเองในเรื่องนี้[40]

เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นบอกกับทาง Human Rights Watch  ว่าตำรวจสงสัยว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทำร้ายครูเพื่อเป็นการตอบโต้การที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยรัฐบาลยิงอิหม่ามในพื้นที่คนหนึ่งก่อนหน้านี้[41]

หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีครูห้าคนและผู้อำนวยการของโรงเรียนรัฐบาล ลาออกจากโรงเรียนและย้ายออกจากหมู่บ้าน[42]

กรณีศึกษา: การโจมตีครูมุสลิมที่โรงเรียนรัฐบาล

นูริฮัม ชาวมาเลย์มุสลิมสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนรัฐบาลแหงหนึ่ง

เขาบอกกับ Human Rights Watch ว่าช่วงต้นปี 2549 เขาได้รับคำขู่ต่างๆจาก กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดน  เริ่มด้วยการ มีฝ่ายตรงข้ามหลายคนมาหาเขาและเตือนเขาด้วยตัวเองว่า ในฐานะที่เป็นมุสลิมเขาไม่ควรสอนในโรงเรียนรัฐบาล  ในครั้งต่อไปกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบนำจดหมายมาส่งให้เขาโดยมีข้อความคล้าย ๆ กัน

ภายหลัง นูริฮัม และคนในพื้นที่อื่น ๆ ได้พบแผ่นพับที่ระบุข้อกล่าวหาที่คล้าย ๆ กันทิ้งไว้รอบหมู่บ้านของเขา

แต่ นูริฮัม ไม่เพียงแต่ได้รับแรงกดดันจาก กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเท่านั้นมีทหารพรานอาสาสมัครเข้ามาหาเขาและกล่าวเตือนแต่ที่เขามองว่าเป็นการคุกคามเพราะเขาเป็นมุสลิม :"คุณควรระวัง[43]

เขาบอกกับ  Human Rights Watch ว่า  เขาเคยถูกทำร้ายโดยผู้ก่อความไม่สงบ 2 คนในปี 2552และเขาพยายามปกป้องตัวเองด้วยปืนพกประจำตัว

ผมกำลังใส่กุญแจรถจักรยานยนต์ของผม ผมได้บิดกุญแจเพื่อเริ่มติดเครื่องยนต์  เมื่อได้ยินเสียงคนเรืยกชื่อผม เมื่อผมหันกลับไปก็พบว่ามีปืนมาจ่ออยู่ทีแก้มของผม เมื่อไกปืนถูกเหนี่ยว แรงกระทบของกระสุนทำให้ตัวของผมหมุนไป ผมถูกยิงที่หัว และตัวของผมก็หมุนไปมา ผมยังมีสติอยู่และพยายามป้องกันตัว กระสุนวิ่งผ่านนิ้วมือข้างซ้ายเข้าไปที่กระโหลกของผม  ผมวิ่งหนีพร้อม ๆ กับประคองมือที่เต็มไปด้วยเลือด
มือปืนขึ้นขี่รถจักรยานยนต์  เพื่อที่จะตามไล่หลังผม และยังคงยิงมาที่ผมอีก ผมหนีหลบ และดึงปืนพก 38 ลูกโม่ ออกมา ผมตัดสินใจที่จะต่อสู้เพื่อชีวิตของผม ผมเชื่อว่าถ้าผมไม่สู้ ผมคงต้องตายอย่างแน่นอน ผมยิงกลับไปทางรถจักรยานยนต์ กระสุนยิงถูกบริเวณด้านข้างศีรษะของคนขับรถ ผมมองเห็นเลือดไหลลงมาบนใบหน้าของคนขับ การต่อสู้ระหว่างผมกับมือปืนสิ้นสุดลง  เพราะกระสุนปืนของเขาหมด   และพวกเขาขี่จักรยานยนต์หนีไป  ขณะที่พวกเขาขี่รถหนีไป  ผมได้ยิงไปอีก 2 นัด และผมคิดว่าผมยิงโดนด้านหลังของมือปืนที่ซ้อนท้ายอยู่ พวกเขาเป็นคนนอกพื้นที่   ผมจำหน้าพวกเขาไม่ได้  พวกเขาไม่ได้ปิดหน้า[44]

นูริฮัม สูญเสียนิ้วไปหนึ่งนิ้วและกระสุนทำให้กรามของเขาแตกและทำให้ลิ้นของเขาพิการกระสุนลูกหนึ่งยังฝังอยู่ในกะโหลกศีรษะของเขาซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าอันตรายเกินไปที่จะผ่าตัดเอาออก

กรณีศึกษา:การฆ่าครู ปอเนาะ

ครูมยุดิน[45]เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนปอเนาะ ขณะที่กำลังขับขี่มอเตอร์ไซค์ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยิงเขาสามครั้งเข้าด้านหลัง จนเสียชีวิต

สำสี ในฐานะเจ้าหน้าที่โรงเรียนบอก Human Rights Watch"เขา (ครูมยุดิน) ถูกฆ่า -  มีคนอยู่ที่นั่น มีบ้านหลายหลัง แต่ไม่มีใครอยากจะพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่มีใครอยากมาเป็นพยาน[46]

Human Rights Watchได้สัมภาษณ์ครูใหญ่หลายเดือนก่อนหน้านี้เกี่ยวกับโรงเรียนปอเนาะ ในการสัมภาษณ์ ครูมยุดิน กล่าวว่าเขารู้สึกกดดันเพราะข้าราชการระดับสูงในรัฐบาลท้องถิ่นได้สั่งให้เขาดูแลโรงเรียนของเขา เพื่อไม่ให้เป็นที่  "สนับสนุนนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ"—โดยการอนุญาตให้ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ เข้ามาปลูกฝังความเชื่อหรือเกณฑ์นักเรียน เขาบอก Human Rights Watchว่า เขาไม่ได้ให้การสนับสนุนลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ แต่กังวลว่ากองกำลังรักษาความปลอดภัยในพื้นที่มักจะไม่แบ่งแยกระหว่างโรงเรียนปอเนาะ ที่สนับสนุนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบและที่ไม่สนับสนุนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอย่างไรก็ตาม ครูใหญ่ได้บอก Human Rights Watch ว่า เขาอยู่ภายใต้ความกดดันมากขึ้นจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ เพื่อให้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนที่สนับสนุนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ[47]ครูใหญ่ยังได้รับใบปลิวเตือนว่าครูสอนศาสนาไม่ควรร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ.[48]

ก่อนจะมีการฆ่าครูใหญ่เกิดขึ้น   โรงเรียนปอเนาะนี้ มีนักเรียนมากกว่า 100 คน โดยมีอายุตั้งแต่ 16 ปี  ถึงวัยกลาง20 ปี  แต่ตอนนี้เหลือ เพียงประมาณ 30 คนเท่านั้นนักเรียนส่วนใหญ่ลาออกเพราะพวกเขาหรือผู้ปกครอง กลัวว่าพวกเขาอาจจะถูกโจมตีโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบผู้แทนครูใหญ่อธิบาย[49]

การข่มขู่ โดยการลอบสังหารเป็นหนทางที่มีประสิทธิผลเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนบอกHuman Rights Watch ว่าตอนนี้เขาตระหนักว่าเขา ไม่ควรจะให้เห็นว่าเขาอยู่ใกล้กับเจ้าหน้าที่รัฐ มากเกินไปเราจะไม่หันหลังให้กับรัฐ แต่เราจะรักษาระยะห่างเอาไว้[50]

ลูกชายคนหนึ่งของครูใหญ่บอกHuman Rights Watchว่า:

พ่อของผมเป็นคนซื่อสัตย์และคิดถึงสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนอื่นๆ แต่การเปิดกว้างกลายเป็นจุดอ่อนของพ่อผมปรารถนาที่จะห็นความยุติธรรม ...แต่ยากที่จะหาผู้กระทำผิด มีการพูดคุยจากตำรวจบางคนแต่ก็ไม่มีความคืบหน้าไม่มีการชี้ตัว[51]

แรงจูงใจของกลุ่มผู้ก่อความไมสงบสำหรับการโจมตีครู

กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจะโจมตีครูเพราะเป็นเจ้าหน้าที่ ของระบบการศึกษาที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ถือว่าเป็นระบบที่กดขี่พวกเขา และพยายามที่จะตอบโต้การละเมิดโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัย เพราะต้องการทำลายอำนาจของรัฐบาลตามข้อความในใบปลิวในจังหวัดนราธิวาสเมื่อเดือนมิถุนายน  2550  (รูปที่ 1)

ถึง สมาพันธ์ครูนราธิวาส

ครู 3 คนนี้ถูกยิงตายในจังหวัดนราธิวาสเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน2550

1. ทิพกรทาสาโนพาสครูโรงเรียนบ้านซากออำเภอศรีสาคร

2. ยุพา แสงวาส ครูโรงเรียนบ้านซากอ อำเภอ ศรีสาคร

3. สมหมาย เหล่าเจริญสุข ครูที่โรงเรียน จีกา อำเภอ ระแง

เราต้องการแจ้งเหตุผลที่ครูเหล่านี้ถูกฆ่าตาย

1. การฆ่าพวกเขาเป็นการตอบโต้สำหรับเหตุการณ์ที่ทหารและตำรวจเปิดฉากยิง [ชาวมุสลิม] ที่มัสยิดในอำเภอสุไหงปาดีซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตสองคน

2. การฆ่าพวกเขาเป็นการตอบโตสมาพันธ์ครูที่มักออกแถลงการณ์ตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่บริหารและทหารอันเป็นการสบประมาทองค์กรมาลายู

3. เจ้าหน้าที่รัฐ สร้างอุปสรรค และห้ามชาวหมู่บ้านมาลายู ทำการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมต่างๆ  เช่นงานศพชาวบ้านที่ถูกฆ่าโดยเจ้าหน้าที่รัฐในอำเภอสุไหงปาดี ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐได้รับการสนับสนุนให้กระทำพิธีกรรม (งานศพ) ของศาสนาอื่นอย่างเปิดเผยเช่น งานศพของ ครูจูหลิง และครูพุทธอื่น ๆ

4. ครูมักจะปลูกฝังความเชื่อและสอนนักเรียนมาลายู ให้มีอคติกับวัฒนธรรมประเพณีและหลักการศาสนาอิสลาม

 

ขอแจ้งให้ทราบ

ด้วยความปรารถนาดี

นักรบอิสลามปัตตานี

รูปที่ 1: ใบปลิวถึง สมาพันธ์ครูนราธิวาสกระจายไปทั่วจังหวัดนราธิวาสในเดือนมิถุนายน 2550

กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมองว่าระบบการศึกษาของไทยเป็นปฏิปักษ์กับการ "คำประกาศของนักรบอิสลามปัตตานี " ซึ่งก่อตั้งที่จังหวัดยะลาในเดือนมกราคม 2550 ซึ่งมีคำปฏิญาณว่า "เราจะทำลายระบบ เศรษฐกิจ การเมืองและการศึกษา ของชาวสยามนอกศาสนาที่นี่.[52]การคุกคามครู และลดจำนวนครู จะทำให้ความสามารถของระบบการศึกษาของ

รัฐบาลลดลงเหตุผลนี้ เป็นการกระตุ้นให้มีการโจมตีในโรงเรียนรัฐบาลมากขึ้นซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในบทที่ 5

ในบางกรณี การฆ่าครู เป็นผลตามมาจากการตายของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบซึ่งทางทหาร อ้างว่าเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่ง การเสียชีวิตของผู้ต้องสงสัยว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ  สุไลมาน นาอีซา เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2553  ซึ่งถูกควบคุมตัวที่ค่ายทหาร  นำไปส่การลอบฆ่าครูโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ  สี่วันต่อมาทางกองทัพไทยบอก Human Rights Watchว่าสุไลมานได้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการโจมตีของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ14 ครั้งหลังจากการจับกุมเมื่อวันที่ 22 พ.ค. สุไลมานก็ถูกกักตัวไว้ที่ค่ายทหาร อินทยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี  ภายใต้พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน  เจ้าหน้าที่กองทัพอ้างว่าสุไลมานฆ่าตัวตายโดยการแขวนคอตัวเองด้วยผ้าขนหนูญาติของเขาและกลุ่มสิทธิมนุษยชนท้องถิ่นบอก Human Rights Watchว่าสิ่งที่พวกเขาได้เห็นและสิ่งที่พวกเขาเชื่อเป็นร่องรอยจากการถูกทรมานรวมถึงมีเลือดหยดจากอวัยวะเพศ, แผลที่ด้านซ้ายของลำคอและแผลจากของมีคมที่ด้านหลังเหนือเอว ในการตอบโต้สำหรับการตายของสุไลมาน กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยกระดับการโจมตี ในปัตตานี ซึ่งรวมทั้งการยิงพลเรือนด้วยตัวอย่างเช่นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2553 กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ยิงศรีษะของครูไทยพุทธ คุณครูบุญนำ ยศนุ้ยครูในบ้านคลองท่า ในอำเภอโคกโพ จังหวัดปัตตานี และสังหารเขา.[53]

กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้โจมตีครูไทยพุทธและข้าราชการอื่น ๆ เพื่อหักล้างข้ออ้างของรัฐบาลที่ว่าสามารถควบคุมสถานการณ์และรักษาความปลอดภัยได้ เพราะครูมักจะเป็นสมาชิกสำคัญของชุมชน ดังนั้นการฆ่าครูจึงทำให้ชาวไทยพุทธในชุมชนเดียวกันหวาดกลัวไปด้วย  มีไปรษณียบัตรส่งไปยังบ้านของครูพุทธในอำเภอเมืองยะลาเพื่อบอกให้ย้ายออกจากพื้นที่:

ครูโบว์  ครูก้อยและครูไก่ ขอให้ออกจากที่นี่ พวกชาวสยาม  อย่าทำงานที่นี่เราจะไม่รับประกันความปลอดภัยของคุณไม่ว่าคุณจะไปสอนในอำเภอกรงปีนังหรือที่โรงเรียน นิบงชูประถัมภ์ [อำเภอเมือง จังหวัดยะลา]เราสามารถติดตามคุณได้ และสืบว่าคุณอาศัยอยู่ที่ไหนและสอนที่ไหนเรารู้ว่าคุณใช้รถยนต์อะไร เราเป็นพลเมืองของรัฐปัตตานีไม่ต้องการให้มีครูชาวสยามนี่คือการเตือนครั้งแรกเราคือสานุศิษย์ของอัลเลาะห์ ไม่ต้องการทำอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับคนสยามนอกศาสนา (อัลเลาะห์จะอวยพรผู้ที่ศรัทธาอย่างแท้จริงต่ออัลเลาะห์เท่านั้น

ในตอนเย็นของวันที่ 2 มิถุนายน 2552 ครู 6 คน ในนราธิวาส ซึ่งเป็นชาวไทยพุทธ 2 คนและชาวมาเลย์มุสลิม 4 คน กำลังเดินกลับจากงานด้วยกัน มีชาย 4 คนในชุดทหารพร้อม รถจักรยานยนต์ 2 คันแซงขึ้นมา ชายผู้ต้องสงสัยว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ แม้ว่าจะสวมชุดทหาร ให้สัญญาณเพื่อให้ครูลดความเร็วและจอดรถ ชายสองคนเดินเข้าไปที่รถกระบะของครูคนหนึ่งบอกว่ามีระเบิดอยู่ด้านหน้าของถนน ทว่า ในขณะเดียวกัน ชายที่เหลือก็เริ่มเปิดฉากยิงปืน AK-47 ใส่ครูผู้หญิงไทยพุทธ 2 คน ได้แก่ ครูวารุณี นาวากา และ ครูอัฉราพร เทพศร  ครูวารุณีเสียชีวิตทันที ในที่นั่งผู้โดยสารด้านหน้า ครูอัฉราพร ซึ่งตั้งครรภ์แปดเดือนเสียชีวิตขณะเดินทางไปโรงพยาบาล ครูคนอื่นอีกสี่คนซึ่งเป็นชาวมาเลย์มุสลิมรอดชีวิต แต่ครูผู้ชายซึ่งเป็นคนขับรถและครูผู้หญิงอีกหนึ่งคน ถูกกระสุนปืนและบาดเจ็บจากรายงานข่าว ครูที่รอดตายบอกตำรวจว่า พวกเขาเชื่อว่าครูสองคนที่ไม่ใช่มุสลิมเป็นเป้าหมายที่ถูกกำหนดไว้.[54]

ดังที่ตัวแทนจากองค์กรเยาวชนมุสลิมท้องถิ่นอธิบายว่า :

ในบางพื้นที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ต้องการฆ่าครูพุทธจนกระทั่งไม่มีชาวพุทธเหลืออยู่เลยมันเป็นกลยุทธ์เพื่อสร้างชุมชนมุสลิม (โดยไม่ให้มีศาสนาอื่นๆ ปะปน)
ก่อนอื่น การฆ่าเพื่อลดจำนวนพุทธศาสนิกชนและการเสียชีวิตของพวกเขาจะทำให้คนอื่นหวาดกลัว และย้ายออกไป ครูที่รอดตายก็จะขอโอนย้าย ดังนั้นทั้งสองทางนี้จึงเป็นการลดจำนวนครู แนวโน้มที่น่ากังวลมากที่สุดในขณะนี้คือการแยกตัวกันโดยธรรมชาติของชาวพุทธและชาวมุสลิมในโรงเรียนขณะนี้บางโรงเรียนจะมีแต่ครูมุสลิมและนักเรียนมุสลิมเท่านั้นและบางโรงเรียนก็มีแต่ครูพุทธและนักเรียนพุทธเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มาจากโยบายข้อใดหากเพียงแค่ตอบสนองต่อสถานการณ์เพื่อความปลอดภัยเท่านั้น[55]

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโจมตีอย่างรุนแรงเพิ่มความรู้สึกหวาดกลัวไปทั่ว ตัวอย่างเช่นในเดือนกุมภาพันธ์ 2553กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ยิงอาจารย์สัมฤทธิ์ พันธเดช จาก โรงเรียนบ้านโก ยีแบง ในเขตอำเภอกะพ้อ ปัตตานี ถึงแก่ความตาย และราดน้ำมันทั่วตัวเพื่อจุดไฟเผา.[56]ในตอนเย็นวันที่ 24 พฤศจิกายน 2548 กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบสองคนพร้อมอาวุธปืน AK - 47 ได้ยิง นายนนท์ ชัยสุวรรณผู้อำนวยการโรงเรียนบางเกาะ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ขณะที่เขากำลังขับรถกระบะออกจากโรงเรียน[57]พยานที่เป็นนักเรียนและครูบอกกับ Human Rights Watchว่า ผู้อำนวยการยังคงมีชีวิตอยู่เมื่อกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบราดร่างกายเขาด้วยน้ำมันเบนซินและเผาทั้งเป็น.[58]

ครูยังเป็น "เป้าหมายที่อ่อนแอ" ง่ายกว่าการโจมตีตำรวจหรือทหาร[59]ตัวแทนของสมาคมครู  กล่าวว่า

ผู้ก่อความไม่สงบใช้ครูเป็นเป้าหมายเพราะพวกเขารู้ว่าครูส่วนใหญ่ไม่ได้พกอาวุธ และเป็นกำลังส่วนหนึ่งของรัฐบาลโดยไม่สนใจว่าเป็นข้าราชการพลเรือนประเภทไหน หากรัฐบาลไปจัดการกับคนหนึ่งคนใดของพวกเขาเขาจะไปจัดการครูเหมือน ตาต่อตา ฟันต่อฟัน อีกด้านหนึ่งนั้น กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบคิดว่าครูเป็นสายลับและให้ข้อมูลต่อรัฐบาลเพราะครูใกล้ชิดกับชุมชน[60]

กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบม่งเป้าหมายไปที่ครูมาเลย์มุสลิมที่ทำงานในโรงเรียนรัฐบาลด้วยเช่นกันโดยถือว่าเป็นแนวร่วม รวมทั้งครูมุสลิมในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามที่ถูกมองว่าใกล้ชิดเกินไปกับข้าราชการหรือผู้ที่ต่อต้านความพยายามของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในการใช้ห้องเรียนเป็นที่อบรมหรือเกณฑ์เด็กนักเรียน

ความปลอดภัยสำหรับครูจากภาครัฐ

ในความพยายามที่จะเพิ่มความปลอดภัยให้ครูในโรงเรียนรัฐบาลในภาคใต้ รัฐบาลไทยพยายามใช้วิธีคุ้มครองครูด้วย ทหารติดอาวุธจากกองทัพและอาสาสมัครทหารพราน  ดูแลพวกเขาระหว่าง เดินทางไปและกลับจากโรงเรียน

ครูบางคนบอกกับ Human Rights Watch ว่า พวกเขาพอใจกับการค้มครองในรูปแบบนี้ขณะที่คนอื่นไม่พอใจ   ครูคนหนึ่งจากโรงเรียนในยะลากล่าวว่า "จากมุมมองของครู เมื่อทหารเข้ามา เรารู้สึกอุ่นใจและปลอดภัย[61]ตัวแทนของสมาคมครูกล่าวว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือครูควรตัดสินใจด้วยตัวเองว่าจะเดินทางไปกับกองกำลังรักษาความปลอดภัยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม  ครูหลายคนเลือกที่จะไปกับกองกำลังรักษาความปลอดภัย เพราะประเมินว่าจะทำให้พวกเขาปลอดภัย อย่างไรก็ตาม

ในบางกรณีครูไม่ชอบการคุ้มกันเพราะครูบอกว่า"เราไม่ใช่เป้าหมาย กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบต้องการมุ่งงเป้าหมายไปที่ตำรวจและทหารดังนั้นหากเราไปกับพวกเขาแน่นอนว่า พวกเขา (กลุ่มก่อความไม่สงบ) จะพยายามยิงเราบางคนอยากจะไปโดยลำพังมากกว่า... ครูจำนวนมากเป็นคนท้องถิ่นและมีที่ดินและครอบครัว ดังนั้นจึงร้ตัว และถูกเตือนหากตกเป็นเป้าหมาย[62]

จินตหรา คุณครูคนหนึ่ง อธิบายให้ Human Rights Watch ฟังถึงความกังวลของเธอเกี่ยวกับการเดินทางในขบวนคุ้มกัน:

ฉันคิดว่ามันดึงดูดความสนใจถ้ามีคนต้องการทำอันตรายต่อเรา พวกเขาจะเห็นทหารากระยะไกลและเห็นว่าเรากำลังมาฉันไม่ต้องการเดินทางกับขบวนคุ้มกัน แต่ฉันไม่สามารถเลือกได้เนื่องจากหน่วยคุ้มกันจะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา(ครู) ดังนั้นแม้ว่าเราปฏิเสธ พวกเขาก็ยังคงต้องมา.[63]

กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ โจมตี จินตหราสองครั้ง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ได้รับบาดเจ็บในระหว่างการเดินทางของเธอในขบวนคุ้มกันระหว่างบ้านและโรงเรียน ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมาจินตหราและครูอีกเก้าคนจากโรงเรียนสองแห่งได้เดินทางไปกลับ ระหว่างบ้านและโรงเรียนในรถกระบะสองคัน พร้อมขบวนคุ้มกันซึ่งมี ทหาร 8 นายบนรถมอร์เตอรไซค์ 4 คัน เธอกล่าวว่าหลังจากถูกซุ่มโจมตีครั้งแรก พวกทหารพบแกลลอนน้ำมันเบนซินที่พวกเขาคิดว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเตรียมไว้เผาพวกครู[64]

แม้ว่าจะมีเหตุการณ์เหล่านี้จินตหราบอก Human Rights Watch ว่า "ฉันไม่คิดว่าฉัน เป็นเป้าหมายเพียงคนเดียว เจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งครู สามารถเป็นเป้าหมายได้ ทุกคนตอนนี้เมื่อฉันเดินทางไปโรงเรียน ฉันต้องสวดภาวนาตลอดทาง จนกว่าจะถึงบริเวณโรงเรียน ... มันยากที่จะบอกว่า ครูหรือทหาร ที่เป็นเป้าหมายหลัก ใคร ๆ บนท้องถนนล้วนอยู่ในความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น[65]

การโจมตีขบวนคุ้มกันไม่เพียงแต่ทำลายความเชื่อมั่นของครู แต่มีผล กระทบความรู้สึกของเด็กและผู้ปกครอง ว่าการไปและกลับจากโรงเรียนไม่ปลอดภัย

ครูบางคนกล่าวว่าพวกเขาต้องการที่จะรับผิดชอบในการจัดการความปลอดภัยของตัวเอง เชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์ของชุมชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการป้องกัน ในขณะที่หากถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับกองกำลังรักษาความปลอดภัยอาจะทำให้เป็นอันตรายได้ ครูไหม เป็นไทยพุทธที่สอนมานานกว่า 30 ปีในชุมชนมุสลิมทั้งหมดในยะลา เล่าเรื่องการจัดการความปลอดภัยของเธอว่า :

ในพื้นที่ของเรามีการยิงบ่อยมาก มียิงครู และอื่น ๆ แต่ฉันก็อาศัยการประเมินด้วยตัวของฉันเองและฉันมีภารโรงที่เป็นคนท้องถิ่นในพื้นที่ฉันถามเขาว่าที่นี่ปลอดภัยหรือไม่ แล้วมีอย่ครั้งหนึ่งที่เขามาบอกว่าฉันควรจะย้ายออกไป[66] 

อินทิรา เป็นชาวพุทธผ้อธิบายเหตุผลว่าเธอเลือกที่จะไม่เดินทางไปกับขบวนคุ้มกันความปลอดภัยร่วมกับครูอื่น ๆ ที่โรงเรียนของเธอ: "ฉันเป็นคนพื้นเมืองที่นี่ ฉันรู้สึกว่ามันไม่สำคัญ ไม่ว่ามีหรือไม่มีทหาร กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ จะไว้ชีวิตฉัน[67]

ผู้ค้มกันที่ติดอาวุธอาจเป็นตัวนำข้อความว่าครูให้ความร่วมมือกับกองกำลังรักษาความปลอดภัยซึ่งทำให้

การยอมรับผู้คุ้มครองเป็นความเสี่ยงโดยเฉพาะสำหรับครูมุสลิมเพราะ.อาจเพิ่มโอกาสให้กลายเป็นเป้าหมายของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมากขึ้น

ครูหลายคนบอกว่าถ้าจะต้องมี ผู้คุ้มครองติดตาม พวกเขาต้องการทหารจากกองทัพที่ได้รับการฝึกอบรม ไม่ใช่พวกทหารพราน  ครูคนหนึ่งที่ได้รับการคุ้มครองจากทหาร ทหารพราน  และกองกำลังป้องกันอาสาสมัคร   กล่าวกับ Human Rights Watchว่าต้องการการคุ้มกันจากทหารมากกว่า เพราะในมุมมองของเธอพวกเขา "มีประสิทธิภาพมากกว่า[68]

แม้ว่าจะมีความคิดหลากหลายและมุมมองต่าง ๆ ของครูและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของโรงเรียน ในเรื่องผู้ติดตามติดอาวุธ, แต่ไม่เคยได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับความเป็นความตาย  ในการจัดการความปลอดภัย และพวกเขาไม่เคยได้รับอนุญาตให้บอกความต้องการของตนเองและความกังวลต่าง ๆ บางครั้งเจ้าหน้าที่ปรึกษาเฉพาะกับครูใหญ่เรื่องที่เขากำลังเตรียมการสำหรับครู โดยไม่มีการบอกกล่าวอะไรเลยไม่ว่าจะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ครูบางคนไม่สามารถยอมรับการจัดการรักษาความปลอดภัยได้เพราะเชื่อว่าอันที่จริงแล้วสิ่งนี้ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงมากขึ้น

ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กฤษดา บุญราช ได้ริเริ่มเปลี่ยนแปลงกระบวนการคุ้มกันเพื่อป้องกันครูระหว่างทางไปที่ทำงาน นับแต่เดือนมีนาคม 2553  มี โรงเรียน 330 แห่ง ในจังหวัดยะลา  และ มี 225 แห่งที่มีการจัดกำลังรักษาความปลอดภัยให้ครูผู้สอน ขณะพวกเขาเดินทางไปและกลับจากโรงเรียน[69]อย่างไรก็ตาม แทนที่จะจัดให้มีผู้ติดตามรักษาความปลอดภัยในการเดินทางองครู, กองกำลังรักษาความปลอดภัย กลับไปประจำอยู่ที่จุดต่าง ๆ บนถนน ในช่วงเช้าและบ่ายเมื่อครูเดินทางและมีการตรวจสอบอุปกรณ์ระเบิดและที่กำบังสำหรับดักโจมตี ผู้ว่าราชการบอกกับ Human Rights Watchว่าเป็นผลให้: "สถานการณ์ในจังหวัดยะลาดีขึ้น[70]เทคนิคนี้มีประโยชน์เพราะไม่มีการระบุตัวครู ทำให้พวกเขาถูกกันออกไปจากการปะทะ และยังเพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชนพลเรือนทั่วไปรวมทั้งผู้เดินทางบนถนนด้วย

นอกจากการจัดเตรียมผู้คุ้มกันให้แล้ว รัฐบาลยังได้ออกมาตรการอื่น ๆหลายอย่าง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของครู ครูไหม เข้ารับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยที่ค่ายทหารในหาดใหญ่รวมถึงวิธีการตอบโต้ ในกรณีมีคนยิงเธอ [71]อดีตครูนราธิวาสปฎิภาณ บอกกับ  Human Rights Watch ว่าในการตอบโต้ภัยคุกคามชีวิต เขาเริ่มสวมเสื้อกันกระสุนระหว่างการเดินทางไปกลับจากโรงเรียน ซึ่งได้รับจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยผ่านมูลนิธิของสมเด็จพระราชินี มาตรการเหล่านี้มีประโยชน์หลายด้าน เช่นครูปฏิภาณได้รับปืนสั้นหนึ่งกระบอกนอกเหนือจากเสื้อกันกระสุนและ นูริฮัม กล่าวว่าเพราะเขาเป็นครูเขาจึงได้รับกระสุนฟรี สำหรับปืนพกของเขา[72]

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับการศึกษา

นอกเหนือจากความกลัวโดยทั่วไปและการสูญเสียที่น่าเศร้าในชีวิตมนุษย์ การโจมตีครูก่อให้เกิดความเสียหายต่อการศึกษาของเด็กและเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในหลายๆด้าน

ประการแรก  การโจมตีครูทำให้ นักเรียนรู้สึกวิตกจริต คุณครูจินตนาเล่าให้ Human Rights Watch:

 ฟังว่า "เมื่อนักเรียนได้ยินข่าวฉันถูกซุ่มทำร้าย พวกเด็กร้องไห้และหวั่นวิตกมาก มีนักเรียนและชาวบ้านที่ห่วงใย มารวมตัวกันหน้าโรงเรียนเมื่อได้ยินข่าวนี้  ไม่มีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานอำเภอ หรือเจ้าหน้าที่จากสำนักงานจังหวัด สนใจเลยว่าฉันจะเป็นอย่างไร[73]

ครูนุริฮัม ผู้รอดชีวิตจากการโจมตีกล่าวว่า

นักเรียนของผมได้รับผลกระทบเมื่อพวกเขารู้ว่าผมถูกยิง ตอนแรกทางโรงเรียนและผู้ปกครองพยายามที่จะปิดข่าวเรื่องนี้  แต่มีนักเรียนบางคนที่ได้ยินเสียงปืนจึงทราบเรื่องนี้ นักรียนต่างก็ร้องไห้น้ำตานอง ถามว่า ใครยิงครู” มีหลายคนมาเยี่ยมผมที่โรงพยาบาล และร้องไห้เมื่อพวกเขาเห็นผมถูกยิงที่ปาก[74]

ประการที่สองประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของครู ลดลงอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากความกลัวและความวิตกกังวลในการทำงานคุณครูคนหนึ่งกล่าวว่า"ครูไม่มีขวัญกำลังใจในการสอนพวกเขากำลังตกใจและกลัว[75]

สืบเนื่องมาจากความกลัวนี้ มีครูนับร้อยคน ได้ทำเรื่องขอย้ายออกจากจังหวัดภาคใต้ และการโจมตีครั้งใหม่ที่เกิดขึ้น  ก็มีผลทำให้มีครูขอย้ายมากขึ้นเรื่อย ๆ[76]โรงเรียนแห่งหนึ่งที่ Human Rights Watch ได้เข้าไปเยี่ยม   อาคารเรียนถูกโจมตีและครูถูกซุ่มโจมตีจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ อย่างน้อยครู 4 คนจาก 14  คนกำลังพิจารณาขอโอนย้าย ไปยังโรงเรียนอื่น.[77] สำหรับโรงเรียนชนบทที่ครูเคยถูกคุกคามในอดีตนับเป็นการยากที่จะหาครูที่มีคุณสมบัติมาทดแทนได้

ครูใหญ่ท่านหนึ่งบอกกับเราว่า : ใช่พวกเรากลัวพวกเรารู้สึกไม่ปลอดภัยแต่ถ้าเราละทิ้งงานของเราบางชั้นเรียนจะต้องปิดลงเพราะยากที่จะหาครูมาทดแทน[78]

เมื่อคุณครูไหม ตัดสินใจที่จะย้ายออกจากยะลา เธอไม่มีปัญหาเรื่องการย้ายโอนไปยังอีกแห่งหนึ่ง เพราะเธอมีเส้นสายส่วนตัว  แต่เธอเตือนว่ามันไม่ได้ง่ายสำหรับคนอื่น ๆ เสมอไป:"สำหรับครูที่ต้องการย้ายออกจากพื้นที่เหล่านี้  แต่ไม่มีตำแหน่งให้พวกเขา  ดังนั้น เมื่อย้ายออกไป  จึงลอยเคว้ง รอตำแหน่งที่จะลง

แต่ก็จะเสียสวัสดิการแล้วก็ต้องเป็นหนี้  ดังนั้นฉันจึงคาดว่า 70-80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ย้ายออก ในที่สุดก็ต้องย้ายกลับมาพวกเขารู้สึกเหมือนติดกับดัก[79]เมื่อ (ครู)ไหมหนีไปจากหมู่บ้าน ครูอีก 6 คนจากโรงเรียนของเธอก็ลาออกด้วยเช่นกัน[80]

กระทรวงศึกษาธิการได้รับรู้ว่าจังหวัดภาคใต้เผชิญปัญหาขาดแคลนครู ซึ่งทางกระทรวงก็กำลังพยายามแก้ไขโดยการเพิ่มค่าเสี่ยงภัยสำหรับครูในจังหวัดเหล่านี้เป็น 2500 บาท (US $ 80) ต่อเดือน และให้เงินประกันชีวิตจำนวน  500,000 บาท (US $ 16,000) และให้สัญญาจ้างงานถาวรเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ทำงานเป็นครูชั่วคราวในปัจจุบัน.[81]

สุดท้าย การโจมตีครูนี้ ยังทำให้เกิดการสูญเสียวันเรียน โรงเรียนต้องปิดบ่อยครั้งเพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัยหลังการโจมตีครู ไม่เฉพาะโรงเรียนที่ถูกโจมตีโดยตรงเท่านั้น แต่ยังโรงเรียนในพื้นที่รอบ ๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันตัวอย่างเช่นเมื่อครู วิลาส คงคาม อายุ 54 ปีเป็นครูที่โรงเรียนมะนังกายี และภรรยา เพชรพร้อม คงคาม อายุ 53 ปีเป็นครูที่โรงเรียนทุ่งตอแดง ถูกยิงด้วยปืนยาว M16 โดยมือปืนบนรถจักรยานยนต์ในวันที่ 7 กันยายน 2553  สภาครูนราธิวาสได้สั่งให้ปิดโรงเรียนจำนวน 326 แห่งใน 13 อำเภอของจังหวัดเป็นเวลาสามวัน[82]เมื่อสิทธิชัย ชนาพิบาล ผู้อำนวยการ โรงเรียนโกรงพินาง ในยะลาถูกยิงและได้รับบาดเจ็บเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2551, โรงเรียน 10 แห่งในพื้นที่ถูกปิดชั่วคราว[83]โรงเรียนรัฐบาลทั้งหมด 55 แห่งในอำเภอราแมนถูกปิดชั่วคราว เมื่อครูวีระ เมืองจัน อายุ 54 ปี ครูใหญ่โรงเรียนบ้านมะแฮ ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่  2 กรกฎาคม 2551[84]เมื่อ นนท์ ชัยสุวรรณผู้อำนวยการโรงเรียนในบางเก่าอำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานีถูกยิง รงเรียน  944 แห่ง ทั่วทั้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ปิดหนึ่งอาทิตย์ในเดือนพฤศจิกายน ปี2548

ภัยคุกคามอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับครู

นอกเหนือจากการโจมตีทางกายภาพโดยพวกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ, ครูบางคนถูกขู่ฆ่า หรือได้รับการคุกคามในรูปแบบอื่นๆ  เช่น แผ่นพับ, จดหมาย, โทรศัพท์, และผ่านทางอินเทอร์เน็ต

กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ได้ส่งจดหมายขู่โดยตรงไปยังตัวบุคคลหรือในแผ่นพับ ติดปะไว้บนอาคารหรือทิ้งไว้รอบ ๆ หมู่บ้าน  กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ขู่ครูที่โรงเรียนปากาลือเสาะเป็นประจำ:ผู้อำนวยการโรงเรียนก็พบจดหมายขู่ฆ่าวางไว้บนโต๊ะทำงาน และครูพบใบปลิวข่มขู่พวกเขาในบริเวณโรงเรียนและสถานที่ใกล้เคียง[85]

ในต้นเดือนกันยายน ปี  2553  มีใบปลิว ที่พบในหมู่บ้านในนาราธิวาส ซึ่งมีข้อความว่าต้องการให้ครูชาวพุทธตาย  20 คน[86]

ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2552 มีการพ่นสีสเปย์โดยบุคคลไม่ทราบฝ่าย ที่กำแพงของโรงเรียน บ้านศาลาใหม่ในอำเภอตากใบ นราธิวาส เตือนไม่ให้ครูไทยพุทธไปทำงานที่โรงเรียนอีก หรือเตือนว่าชีวิตของพวกเขาอยู่ในอันตราย[87]

ที่ปอเนาะ ตาเซะอำเภอเมืองยะลา กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ได้ทิ้งแผ่นพับ (ดูรูปที่ 2) คุกคามครูใหญ่ ไม่ให้รักษา "ความสัมพันธ์ที่ดี" กับรัฐบาลหลังจากทหารพรานยิงสองนักศึกษาและทำการโจมตีในโรงเรียน  เมื่อวันที่  9 มีนาคม 2550  (ดูส่วนที่  รัฐบาลเข้าโจมตีปอเนาะด้านล่าง) ครูใหญ่อธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาหลังจากมีการโจมตี :

ครั้งแรก เริ่มต้นด้วยความพยายามของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่ใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเริ่มต้นการจลาจล และ พวกเขาต้องการให้ผม และทุกๆ คนที่นี ร่วมมือด้วย แต่ผมตอบกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ว่า โรงเรียนของเราประสบความเดือดร้อนอยู่แล้ว  ดังนั้น มันจะยิ่งแย่ลงไปอีกถ้าเราเข้าไปพัวพันด้วย  โปรดอย่านำพวกเราไปยุ่งเกี่ยวด้วยอีกเลย  กลุ่มผู้ก่อการ้าย จึงเริ่ม [แจก] แผ่นพับ  ประณามว่า โรงเรียนของเราร่วมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้จะไม่มีการคุกคามทางกายภาพ  แต่แผ่นพับเหล่านี้ ก็คุกคามพวกเรา มากพอแล้ว 

เพื่อควบคุมการคุกคามนี้  ผมได้ขอร้องนักเรียนบางคนที่รู้จักกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ  ให้บอกพวกเขาว่า โรงเรียนของเราไม่ต้องการเข้าไปยุ่งเกี่ยว ไมว่าจะเป็นภาครัฐหรือกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ  ดังนั้น โปรดอย่ามายุ่งกับเรามันเป็นการยากมากสำหรับการอยู่ในตำแหน่งของผมซึ่งอยู่ตรงกลาง เพราะในอีกแง่หนึ่ง คุณมีสื่อของรัฐและสื่อของกระแส  ที่จะให้ภาพของทุกคนในภาคใต้ของไทยเป็นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ทุกคน  และข้าราชการหลายๆ คนก็มองทุกคนด้วยความสงสัย  และแล้ว การซุบซิบ ในร้านน้ำชาที่ว่าทุกคนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับฝ่ายรัฐบาล  ก็จะทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นขี้ข้ารัฐบาล  ดังนั้นหากคุณพยายามเป็นกลางคุณจะเป็นเป้าหมายของทั้งสองฝ่าย[88]

ครูไหม ได้หนีออกจากจังหวัดยะลา  หลังจากที่เธอทราบว่าเธอคือเป้าหมายของการลอบสังหารโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ  เธอได้เล่าให้  Human Rights Watch ฟังว่า

 หลังจากที่เธอหนีออกมาแล้วเธอก็ยังได้รับการโทรเข้าเครื่องมือถือของเธอ  ตอนแรกที่ฉันได้รับโทรศัพท์ เขา โทรมาจากเครื่องโทรศัพท์สาธารณะของหมู่บ้าน  และต่อจากนั้นก็โทรมาจากโทรศัพท์มือถือ  บางครั้ง ฉันรับโทรศัพท์  แต่ไม่มีใครพูด  และบางครั้ง [จะมีเสียงถามว่า ]  “นี่ใช่อดีตครูของโรงเรียนนี้ หรือไม่    แล้วก็มีคนถามว่า ทำไมคุณถึงย้าย ?” พวกเขายังทำให้ฉันเป็นกังวลอยู่   เมื่อฉันถาม "คุณเป็นใคร?"พวกเขาจะไม่ตอบ[89] 

ปฏิภาน  ทำงานเป็นครูในจังหวัดนราธิวาสเป็นเวลา 38 ปีจนกระทั่ง ปี 2551 เล่าให้  Human Rights Watch:  ฟังว่า ชื่อของฉันปรากฎบน website  พร้อมค่าหัว เป็น website ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ  ส่วนใหญ่เป็น [รายชื่อ] ของชาวไทยพุทธ[ค่าหัว] เป็นเงิน 800,000 บาท [US$ 25,000] ผมไม่เคยมีข้อโต้แย้ง หรือปัญหากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ  แต่ผมเป็นผู้นำให้สมาคมครู  ดังนั้น ผมคิดว่าเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ผมถูกกำหนดให้เป็นเป้าหมาย  เหตุผลที่เขาใส่ข้อความนี้ในเว็บไซต์  ก็เพื่อ สร้างความกลัวในจิตใจของครู[90]

รูปที่ 2  แผ่นพับใบปลิวที่ปอเนาะทาเซะ โจมตีการจู่โจมของรัฐบาลและเตือนครูใหญ่ของโรงเรียน (ต้นฉบับเป็นภาษาไทย)

4. การยึดครองสถานที่ของโรงเรียนโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัย

กองกำลังรักษาความปลอดภัยไทย  ทั้งกองทัพและ หน่วยลาดตะเวน  ทำให้ความปลอดภัยของเด็กและการศึกษาอยู่ในความเสี่ยงด้วยการเข้าไปตั้งฐานที่มั่นภายในอาคารเรียนหรือในบริเวณโรงเรียนการปฏิบัตินี้ควรจะแตกต่างจากครั้งที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยไปเฝ้าระวังอยู่ภายนอกของโรงเรียนในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อค้มครองความปลอดภัยได้ทันทีในกรณีที่โรงเรียนถูกคุกคาม  แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้นทหารเหล่านี้กลับตั้งที่มั่นประจำอยู่ที่โรงเรียนเป็นเวลาหลายเดือนและหลายปี ด้วยความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังรักษาความปลอดภัยเพื่อช่วยเหลือทหาร ในขณะเดียวกันก็ด้รับประโยชน์จากส่วนกลางในส่วนการใช้ที่ดินของรัฐ มีโครงสร้างที่ถาวรมีไฟฟ้าและน้ำฟรี ดีกว่าที่จะไปตั้งฐานในพื้นที่ที่อาจเป็นศัตรูเมื่อกองกำลังรักษาความปลอดภัยเข้ามาตั้งมั่นขึ้นภายในโรงเรียนหรือในบริเวณโรงเรียน  นักเรียนที่โรงเรียนถูกบังคับให้เรียนไป พร้อม ๆ กับมีคนติดอาวุธอยู่รอบ ๆ

แม้ว่ากองกำลังรักษาความปลอดภัยจะมุ่งประหยัดค่าใช้จ่ายโดยการจัดตั้งฐานในบริเวณโรงเรียนรัฐบาล ฐานติดอาวุธดังกล่าวก็มีต้นทุนซ่อนเร้นที่สำคัญ คือ การเสียสละของเด็กในการได้รับการศึกษาในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยโดยไม่ต้องหวาดกลัว

Human Rights Watch ส่งหนังสือไปถึงกระทรวงศึกษาธิการและผู้ว่าราชการจังหวัดของทั้งสองจังหวัด คือปัตตานีและนราธิวาสเพื่อขอข้อมูลจำนวนโรงเรียนที่มีกองกำลังรักษาความปลอดภัยรัฐบาลอยู่ในโรงเรียน  แต่ไม่ได้รับคำตอบ ในการให้สัมภาษณ์กับ Human Rights Watch , ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลากล่าวว่าไม่ทราบว่ามีโรงเรียนดังกล่าวในจังหวัดกี่แห่ง

ต่อมา NGO องค์กรหนึ่งไปสำรวจที่บ้าน ทาลอวี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และบอกกับ Human Rights Watch ว่ามีหน่วยลาดตะเวนอยู่ในโรงเรียนของหมู่บ้านประมาณสองปีแล้ว[91]

ตามที่ระบุในบทที่ 2 รัฐบาลไทยมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญไทย กฎหมายไทยและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยต้องให้เด็กทุกคนมีอิสระและได้รับการศึกษาระดับประถมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และต้องดำเนินการให้มีการศึกษาระดับมัธยม ซึ่งเด็กสามารถเข้าถึงได้โดยถ้วนหน้า  ดังนั้นเมื่อการมีอยู่ของกองกำลังรักษาความปลอดภัยภายในโรงเรียน ทำให้คุณภาพการศึกษาและการเข้าถึงของเด็กลดลง รัฐบาลจึงกำลังละเมิดสิทธิของนักเรียนในการได้รับการศึกษา

กรณีศึกษา: โรงเรียนบ้านคลองช้างอำเภอมายอจังหวัดปัตตานี

เมื่อ Human Rights Watch เข้าไปสำรวจ โรงเรียนประถมศึกษาหมู่บ้านบ้านคลองช้าง ซึ่งเป็นโรงเรียนของรัฐ นักเรียนทุกคนเป็นมุสลิม หน่วยลาดตะเวนได้เข้าไปตั้งฐานในบริเวณโรงเรียนประมาณสองปีแล้วโดย ใช้เนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของสนามกีฬาหลังโรงเรียน

คนท้องถิ่นเล่าให้ Human Rights Watch ฟังว่าก่อนหน้านี้ ฐานที่มั่นของหน่วยลาดตะเวนอยู่นอกหมู่บ้าน แต่ย้ายเข้าสู่บริเวณโรงเรียน  หลังจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบสังหารผู้ใหญ่บ้านผู้เคยต่อต้าน การที่หน่วยลาดตะเวนมาสร้างฐานที่มั่นในหมู่บ้าน[92] 

ในบริเวณโรงเรียน ทหารติดอาวุธโดยมีปืนพกหรือปืนยาว พร้อมกระสุน[93]เมื่อ Human Rights Watch  ถาม บาซน บินซากี, เด็กชายอายุ 12 ปี, ว่าพวกทหารพกอาวุธหรือไม่ เขาตอบทันทีว่าทหารพกปืน M-16 พร้อมกระสุนฉันไปจับปืนดูได้ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ถืออาวุธ[94]คนท้องที่ยังกล่าวว่า "เมื่อเด็กเล่นกับทหารหรือนั่งบนตักทหาร พวกเขาก็ยังพกอาวุธอยู่[95]

ผู้ปกครอง นักเรียนปัจจุบันและศิษย์เก่าให้สัมภาษณ์กับ Human Rights Watch โดยกล่าวถึงความวิตกกังวล เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยลาดตะเวน และนักเรียน

นักเรียนแสดงความกลัวที่จะใกล้ชิดกับกองกำลังรักษาความปลอดภัย ซึ่งทำให้ความเสี่ยงต่อการโจมตีในโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น และทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บ  เด็กหญิงอายุ 9 ปีที่โรงเรียนบอก Human Rights Watch ว่า หนูกลัว ...สิ่งที่ทำให้หนูกลัวคือหนูจะคิดว่าโรงเรียนอาจจะถูกโจมตีเพราะทหารอยู่ที่โรงเรียน แต่นักเรียนและครูอาจจะเป็นคนที่ได้รับบาดเจ็บ . เด็กนักเรียนและครูอาจตกอยู่ตรงกลาง[96]

ทั้งผู้ปกครองและนักเรียนต่างก็กังวลที่คุณภาพของการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ลดลงตั้งแต่หน่วยลาดตะเวน มาตั้งฐานที่มั่นในโรงเรียน  พวกเขาบอกว่าครูมีความกังวลด้านความปลอดภัยมากขึ้น[97]"ครูไม่มีสมาธิในการสอน" แม่ของเด็กอายุ 7 ปี เป็นผู้บอกเรา[98]"ลูกสาวของฉันเคยบ่นว่า ครูไม่มีสมาธิในการทำงานของพวกเขา" ผู้ปกครองอีกคนหนึ่งพูด[99]

นักเรียนและผู้ปกครองยังพูดถึงความกลัวของพวกเขาที่กองกำลังรักษาความปลอดภัย อาจจะล่วงละเมิดทางเพศต่อนักเรียนสาว เด็กหญิงอื่น ๆ และผู้หญิงในหมู่บ้านบาเซาะ, เด็กหญิงอายุ 12 ปี บอก Human Rights Watch ว่าทหารมักจะถามว่าเธอมีพี่สาวหรือเปล่า[100]ฮารินา เด็กหญิงวัย 10 ปี ที่ไปโรงเรียนทุกวันบอก Human Rights Watch ทำไมเธอจึงไม่พูดคุยกับทหาร :

ฉันกลัวทหารเพราะพวกเขาจะมือไวมาก ๆ พวกเขาชอบอุ้มเด็กและมันก็โอเคสำหรับเด็กชายแต่สำหรับเด็กผู้หญิงเราจะไม่ยอมให้ผ้ชายมาสัมผัสร่างกายของเรา  และฉันไม่พอใจเมื่อทหารถามว่าฉันมีพี่สาวหรือไม่และขอเบอร์โทรศัพท์[101]

ฮารินา ยังกล่าวว่าเพราะความกลัวของเธอ ในปีที่ผ่านมาเธอจึงต้องการย้ายไปเรียนโรงเรียนอื่น แต่ก็ทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะแม่ของเธออยากให้ไปโรงเรียนใกล้บ้าน[102]

แม่คนหนึ่งที่ย้ายลูกสาวออกจากโรงเรียนกล่าวว่า "มันอันตรายต่อเด็กหญิงมากกว่าเด็กชายเพราะเด็กสมัยนี้โตเร็วมากฉันกลัวว่าเด็กหญิงจะตั้งครรภ์กับทหาร[103]พ่อคนหนึ่งของนักเรียนอายุ 9 ปีที่โรงเรียนกล่าวว่า: "ถ้าลูกสาวของฉันเด็กกว่านี้มาก ๆ มันคงไม่เลวร้ายมากนัก แต่ว่าตอนนี้ฉันเป็นห่วง ฉันไม่สบายใจเลยที่ ลูกสาวของฉันล้อมรอบด้วยผู้ชายโดยเฉพาะคนติดอาวุธ  เพราะฉะนั้น ฉันจึงเข้มงวดกับลูกสาวของฉัน เขาจะต้องอยู่ให้ไกล[จากทหาร][104]

มีชาวบ้านจำนวนมากบ่นว่าหน่วยลาดตะเวนสูบและดื่มใบกระท่อม (เครื่องดื่มสมุนไพรยาเสพติด) และกังวลว่าอาจทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีกับนักเรียนและเด็ก ๆ อาจจะถูกล่อลวงให้ลองยา[105]คนท้องที่คนหนึ่งบอกว่า เด็กชั้น ป.6 ที่โรงเรียนได้พยายามทดลองกระท่อมหลังจากเล่นฟุตบอลตอนเย็นกับหน่วยลาดตะเวน[106]

ครูที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านกล่าวว่าตั้งแต่กองกำลังหน่วยลาดตะเวนย้ายเข้ามาการละเล่นของเด็ก ๆ ก็เปลี่ยนไปเป็นเล่นแบบทหารมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เกี่ยวกับปืน BB (ปืนลมชนิดหนึ่ง) เธอบรรยายว่า "มันเหมือนจริงจนน่ากลัว" เมื่อเด็กยึดปืน BB ของเด็กคนอื่น ๆที่ พ่ายแพ้ในเกมมาเป็น"ของ ตนอย่างถูกต้อง" ในลักษณะเดียวกับ ที่พวกกบฏ ยึดปืนจากทหารที่พวกเขาสังหารชีวิตเธอกล่าวต่อว่าพวกหน่วยลาดตะเวนยังคงติดอาวุธในขณะที่เล่นเกมฟุตบอลกับพวกเด็กผู้ชายตอนเย็น   ดังนั้นพวกเด็กผู้ชายก็จะเลียนแบบพฤติกรรมของกองร้อยโดยถือปืน BB ของพวกเขาในขณะที่เล่นฟุตบอล[107]

ผู้ปกครอจำนวนมากย้ายเด็กออกจากโรงเรียนหลังจากที่หน่วยลาดตะเวนมาตั้งฐาน มีคนในแผนกทะเบียนเล่าให้ฟังว่า นักเรียนประมาณ 80 คน ลาออกจากโรงเรียน หลังจากที่หน่วยลาดตระเวนมาตั้งฐาน และขณะนี้เหลือนักเรียนเพียง 90 คน[108] ครูใหญ่ที่โรงเรียน อ้างว่าจำนวนนักเรียนที่น้อยไม่ได้เนื่องมาจากนักเรียนลาออก แต่เนื่องจากมีครัวเรือนในพื้นที่ไม่มากนัก[109]

แม่คนหนึ่งที่ย้ายลูกชายอายุ 7 ปี และลูกสาวอายุ 11 ปีจากโรงเรียนเมื่อทหารเข้ามาตั้งฐานบอกว่า

ฉันไม่มีปัญหาอะไรกับทหาร เมื่อเขาอยู่นอกโรงเรียนก็โอเค แต่เมื่อเขาย้ายเข้าไปในโรงเรียน ฉันกลัวจะมีการโจมตีในโรงเรียน จึงเป็นเหตุผลที่ฉันเอาเด็กของฉันออก  เด็ก ๆมักจะเล่นกับทหารในที่ตั้ง ดังนั้นหากมีการโจมตีในพื้นที่ เด็กๆ จะถูกลูกหลงด้วย ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างโรงเรียนและฐานของทหาร  และนอกเหนือจาก[ความเป็นไปได้]ในการถูกโจมตี, พวกทหารสูบและดื่มกระท่อม และฉันกลัวว่าลูกจะถูกชวนให้ดื่ม  ลูกชายของฉันหัวดื้อมาก เขาชอบที่จะอยู่เล่นกับทหาร  ฉันห้ามเขาหลายครั้งแต่พวกเด็กผู้ชายชอบรวมกลุ่มและไปเที่ยวเล่นกับทหาร เราห้ามเขาแล้ว แต่เขาก็ไม่เชื่อฟัง  ทหารมีลูกอมและเงินแจกพวกเด็ก ๆ จึงชอบเด็กคิดว่าทหารใจดี[110]

แม่อีกคนซึ่งมีบุตรอายุ 7 ปีที่ยังไปโรงเรียนบอกกับ Human Rights Watch  ว่าเธอประสบปัญหาในการลาออก และขอโอนย้ายลูกชาย:

มันไม่ง่าย  โรงเรียนลังเลอย่างมากที่จะปล่อยให้นักเรียนเหล่านี้ลาออกไปเพราะจะลดจำนวนนักเรียนและอาจจะทำให้ต้องปิดโรงเรียน  พวกเขาพยายามถ่วงเวลาเขารับ [คำขอโอนของลูกของฉัน] แต่ไม่ได้ดำเนินการอะไรมาหลายเดือน  เมื่อเราเร่งรัดการขอโอน  ทางผู้บริหารโรงเรียนก็จะไม่ยอมลงนามอนุมัติเขาพยายามพูดกับเด็กเพื่อไม่ให้ย้ายออกไป[111]

เด็กหลายคนที่ย้ายจากโรงเรียนนี้ไปเข้าเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามกับหลักสูตรสองภาษาในหมู่บ้านอื่น ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งชั่วโมงในแต่ละวันเพื่อไปกลับโรงเรียนใหม่[112]

แม่คนหนึ่งพูดกับHuman Rights Watch ว่าถ้ากองกำลังรักษาความปลอดภัยย้ายออกจากบริเวณโรงเรียนเธอจะย้ายลูกกลับมาเรียนที่โรงเรียนเดิม:"ถ้าโรงเรียนนี้มีความปลอดภัย ฉันอยากให้ลูกๆ ของฉันอยู่ที่นี่เพราะใกล้กับฉันและฉันจะได้เห็นลูกๆ ตลอดเวลา  ฉันไม่ต้องจ่ายค่ารถวันละ 10 บาท และใช้เงินจำนวนนี้ซื้อหาสิ่งอื่น ๆได้[113]

คนท้องถิ่นอีกคนสรุปว่า"ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ต้องการมีทหารในหมู่บ้านแต่ควรอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไม่ใช่มาปะปนกับพลเรือนอย่างเช่นในโรงเรียนหรือในสวน  แม้ว่าจะมาที่นี่ด้วยเหตุผลที่ดีก็ตาม[114]

กรณีศึกษา: โรงเรียน ปากาลือเสาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

เมื่อ Human Rights Watch ไปเยี่ยมโรงเรียนปากาลือเสาะ มีกำแพงคอนกรีตพร้อมลวดหนามล้อมรอบโรงเรียน   และมีบัเกอร์กระสอบทรายตั้งขึ้นเป็นจุดตรวจที่ประตูหน้าของโรงเรียนน่วยลาดตะเวน ประมาณ 30 นาย เป็นชายล้วน ตั้งฐานอยู่ในโรงเรียน และตั้งแค้มป์ข้างห้องเรียน[115]กองกำลังรักษาความปลอดภัยอยู่ประจำที่โรงเรียนตั้งแต่พฤศจิกายน ปี  2549  ในเวลานั้นหน่วยปฏิบัติการที่ 24 ปัตตานีตั้งมั่นอยู่ในบริเวณโรงเรียน

หน่วยลาดตะเวน ได้ ลาดตะเวนรอบๆโรงเรียน พร้อมอาวุธ[116]อย่างไรก็ตามผู้กำกับกองกำลังได้ยืนยันกับ Human Rights Watch ว่า: "ผมไม่อนุญาตให้ มีการยิงใด ๆ ในค่ายของเราเพราะจะทำให้เด็ก ๆ ตกใจกลัว  ตั้งแต่ผมมาเป็นผู้กำกับที่นี่ ไม่มีการยิงปืนในค่ายเแม้แต่นัดเดียวในขณะที่เด็กอยู่ที่นี่[117]

หลังจากที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยย้ายเข้ามา นักเรียนก็เริ่มย้ายออกจากโรงเรียน แต่เดิมมีนักเรียนมากกว่า 220 คน แต่ในเดือนมีนาคม ปี2550 มีนักเรียนเพียงสองคนเท่านั้น[118]เนื่องจากจำนวนนักเรียนลดลงอย่างรวดเร็วแม้ว่าจะมีคุณครูสอนอยู่เป็นประจำ ในที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดจึงได้สั่งปิดโรงเรียนลงสำหรับภาคการศึกษาในปี 2550[119]โรงเรียนเปิดอีกครั้งใน วันที่ 23 พฤษภาคม 2551มีนักเรียนประมาณ 60 คนไปโรงเรียน[120]เมื่อมีการเปิดใหม่ คนในพื้นที่คาดว่าจำนวนนักเรียนปัจจุบันมีประมาณ 60 คน  แต่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในโรงเรียนบอก Human Rights Watch ว่าจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 90คน[121]

มีผู้ให้สัมภาษณ์กับ  Human Rights Watch ถึงสาเหตุของการอพยพของนักเรียนสองประการด้วยกัน

ผู้ปกครอง ซึ่งHuman Rights Watch สามารถสัมภาษณ์ได้เป็นกลุ่มเท่านั้น ไม่ใช่การสัมภาษณ์ส่วนตัวแบบปกติของเราบอกกับองค์กรสิทธิมนุษยชนว่าพวกเขาเอาเด็กออก (จากโรงเรียน) เพราะว่าเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยนับแต่กองกำลังทหารของรัฐเข้ามา  แม่คนหนึ่งซึ่งมีลูกสี่คนบอกHuman Rights Watch ว่า เธอได้ย้ายสองคนไปโรงเรียนรัฐบาลในหมู่บ้านอื่นและอีกสองคนส่งไปยังโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม "เพราะที่โรงเรียนนี้มีทหารและฉันไม่ต้องการให้ลูก ๆ ของฉัน เรียนในที่ที่มีทหารฉันกลัวว่าการมีทหารจะเป็นการนำปัญหาเข้ามาสู่โรงเรียนและจะส่งผลกระทบกับเด็ก ๆ รวมทั้งความรุนแรง[122]

คุณยายของเด็ก ในวัยเรียน 6 คน กล่าวกับHuman Rights Watch ว่าเด็กทั้งหมดถูกย้ายจากโรงเรียนในท้องถิ่นไปยังโรงเรียนอื่น "เพราะหลานของฉันกลัวทหาร"[123]

อย่างไรก็ตามสมาชิกของกองกำลังรักษาความปลอดภัยรัฐบาล มองต่างมุมโดยให้ความเห็นว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบท้องถิ่นพยายามกดดันให้พ่อแม่เอาเด็กออกจากโรงเรียนแหล่งข่าวทางทหารท้องถิ่นบอกกับ Human Rights Watch ว่า ผู้ปกครองเล่าว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบบอกไม่ให้ส่งเด็กไปโรงเรียนนี้เพื่อประท้วงการที่ทหารเข้ามาตั้งฐานในบริเวณโรงเรียนและพ่อแม่กลัวเป็นอันตรายต่อครอบครัวหากฝ่าฝืนต่อต้านกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ[124]

ผู้กำกับหน่วยลาดตะเวนที่ตั้งฐานอยู่ในโรงเรียนซึ่งอยู่มาสองปีแล้วกล่าวว่า พวกกลุ่มก่อความไม่สงบติดอาวุธรวมทั้งบุคคลที่มีประวัติจากการฆ่าคนได้เข้าไปเยื่ยมครอบครัวที่มีลูกเรียนอย่ในโรงเรียนในเวลากลางคืน และอธิบายถึงความกดดันด้วยความเห็นที่แตกต่างว่า

กลุ่มก่อความไม่สงบไม่ต้องการให้มีการศึกษาของภาครัฐสำหรับชาวบ้าน การศึกษาที่สามารถรับได้คือการศึกษาอิสลาม เท่านั้น...ผู้ปกครองถูกกดดันจากพวกกลุ่มก่อความไม่สงบซึ่งกล่าวโทษผู้ปกครองว่าได้เอาเด็กออกจากเส้นทางของศาสนาอิสลามเพราะเด็กไปโรงเรียนรัฐบาล พวกกลุ่มก่อความไม่สงบต้องการให้โรงเรียนอิสลามเป็นแหล่งการศึกษาเดียวเท่านั้น.[125]

อย่างไรก็ตามมีความขัดแย้งกันในสิ่งที่พวกกลุ่มก่อความไม่สงบทำกับสิ่งที่ผู้กำกับหน่วยลาดตระเวนอ้าง อันที่จริง ผู้ปกครองหลายคนให้สัมภาษณ์ กับHuman Rights Watch ว่าเอาเด็กออกจากโรงเรียนรัฐบาลท้องถิ่น และย้ายเด็กไปเรียนที่โรงเรียนรัฐบาลอื่นในหมู่บ้านใกล้เคียงและไม่เคยย้ายไปเรียนโรงเรียนปอเนาะหรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

แหล่งข่าวจากกองทัพในพื้นที่ ซึ่งมีหน้าที่ติดตามสถานการณ์ ได้กล่าวกับHuman Rights Watch ว่า โรงเรียนที่ผู้ปกครองย้ายบุตรหลานไปเรียนมาก ๆ จะได้รับผลกระทบอย่างหนักเพราะโรงเรียนนั้น ๆ มีอาคารเรียนเพียงหนึ่งหลัง และไม่มีห้องเรียนเพียงพอที่จะรองรับการเพิ่มขึ้นของนักเรียนอย่างกระทันหัน ซึ่งมีมากถึงเกือบร้อยละ 50 นักเรียนแต่ละชั้นต้องผลัดกันใช้ห้องเรียนและห้องสมุดต้องถูกดัดแปลงเป็นห้องเรียนต้องจัดสรรงบประมาณใหม่เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนทุกคนจะมีอาหารกลางวันกิน [126]

พ่อคนหนึ่งที่ลูกสาวเข้าเรียนชั้น ป.1 ที่โรงเรียนในท้องถิ่นบอกกับ Human Rights Watch ว่าเขาไม่ได้ส่งเธอไปโรงเรียนรัฐบาลในหมู่บ้านใกล้เคียงเช่นเดียวกับผู้ปกครองคนอื่น ๆ เพราะ"มันไกลประมาณหนึ่งกิโลเมตรครึ่งจากที่บ้านและลูกสาวของผมคิดว่ามันไกลเกินไป[127]เขาเล่าต่อว่าแต่"จะดีที่สุดหากทหารย้ายออก แต่ชาวบ้าน [ไม่สามารถ] พูดอย่างนั้นได้อีกต่อไป[128]

ผู้ปกครองอีกคนหนึ่ง มีบุตร 4 คนเรียนอย่ที่โรงเรียนรัฐบาลในหมู่บ้านใกล้เคียงบอกกับHuman Rights Watch อย่างกระตือรือร้นว่า: "ถ้าทหารย้ายออก ผมจะนำลูกกลับไปเรียนที่โรงเรียนนี้เพราะอยู่ใกล้กับบ้านของผม ผมไม่ต้องการให้เด็กได้เรียนไปพร้อม ๆ กับการที่มีทหารในโรงเรียน... แน่นอนว่าถ้าทหารย้ายออกเด็กของผมจะเรียนในหมู่บ้านนี้[129]

ชาวบ้านยังร้องเรียนเกี่ยวกับการดูถูกและความประพฤติที่ไม่สมควรของทหารที่โรงเรียน บางคนบอกว่าทหารเมาบ้าง เลี้ยงสุนัขบ้าง (ซึ่งเป็นสิ่งไม่สะอาดของคนมุสลิม) และนำหญิงไปยังบริเวณโรงเรียนบ้าง[130]แม้จะยอมรับว่ามีการประพฤติตัวไม่เหมาะสมแต่ ผู้กำกับหน่วยลาดตระเวนกล่าวว่า พวกนั้นไม่ใช่คนจากหน่วยของเขา แต่เป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยเฉพาะกิจที่ 24 ปัตตานีที่เป็นปัญหา (ซึ่งตั้งฐานอยู่ที่โรงเรียนระหว่างการปิดเทอมครั้งที่แล้ว) "แต่ชาวบ้านไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้"เขากล่าว เขาบอก Human Rights Watch ว่าเขาร้องเรียนไปยังผ้บังคับการกองพันของหน่วยที่ 24 แล้ว

แม้จะมีปัญหาการลดลงของจำนวนนักเรียนอย่างมากที่โรงเรียนนี้ ผู้กำกับยังคงกังวลถึงบทบาทของหน่วยของเขา ว่าสามารถสร้างความสำเร็จได้บ้าง เขากล่าวว่าคนของเขาได้สร้างบ่อปลาใหม่ฟาร์มเห็ดและ มีคอมพิวเตอร์ใหม่ 10 เครื่อง,มีการอบรม ลูกเสือหญิง และลูกเสือชาย (หน่วยลาดตระเวนหญิงฝึกอบรมเด็กหญิง) เล่นฟุตบอลกับเด็ก ๆ และจัดการท่องเที่ยวเพื่อให้นักเรียน ได้พบเห็นพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย[131]

เขาอธิบายถึงความพยายามที่จะทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่เปิดให้มากที่สุด รวมทั้งการเอาสิ่งกีดขวางซึ่งเขียนว่า เขตทหาร ห้ามเข้า ออกและอนุญาให้ให้ชาวบ้านที่เขาไว้ใจ เข้ามาในค่ายทหารได้.[132]

 

วิธีการครอบครองพื้นที่

ทั้งกองทัพไทยและหน่วยลาดตระเวน ได้เข้าครอบครองโรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้  กองกำลังรักษาความปลอดภัยเข้าครอบครองโรงเรียนรัฐบาลเกือบทั้งหมด อย่างไรก็ตาม Human Rights Watch ได้ไปเยี่ยมปอเนาะแห่งหนึ่งซึ่งทหารได้จัดตั้งค่าย แต่ก็ไม่สามารถสังเกตุการณ์ว่ายังมีชั้นเรียนเปิดสอนอยู่ตามปกติหรือไม่[133]

กองกำลังรักษาความปลอดภัยสร้างที่มั่นในอาคารเรียนหรือในบริเวณโรงเรียนในขณะที่โรงเรียนก็พยายามดำเนินการเรียนการสอนในส่วนที่เหลือของอาคารหรือบริเวณอื่น[134]

การครอบครองโรงเรียนเหล่านี้แตกต่างจากเหตุการณ์ที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยได้มีฐานปฏิบัติการภายในโรงเรียน  เพื่อรับมือกับภัยคุกคามโดยตรงต่อโรงเรียนแห่งใดแห่งหนึ่งตัวอย่างเช่นเมื่อ Human Rights Watch ไปที่โรงเรียนประถมศึกษาบ้านบาโงในอำเภอมายอปัตตานีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2553ห้าวันหลังจากโรงเรียนถูกโจมตีและถูกเผาบางส่วนโดยผู้ต้องสงสัยกลุ่มก่อความไม่สงบ  หน่วยลาดตะเวนกลุ่มเล็ก ๆ ได้ประจำอยู่ในห้องเรียนของโรงเรียนทั้งคืนเพื่อรักษาความปลอดภัยให้โรงเรียนในช่วงการโจมตีครั้งนั้น ทำนองเดียวกันเมื่อ Human Rights Watch ไปที่โรงเรียนบ้านทุ่งคาในเขตอำเภอเมืองยะลาเพียงเจ็ดวันหลังจากการโจมตีโรงเรียน มีหน่วยกองกำลังที่ 11 จากยะลา, ทหารราบจากจังหวัด สงขลา  เข้ามาตั้งฐานชั่วคราวที่โรงเรียน[135]ตัวอย่างของกองกำลังรักษาความปลอดภัยที่เข้าไปตั้งฐานในเขตโรงเรียนในเวลาจำกัดเพื่อเตรียมรับภัยคุกคามโดยเฉพาะเจาะจง  สร้างปัญหาน้อยกว่าการที่โรงเรียนถูกทหารใช้เป็นฐานที่มั่นโดยไม่มีกำหนดด้วยเหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการคุกคามอย่างไรก็ดีแม้การครอบครองพื้นที่ของทหารจะกระทำเพื่อเตรียมรับสถานการณ์เฉพาะ  แต่ก็ทำให้การศึกษาของเด็กหยุดชะงัก และควรจะดำเนินการในลักษณะที่ช่วยลดความเสี่ยงทางกายภาพให้กับนักเรียนและครู  และขัดขวางการเรียนการสอนน้อยที่สุด

อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ ที่Human Rights Watch ได้ไปตรวจสอบสถานที่  ที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ตั้งทางทหาร มากกว่าเพื่อเตรียมรับการคุกคามโดยเฉพาะนั้น   พบว่ามีการใช้และครอบครองพื้นที่โรงเรียนมากกว่า 1 ปี ที่โรงเรียนประถมศึกษาโกกตาโหนด อำเภอหนองจิกปัตตานี ซึ่งกองทัพเข้าไปตั้งค่ายในปี

2550  ปรากฏว่าในปี2551หน่วยลาดตะเวนได้เข้ามาแทนที่ทหาร  จนถึงเดือนมีนาคม 2553หน่วยทหารประมาณ 30 นายก็ยังคงอยู่ในค่ายร่วมกับโรงเรียนในสนามเด็กเล่นและพื้นที่นันทนาการของโรงเรียน.[136]บริเวณโรงเรียนประถมศึกษาบ้านลาอา ในอำเภอไทรบุรีปัตตานีเป็นอีกแห่งหนึ่งที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยเข้าครอบครองพื้นที่บางส่วนตั้งแต่ปี2551[137] ส่วนที่โรงเรียนบาโกยือแปง ใน กะรือบิ  อำเภอกะปอ, ปัตตานีนั้นหน่วยลาดตระเวนเข้ามาอยู่ที่โรงเรียนตั้งแต่ปี 2551ก่อนที่กองทัพจะเข้ามา[138]ที่โรงเรียนประถมศึกษา บ้านกรือเซะ อำเภอเมืองกองกำลังรักษาความปลอดภัยได้เข้ามาใช้พื้นที่นานประมาณ 3 ปีจนถึงช่วงที่ Human Rights Watch เข้าไปเยี่ยม โดยมีทหารประจำอยู่ 50 นาย.[139]กองกำลังรักษาความปลอดภัยได้ตั้งฐานอยู่ที่โรงเรียนบ้านคลองมานิงปัตตานีเกือบจะต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2548 153 อีกกรณีหนึ่งนั้นหน่วยลาดตระเวน ไปตั้งค่ายที่โรงเรียนประถมศึกษา บ้านปากาชิเนาะ ในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ตั้งแต่พฤศจิกายน ปี 2550 [140]

หลังจากกองกำลังรักษาความปลอดภัยย้ายเข้าไปที่โรงเรียน พวกเขาก็ทำให้โรงเรียนกลายเป็นค่ายทหาร และสร้างเครื่องกำบัง  ตัวอย่างเช่น ที่โรงเรียนบ้านลาอะ  พวกทหารนำถุงทรายมาวางไว้บนกำแพงคอนกรีตรอบโรงเรียนและหน่วยลาดตะเวนก็ถืออาวุธณะอยู่ภายในบริเวณโรงเรียนด้วย[141]  ที่โรงเรียนปากาลือเซาะมีลวดหนามติดอยู่บนกำแพงคอนกรีตรอบโรงเรียน และยังมีกระสอบทราย ตั้งเป็นป้อมจุดตรวจอยู่ที่ประตูใหญ่ของโรงเรียนด้วย.[142]และที่โรงเรียนประถมศึกษาบ้านปากาชิเนาะในอำเภอหนองจิก, ปัตตานี, หน่วยลาดตะเวนได้สร้างหอสังเกตุการณ์ 2 แห่งในบริเวณโรงเรียน (ดูรูปที่ 3)

มีสองกรณีซึ่งHuman Rights Watch ไปสอบสวนเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่รัฐบาลนำมาใช้  เราได้พบว่ามีการจำกัดบุคคลที่จะเข้าไปในโรงเรียนรวมถึงการไม่อนุญาตให้ผู้ปกครองเข้ามาในบริเวณโรงเรียนด้วย [143]

รูปที่ 3 กองอาสาสมัครทหารพราน ได้สร้าหอสังเกตุการณ์ 2 แห่งไว้ที่ฐานที่พวกเขาสร้างขึ้น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 ภายในพื้นที่ของโรงเรียนประถมศึกษา บ้านปากาชิเนาะ ปัตตานี  © 2010 David Hogsholt/Reportage by Getty Images

สำหรับโรงเรียนที่ Human Rights Watch ไปเยี่ยมนั้น ชุมชนรอบๆ บอกว่า ไม่มีใครมาปรึกษากับชุมชน เกี่ยวกับการจัดตั้งค่ายทหารในโรงเรียนของพวกเขาเลย  ที่โรงเรียนประถมศึกษาบ้านลาอะ นเขตอำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานีนั้น ช่วงแรกชาวบ้านต่อต้านการมาตั้งฐานของหน่วยลาดตะเวนในโรงเรียนเพราะพวกเขาได้ยินมาว่าหน่วยลาดตะเวนมักจะประพฤติไม่ดี เมื่อหน่วยลาดตะเวนเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการที่โรงเรียน  ชาวบ้านบางคนเป็นกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของนักเรียน โดยกลัวว่าพวกกลุ่มก่อความไม่สงบจะโจมตีโดยใช้โรงเรียนเป็นเป้าหมายและนักเรียนก็จะติดอยู่ในพื้นที่ที่มีการยิงกัน[144]พวกครูก็ไม่พอใจกับการมีทหาร ชาวบ้าน 110 คนลงนามในคำร้องคัดค้านการมีหน่วยลาดตะเวนในบริเวณโรงเรียน ปรากฏว่าในเวลาต่อมาหน่วยลาดตะเวนได้ทำงานหนักเพื่อพิสูจน์ว่ามีวินัยดี มีความอ่อนโยน และได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้านในท้องถิ่น พวกเขาได้ทำงานในโครงการพัฒนาต่างๆทำให้มีการสร้างถาวรวัตถุใหม่ การให้บริการและการจ้างงานในชุมชนรอบโรงเรียน หลังจากหน่วยลาดตะเวนเข้ามาตั้งค่ายเป็นเวลาสามเดือนมีการสร้างกำแพงคอนกรีตรอบโรงเรียนโดยว่าจ้างชาวบ้านให้เป็นผู้สร้าง ถึงแม้หน่วยลาดตระเวนจะบอกว่ากำแพงจะป้องกันเด็กไม่ให้วิ่งไปที่ถนน  แต่กำแพงสูงทึบก็ยังช่วยเป็นที่กำบังให้กองกำลังด้วยเช่นกัน.[145]

เมื่อเวลาผ่านไป ชาวบ้านที่เคยต่อต้านการมาของทหารก็ไม่เอ่ยว่าไม่เห็นด้วยอีกทุกคนเริ่มที่จะปิดปาก เกี่ยวกับการไม่เห็นด้วยและตอนนี้ก็คือทั้งหมดเงียบสงบและไม่มีใครอยากพูดถึงมันอีกต่อไป.”[146]ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบโรงเรียนกล่าวว่าหน่วยลาดตะเวนสามารถเอาชนะผู้คัดค้านในท้องถิ่นเพราะผู้บังคับบัญชา (ผู้กำกับ) ได้เสนอความช่วยเหลือในเรื่องการพัฒนาและยังได้ยืนยันว่ากองกำลังของเขาจะไม่ดื่มแอลกอฮอล์และติดต่อกับผู้หญิงในชุมชน[147]อย่างไรก็ตามความเคารพต่อชุมชน ของหน่วยลาดตะเวนหน่วยนี้  ไม่ได้ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในท้องถิ่นของเด็กที่โรงเรียนลดน้อยลง ชาวบ้านคนหนึ่งในพื้นที่บอกกับ Human Rights Watchว่าคนจำนวนมากยังคงกลัว "แต่ก็ไม่มีทางเลือก เรากำลังกลัวว่าจะมีการโจมตี  แต่หวังว่าพระเจ้าจะดลบันดาลไม่ให้เกิดขึ้น[148]

แรงจูงใจของการครอบครองพื้นที่

ผ้ว่าราชการจังหวัดยะลานายกฤษดา บุญราช กล่าวว่ากองกำลังรักษาความปลอดภัยมีเหตุผลและกลยุทธ์ชัดเจน ในการตั้งฐานในโรงเรียน:

โรงเรียนมักจะมีการป้องกันที่ดีขึ้นเช่น มีรั้วและเป็นการง่ายขึ้นที่จะทำการเฝ้าระวังจากด้านบนของโรงเรียน มันจะเสี่ยงมากกว่า ถ้าจะตั้งป้อมยาม โดยมีหน่วยลาดตะเวนหรือทหารในอาณาบริเวณของหมู่บ้าน ดังนั้น เขาจึงตั้งฐานไว้ภายในโรงเรียนกลางหมู่บ้าน การตั้งฐานด้านนอก จะทำให้กองกำลังมีช่องโหว่ให้พวกกลุ่มก่อความไม่สงบโจมตีเพราะว่าอยู่ในที่โล่ง [149]

นายกฤษดากล่าวเสริมว่าแม้ว่าจะมีข้อได้เปรียบเหล่านี้"แต่ไม่จำเป็นต้องมีกองกำลังรักษาความปลอดภัยแบบนี้มาประจำอยู่ในโรงเรียน.[150]

ผู้กำกับหน่วยลาดตะเวนกล่าวว่ารัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยของเขาที่โรงเรียนใน ปากาลือเซาะเพื่อเป็นจุดบริการเชุมชนและโรงเรียน "เป้าหมายของหน่วยอย่างผม ก็เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีความสงบสุขในชุมชน มันเป็นการทำงานควบคู่กัน  ในขณะที่หน่วยที่ 24 [ปัตตานี] เป็นหน่วยที่สร้างความกดดัน  หน่วยของเรามาที่นี่เพื่อนำเสนอทางแก้ไขมาให้เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้คน[151]เขากล่าวว่า  กองทัพมาอยู่ที่โรงเรียนเพื่อให้ความมั่นใจกับครู ในการสอน และทำให้รู้สึกปลอดภัย พวกครูกลัวที่จะเดินทางไปยังพื้นที่นี้และทำงานที่นี่[152]เขายังพูดอย่างชัดเจนด้วยว่าพวกเขาไม่ได้มาอยู่ที่นั่นเพื่อโต้ตอบการคุกคามจากกลุ่มก่อความไม่สงบต่ออาคารเรียน[153]

ครูท้องถิ่นกล่าวว่าเขารู้สึกว่าโรงเรียนบ้านลาอได้ถูกครอบครองเนื่องจากคนในหมู่บ้านเรียกเขตนี้ว่า "พื้นที่สีแดง"  ซึ่งเป็นศัพท์ทหาร มันแสดงว่าเป็นพื้นที่ที่มีกลุ่มก่อความไม่สงบและผู้สนับสนุนอยู่เป็นจำนวนมาก  “หมู่บ้าน ถูกขึ้นบัญชีว่าเป็นสีแดงเข้ม และทหารมีแผนการนขณะนั้นเพื่อเจาะและสร้างฐานในแต่ละ'พื้นที่สีแดง' เป็นกลยุทธ์การต่อต้านการก่อความไม่สงบ "ครูกล่าว.[154]ไม่มีใครในสามคนที่พูดกับHuman Rights Watch กล่าวว่าการมาของกองกำลังรักษาความปลอดภัยเป็นการตอบโต้โดยตรงต่อกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่[155]

ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อการศึกษา

ดังที่แสดงในตัวอย่างข้างต้น การที่กองทัพและกองกำลังอาสาสมัครเข้าไปครอบครองในบริเวณโรงเรียนจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนของเด็ก

ในโรงเรียนซึ่ง Human Right Watchได้เข้าไปเยี่ยม แทบจะไม่มีการสอบถามความคิดเห็นของชุมชนโดยรอบ เกี่ยวกับการตั้งค่ายทหารในบริเวณโรงเรียนดังกล่าว

นักเรียนและครูอาจกลัวและกังวลกับการโจมตีที่อาจจะเกิดขึ้นรวมทั้งความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการล่วงละเมิดทางเพศกับนักเรียนซึ่งทำให้เด็กลาออกจากโรงเรียนไป ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความยากลำบากในการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่ยังคงอยู่จำนวนนักเรียนที่ลาออกเพิ่มสูงขึ้นและการขอย้ายโรงเรียนนั้นทำให้เกิดความแออัดในโรงเรียนที่รับนักเรียนเข้าเรียน และการที่จะให้นักเรียนเดินทางไปเรียนยังโรงเรียนเอกชน ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องคิดต่อไปและมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไปยิ่งกว่านั้นพฤติกรรมของผู้ถืออาวุธซึ่งอยู่ภายในโรงเรียนเช่น การเล่นการพนัน การดื่มแอลกอฮอล์และใช้ยาเสพย์ติดล้วนเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

5. การเข้าโจมตีโรงเรียนรัฐบาลของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ

ช่วงเดือนมกราคม 2004 โรงเรียนรัฐบาลจำนวน 20 แห่งถูกวางเพลิงภายในคืนเดียว พร้อมกับการเข้าโจมตีค่ายทหารและสถานีตำรวจ 3 แห่ง เหตุการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายของการหวนกลับมาของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดนในบริเวณชายแดนภาคใต้ของไทย กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจะเลือกโรงเรียนเป้าหมายที่มีความเป็นสัญลักษณ์สูง ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ของทางราชการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเป็นสัญลักษณ์ของระบบการศึกษาไทย ซึ่งกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเห็นว่าเป็นเครื่องมือทำลายความเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติมาเลย์มุสลิม

นับแต่ปีที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ก่อเหตุวางเพลิงเผาโรงเรียนรัฐ เกิดเหตุลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนอย่างน้อย 327 ครั้ง ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2547 จนถึงต้นเดือนกันยายน 2553.[156]แม้ว่าการโจมตีโรงเรียนของรัฐดังกล่าวคือการบ่งบอกการเปิดตัวการสร้างสถานการณ์ซึ่งก็ยังคงดำเนินอยู่มาจนถึงปัจจุบัน แต่จำนวนของโรงเรียนที่ถูกลอบวางเพลิงก็ลดจำนวนลงตั้งแต่ปี 2550  ซึ่งการลดลงของการโจมตีดังกล่าวเป็นผลมาจากมาตรการรักษาความปลอดภัยในช่วงกลางคืน ซึ่งมีการเฝ้าระวังโดยรอบ  รวมทั้งการที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมีรูปแบบการโจมตีไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก

การโจมตีโรงเรียนทางกายภาพส่วนมากจะใช้วิธีการลอบวางเพลิง แต่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบก็ยังใช้ระเบิดมือ,  ระเบิดแสวงเครื่อง(IED) และระเบิดเพลิงด้วยเช่นกัน ระเบิดเหล่านี้มักใช้เพื่อโจมตีเป้าหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าซึ่งเป็นกองกำลังรักษาความปลอดภัยที่มีการตั้งฐานอยู่ในโรงเรียน กองกำลังที่อารักขาครูหรือกองกำลังที่คุ้มครองโรงเรียน บางครั้งการใช้ระเบิดได้ก่อความเสียหายกับโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียนและเป็นสาเหตุให้เกิดความหวาดกลัวโดยทั่วไป

การที่โรงเรียนถูกทำลายทำให้นักเรียนและคนในพื้นที่เกิดความหวาดกลัวและเป็นห่วงในความปลอดภัยของเด็กและคนในชุมชน การสูญเสียอาคารเรียนยังส่งผลกระทบต่อความสามารถของเด็กในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ

เนื่องจากความรุนแรงในบริเวณชายแดนภาคใต้ของไทยมีการนำอาวุธมาใช้  ดังนั้นจึงต้องนำกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเข้ามาใช้ ภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศโรงเรียนและสถาบันการศึกษาจะได้รับความคุ้มครองจากการถูกโจมตีในฐานะพลเรือน  โดยอาจถูกโจมตีได้ในกรณีที่ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารและเฉพาะในช่วงเวลานั้นเท่านั้น[157]ดังนั้นโดยปกติแล้วโรงเรียนจะถูกลเว้นจากการโจมตี  ยกเว้นในกรณีที่มีกองกำลังรักษาความปลอดภัยอยู่[158]ในกรณีที่สงสัยว่าอาคารเรียนจะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารด้วยวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองพลเรีอน[159]

กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านบาโง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

เมื่อHuman Rights Watch ได้เข้าเยี่ยมโรงเรียนประถมศึกษาบ้านบาโง ในอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2553 เราพบว่าห้องสมุดยังมีสภาพครุกรุ่นจากการถูกเผาเมื่อห้าวันก่อนหน้านี้ (ดูรูปที่ 4)

เวลาประมาณสามทุ่มของวันที่ 19 มีนาคม 2010  ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของภาคการศึกษา กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบซึ่งปกคลุมใบหน้าพร้อมกับพกอาวุธปืนประมาณ 15 คนได้บุกเข้ามาในโรงเรียน ซึ่งมีอาสาสมัครคุ้มครองหมู่บ้านจำนวน 5 คนทำการป้องกันโรงเรียนอยู่ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเข้าโจมตีอาสาสมัครคุ้มครองหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีอาวุธป้องกันตัวเพียงปืนลูกซอง 1 กระบอก และทำการจับตัวอาสาสมัครทั้ง 5 คนมัดไว้ที่บริเวณมุมหนึ่งของโรงเรียน ส่วนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มที่สอง ได้พังเข้าไปในห้องเรียนพร้อมทั้งราดน้ำมันเบนซิน และ จุดไฟเผาทั้งห้องสมุดและห้องเรียนชั้นอนุบาล โดยใช้หนังสือเรียนและที่นอนของเด็กเป็นเชื้อเพลิง หลังจากที่พวกเขาจุดไฟเผาเรียบร้อยแล้วก็ยิงปืนขึ้นฟ้า เปลวเพลิงเริ่มกระจายจากชั้นอนุบาลไปที่ห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และลามไปถึงห้องสมุดซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียง กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบพยายามจะเผาห้องเรียนอื่น แต่ไม่สำเร็จ[160]

ครูหลายคนในโรงเรียนกล่าวว่าการโจมตีเกิดขึ้นโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้าใดๆ  โรงเรียนได้ประมาณการความเสียหายซึ่งเกิดกับโครงสร้างอาคารเรียนไว้ว่ามีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 600,000 บาท (US $ 18,500)[161]

ครูคนหนึ่งจำได้ว่า หน่วยงานฉุกเฉินท้องถิ่นก็ลังเลที่จะเข้ามาช่วยเหลือ เพราะเกรงว่าอาจจะถูกโจมตีจากผู้ก่อความไม่สงบ

ผมอยู่ที่บ้านและได้ยินเสียงปืนสองนัดและเมื่อออกมาจากบ้านก็พบว่าอาคารเรียนถูกไฟไหม้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ บอกว่า อย่าเข้าไปในบริเวณพื้นที่เกิดเหตุเนื่องจากคาดว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยังอยู่ในบริเวณนั้น และคุณอาจจะถูกทำร้ายผมได้เรียกรถดับเพลิง ทหารและตำรวจ แต่ไม่มีใครมา เพราะกลัวว่าจะเกิดการโจมตีรอบสองหรือมีการดักซุ่มบริเวณข้างทาง”
เขากล่าวว่าการโจมตีของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมีการวางแผนที่จะเผาอาคารสถานที่เพื่อหลอกล่อให้กองกำลังรักษาความปลอดภัยเข้ามาในพื้นที่  “พวกเขาพูดกันแบบนี้ทางโทรศัพท์และผมก็พยายามที่จะติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐทางวิทยุด้วย” ต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงเพื่อโน้มน้าวให้มา  ถึงตอนนั้นห้องสมุดและห้องดูแลเด็กของโรงเรียนถูกเผาไปแล้ว และหลังคาก็เริ่มยุบตัวลงมา [162]

ในการบรรยายถึงความรู้สึกที่ได้รับจากการถูกโจมตี ครูคนหนึ่งกล่าวว่าพวกเขารู้สึกตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก แต่ถ้าพวกเราหนีไปเด็กก็จะไม่มีครู[163]

รูปที่ 4  กองหนังสือที่ไหม้เกรียมในห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา บ้านบาโง ปัตตานี  5 วันหลังจากที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบวางเพลิงที่โรงเรียน เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2553© 2010 Bede Sheppard/Human Rights Watch

กรณีศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาบ้านปายอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

เย็นของวันที่ 1 มกราคม 2553 โรงเรียนประถมศึกษาบ้านปายอซึ่งอยู่ในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ได้ถูกลอบวางเพลิงสองครั้ง ครั้งแรกเกิดในช่วงเวลาประมาณ 2 ทุ่ม นายอำเภอ กับชาวบ้านได้ช่วยกันดับไฟไวได้[164]หลังจากนั้นเวลาประมาณตี 3 ของวันรุ่งขึ้นก็โดนโจมตีเป็นครั้งที่สอง โดยเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้หนึ่งในอาคารสองหลังของโรงเรียนถูกเผาจนวอดวาย.[165]

เด็กชายฮาเซ เด็กนักเรียนวัย 7 ปี เป็นผู้เห็นเปลวไฟคนแรกได้บอกว่า

“ผมกำลังทานอาหารเย็น และอยู่ๆ ก็เห็นควันไฟ แม่ของผมรีบไปที่โรงเรียน เพื่อบอกให้ภารโรงรู้ ส่วนผมก็รีบไปสำรวจบ้านบริเวณใกล้เคียงเพราะกลัวว่าไฟจะลุกลาม ผมเห็นเปลวงเพลิงสีแดงฉาน และโรงเรียนก็กลายเป็นสีแดง[166]

อาคารสองชั้นซึ่งเป็นห้องเรียนสำหรับเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลและชั้นประถม 1 ถึง ประถม 6[167]ถูกเผาราบคาบ นอกจากนั้นอาคารดังกล่าวยังเป็นที่ตั้งของห้องพักครูซึ่งมีทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนอื่นๆ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนประกาศยกเลิกการเฉลิมฉลองวันเด็กที่กำลังจะมีขึ้นในวันเสาร์และประกาศงดการเรียนการสอนชั่วคราวจนกว่าจะสามารถหายืมสื่อการสอนจากโรงเรียนใกล้เคียงได้

ฮาเซบอกว่า “เราต้องเรียนกันข้างนอกห้องเรียน ผมไม่ชอบแบบนี้เลยเพราะมันทั้งร้อนและเสียงดัง ทำให้ผมไม่มีสมาธิที่จะเรียน” [168]

ฮารงค์อายุ 10 ปี ไม่มาโรงเรียนเป็นเวลาสามวันหลังจากเกิดเหตุการณ์ลอบวางเพลิง โดยกลัวว่าจะถูกทำโทษเพราะทำหนังสือหายไปในเปลวเพลิง ผมกลัวว่าครูจะลงโทษที่ไม่มีหนังสือมาเรียน เพราะผมเก็บหนังสือไว้ในห้องเรียน โดยที่เพื่อนบางคนของผมเขาเอาหนังสือกลับบ้าน.”[169]

ฉิมพลีอายุ 10 ปี ซึ่งเห็นเปลวเพลิงพร้อมกับเพื่อนบอกว่า “หนูรู้สึกเศร้าเพราะที่นั่นมีเครื่องคอมพิวเตอร์และหนูก็เสียใจมากที่มันถูกเผา หนูชอบคอมพิวเตอร์ หนูชอบเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์[170]

ผมเสียใจที่เสียหนังสือและคอมพิวเตอร์ไปเพราะผมชอบอ่านหนังสือ ฮาเซบอกกับ Human Rights Watchตอนนี้เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียง 5 เครื่องทั้งๆ ที่เคยมีถึง 22 เครื่อง ทหารได้จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ 5 เครื่องให้เพื่อทดแทนของเก่า ตอนนี้เราถูกจำกัดเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งจะใช้ได้เฉพาะในเวลาเรียนเท่านั้น ไม่สามารถเล่นนอกเวลาเรียนได้[171]

อฟรีนาวัย 9 ปี ได้บอกกับHuman Rights Watchว่าเธอรู้สึกเสียใจกับการที่โรงเรียนถูกทำลาย [172]

Human Rights Watchไม่สามารถระบุชัดเจนว่าการโจมตีทั้งสองครั้งนั้นกระทำโดยสมาชิกของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ระยะเวลาของการลอบโจมตีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้อาคารใหม่สองหลังซึ่งใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ ถูกทำลาย โดยมีความสงสัยว่าแรงจูงใจในการก่อเหตุดังกล่าวอาจมาจากการเผาเพื่อผลประโยชน์อื่นๆ  ความจริงแล้วอาคารใหม่หลังดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร เนื่องจากถูกวางเพลิงเมื่อสองปีก่อน ชาวบ้านท้องที่คนหนึ่ง ซึ่งบอกว่าตัวเองเป็นกึ่งผู้ก่อความไม่สงบได้ให้สัมภาษณ์ว่า “อาจมีผลประโยชน์ทางธุรกิจอยู่เบื้องหลังการลอบวางเพลิงดังกล่าว” เขาคิดว่ามันไม่น่าจะเป็นการโจมตีของกลุ่มก่อความไม่สงบ เนื่องจากในบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยของพวกนี้และมีลูกๆ ซึ่งไปโรงเรียนที่นั่น ดังนั้นพวกนี้จึงไม่น่าจะทำอะไรที่จะส่งผลต่อลูกๆ ของเขา[173]นอกจากนั้นเขายังให้มุมมองที่แตกต่าง เกี่ยวกับการทำลายทรัพย์สินของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบว่า  “สำหรับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ  พวกเราไม่คิดที่จะเผาโรงเรียนหรือสถานีอนามัย เพราะสถานที่ดังกล่าวมีปัจจัยสนับสนุนมากมาย และถ้าเราสามารถควบคุมสถานที่ได้เมื่อไหร่ เราก็ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ซึ่งพร้อมใช้งาน ดังนั้นเราจะไม่โจมตีพวกสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน[174]

ชาวบ้านคนเดียวกันชี้ให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนไม่ได้เข้าร่วมดับไฟในช่วงเย็นหลังจากที่เพลิงเริ่มลุกไหม้และไม่เห็นหน้าที่โรงเรียนจนถึงเวลา 09:00 วันร่งขึ้น[175]เมื่อHuman Rights Watchได้พยายามที่จะพูดคุยกับผู้อำนวยการของโรงเรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ลอบวางเพลิงดังกล่าวก็ถูกปฏิเสธการให้สัมภาษณ์   อย่างไรก็ตามในคืนเดียวกันกับที่โรงเรียนแห่งนี้ถูกเผา ก็ยังเกิดเหตุลอบวางเพลิงที่สถานีอนามัยตำบลกะดุนง  ซึ่งมีระยะทางห่างจากโรงเรียนไป 1 กิโลเมตร  โดยผู้ลอบวางเพลิงสุมกองยางรถยนต์ไว้ใกล้กับสถานีอนามัย แต่เนื่องจากไม่น่าจะเป็นไปได้ที่สถานที่อื่นจะตกเป็นเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ทางการเงินในเวลาเดียวกัน จึงทำให้น่าเชื่อว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอยู่เบื้องหลังการวางเพลิงเผาโรงเรียนครั้งนี้[176]

บ้านพักครู

การโจมตีโดยการลอบวางเพลิงมีเป้าหมายที่บ้านพักครู และตัวโรงเรียน.[177]กระทรวงศึกษาธิการมีการจัดบ้านพักครู ในบริเวณหรือใกล้กับโรงเรียนมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าครูส่วนใหญ่จะไม่ต้องการอาศัยอยู่ที่นั่น แต่ครูที่เป็นโสดหรือเพิ่งย้ายเข้ามาในพื้นที่ ก็จำเป็นที่จะต้องอยู่ เกศรินครูผู้เล่าถึงเหตุการณ์การลอบวางเพลิงที่เกิดขึ้นในปี 2552 กล่าวว่า

มันเป็นช่วงเวลาประมาณตี 4 ของเช้าวันหนึ่ง ฉันกำลังหลับอยู่และสะดุ้งตื่นจากเสียงปืน เสียงปืนดังสี่หรือห้านัด ฉันออกไปข้างนอกบ้านและเห็นท้องฟ้าเป็นสีแดงฉานจากเปลวเพลิง ฉันเห็นเปลวเพลิง และได้ยินเสียงการปะทุจากการเผาอาคาร ฉันรอดูประมาณ 10 นาทีและเห็นว่ามีคนไปรวมตัวกันที่โรงเรียน และบางคนก็ออกไป  ตอนที่ฉันไปถึงที่นั่น บ้านพักครูถูกเผาถึงหลังคาและกำลังจะพังทลายลงมา เปลวเพลิงลามไปติดอาคารใกล้เคียงซึ่งเป็นบ้านพักครูด้วยเช่นกัน ไม่มีการช่วยเหลือใดๆ จากเจ้าหน้าที่ มีเพียงชาวบ้านในพื้นที่ที่ช่วยกันดับไฟ พวกเราได้แจ้งไปทางโทรศัพท์และวิทยุ แต่ไม่มีใครมา[178]

 

ครูที่อาศัยอยู่ในบ้านพักสูญเสียทรัพย์สินที่เก็บไว้ที่บ้านทั้งหมด

แรงจูงใจให้เกิดการโจมตี

กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมองว่าโรงเรียนเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของรัฐไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสถานที่ที่พวกเขามองว่ามีการบ่มเพาะความเป็นไทย การโจมตีแต่ละครั้งไม่มีรูปแบบตายตัว โดยบางครั้งช่วงเวลาของการโจมตีบางเหตุการณ์ก็ไปเชื่อมโยงกับเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดน หรืออาจเลือกที่จะสร้าง ถานการณ์ในช่วงระยะเวลาเริ่มเปิดหรือปิดภาคเรียน

ชาวบ้านพบใบปลิวภาษาไทยใกล้กับโรงเรียนรัฐบาลในจังหวัดปัตตานี ซึ่งถูกเผาเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2550โดยกลุ่มผู้ถูกกล่าวหาว่าก่อความไม่สงบแสดงความโกรธแค้นสถาบันการศึกษา

คำเตือน

 ถึงปัตตานีมุสลิมทุกคน ขณะนี้ชาวปัตตานีมุสลิมกำลังทำสงครามกับกองกำลังของสยาม  ขอเตือนว่าการปฏิบัติการของเราจะม่งโจมตีสัญลักษณ์การครอบครองพื้นที่ของกองกำลังสยาม เช่นทำการเผาโรงเรียนโดยถือว่าเป็นการทำลายอิทธพลนอกรีตของสยามอย่างสมบูรณ์ ขอเตือนว่าอย่าส่งลูกไปโรงเรียน
โรงเรียนจะเปลี่ยนความคิดของเด็กและลบล้างความตระหนักในความเป็นมุสลิมปัตตานี คุณต้องส่งลูกของคุณไปยังโรงเรียนปอเนาะ
ขอเตือนว่าอย่าไปร่วมมือและให้ความช่วยเหลือใดๆ กับกองกำลังนอกรีตของคนสยามในการสร้างโรงเรียนใหม่ เช่นการให้เงินหรือแรงงานสนับสนุน
การช่วยเหลือใดๆ ให้กับกองกำลังนอกรีตสยามจะถือว่าเป็นบาปและจะได้รับการลงโทษอย่างรุน

 

แรง
จากนักรบอิสระปัตตานี[179]

สมาชิกหนุ่มของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบคนหนึ่งได้บอกกับHuman Rights Watchว่า เขายอมรับผิดที่ได้ทำการเผาโรงเรียนเป็นจำนวนสามแห่งภายในคืนเดียวกัน  โดยกล่าวว่าเขาเผาโรงเรียนทีละหลัง และอ้างเหตุผลว่า เขา และกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบคนอื่นๆ มีอาวุธปืนAK-47 ทำให้ไม่มีใครกล้าขัดขวางการปฏิบัติการดังกล่าว เมื่อถามถึงเหตุผลในการตัดสินใจวางเพลิงเผาโรงเรียน เขาบอกว่าโรงเรียนรัฐบาลเป็นสถานที่ให้การอบรมสั่งสอนนอกรีต ซึ่งเขาถือว่าเป็นการทำลายสัญลักษณ์ของชนชาติและศาสนาของชาวมาเลย์มุสลิม  ซึ่งเป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องเผาทำลายสถานที่นั้นลง[180]

โรงเรียนและครูถือได้ว่าเป็นเป้าหมายที่สามารถโจมตีได้ง่าย และเป็นสื่อที่ดีในการแสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่ม เมื่อโรงเรียนบ้านบางทันอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้เกิดเหตุวางเพลิงเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2552 มีการพบข้อความพ่นด้วยสีสเปรย์ที่ป้ายโรงเรียนซึ่งมีข้อความว่า “ทหารโง่ ทหารบ้า ออกไป” [181]และหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2552ก่อนการเปิดภาคเรียน 3 วัน โรงเรียนบ้านตันหยงเปาในอำเภอหนองจิกก็ได้ถูกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบวางเพลิงเผาอาคารเรียน ข้อความที่ปรากฏบนผนังโรงเรียนเรียกร้องให้ทหารออกจากพื้นที่ [182]

กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ไม่ละเว้นการทำร้ายโรงเรียนของรัฐที่มีครูและนักเรียนมาเลย์มุสลิมเป็นจำนวนมาก

ดังตัวอย่างเช่นที่โรงเรียนประถมศึกษาบ้านบาโงซึ่งอยู่ในเขตอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีนักเรียนในช่วงอายุ 5-12 ปี รวม 71 คน โดยทั้งหมดเป็นชาวมาเลย์มุสลิม และมีเพียงเจ้าหน้าที่ครูเพียง 1 คนจากทั้งหมด 5 คนที่ไม่ใช่ชาวมาเลย์มุสลิม โรงเรียนดังกล่าวได้ถูกลอบวางเพลิงถึงสองครั้งในรอบห้าปี.[183]ครูมาเลย์มุสลิมคนหนึ่งในโรงเรียนได้บอกกับHuman Rights Watchว่า “ผมไม่เข้าใจว่าทำไมโรงเรียนถึงเป็นเป้าหมายในการโจมตี[184]การลอบวางเพลิงโรงเรียนบ้านท่ากำชำอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2552ทำให้ห้องหนึ่งในอาคารซึ่งใช้เป็นสถานที่ในการละหมาดเกิดความเสียหาย.[185]

ทว่ากลุ่มก่อความไม่สงบทั้งหมดมิได้ม่งเป้าหมายไปที่โรงเรียนด้วยแรงจูงใจที่เกิดจากความเกลียดชังต่อระบบการศึกษาของไทยและด้วยเหตุผลอื่นคือโรงเรียนเป็นเป้าหมายที่สามารถเข้าโจมตีได้ง่ายเท่านั้น  อย่างน้อยการโจมตี 6 ครั้งในช่วงเดือนมีนาคม 2551ถึงเดือนกรกฎาคม 2552 ซึ่งมีการวางเพลิงเผาโรงเรียนนับเป็นการใช้กลยุทธ์นี้เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของเจ้าหน้าที่จากการซุ่มโจมตี[186]ดังเช่นเวลาประมาณสามทุ่มครึ่งของวันที่ 21 มีนาคม 2553 ที่โรงเรียนบ้านทุ่งคาอำเภอเมือง จังหวัดยะลมีบุคคลผู้ต้องสงสัยทำการปีนบันไดขึ้นไปทุบกุญแจและทำลายห้องเรียน พวกเขาเผาหนังสือและสร้างความเสียหายในห้องเรียนอย่างมาก หนังสือ, โต๊ะและเก้าอี้รวมทั้งโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ถูกทำลาย[187]หลังจากวางเพลิงแล้วก็มีระเบิดใกล้กับสะพานห่างจากโรงเรียนไปประมาณ 2 กิโลเมตร ตำรวจเชื่อว่าระเบิดนั้นมีเป้าหมายมุ่งไปที่ทีมที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการดับไฟ อย่างไรก็ดี ระเบิดดังกล่าวทำงานก่อนเวลาจึงไม่มีใครเสียชีวิต [188]

มีหลักฐานชี้ให้เห็นด้วยว่ามีผู้ร่วมก่อการอื่นนอกเหนือจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเข้ามาทำการก่อเหตุวางเพลิงเผาโรงเรียน  โดยบางครั้งค่าชดเชยที่โรงเรียนและผู้รับเหมาก่อสร้างในพื้นที่จะได้รับ อาจจะเป็นแรงจูงใจดังกล่าว.[189]

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับการศึกษา

การโจมตีของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ส่งผลอย่างมากต่อความสามารถในการเข้าถึงการศึกษาของเด็ก ซึ่งนอกจากจะทำให้เด็กและครูได้รับบาดเจ็บแล้วยังทำให้สูญเสียเวลาเรียนและเสียทรัพยากรจากการถูกวางเพลิงรวมทั้งทำให้เด็กไม่มีสถานที่เรียนที่เหมาะสม ซึ่งต้องรอจนกว่าโรงเรียนหลังใหม่จะสร้างเสร็จ

หลังจากที่โรงเรียนถูกเผา เจ้าหน้าที่จัดการตั้งเต็นท์บนสนามเด็กเล่นในโรงเรียน ซึ่งมีนักเรียนมาเลย์มุสลิมกว่า 200 คนเข้าเรียนร่วมกันที่นั่น ครูคนหนึ่งบอกกับตัวแทน Human Rights Watch ว่า “เราต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์เพราะไม่เพียงแต่อาคารเรียนถูกเผา แต่เรายังสูญเสียเอกสารต่างๆ ไปด้วย และมันเป็นการยากสำหรับครู และนักเรียนที่จะทำการเรียนการสอนในเต๊นท์ดังกล่าวเพราะอากาศร้อนมากหรือเมื่อฝนตกน้ำก็จะรั่ว นอกจากนั้นก็ยังมีเสียงดังรบกวนการเรียน[190]  ครูได้บอกว่า เราต้องทำการเรียนการสอนภายในเต๊นท์ถึง 6 เดือน จนกว่ารัฐบาลจะสร้างโรงเรียนชั่วคราวเสร็จ และอาจต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปีในการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรหลังใหม่ [191]

จากการลอบวางเพลิงห้องสมุดของโรงเรียนบ้านบาโง  ครูได้บอกกับHuman Rights Watch ว่า สิ่งที่สูญเสียที่มีค่ามากที่สุดคือห้องสมุดโรงเรียน ครูคนหนึ่งได้บอกว่า “หนังสือที่มีคุณค่าและราคาแพงหลายเล่มซึ่งอยู่ในห้องสมุดถูกเผาหมด” นอกจากนั้นเราก็ยังมีโทรทัศน์และชุดเครื่องเล่น CD อยู่ในห้องสมุดนั้นด้วย เราสูญเสียหนังสือเป็นพันเล่ม ซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 100,000 บาท[US$ 3,100][192]  ครูอีกคนกล่าวว่า โรงเรียนอนุญาตให้เด็กซึ่งไม่สามารถซื้อตำราเรียนสามารถใช้หนังสือที่ทางห้องสมุดทำสำเนาไว้ได้ เธอทำการจดบันทึกไว้ว่ามีนักเรียนอย่างน้อย 28คน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4ขอยืมหนังสือเพื่อนำไปทำสำเนา.[193]

ครูได้อธิบายถึงปัญหาที่เกิดจากการสูญเสียซึ่งเกิดจากการลอบวางเพลิงในห้องเรียนถึงสองห้อง

เมื่อเรามีการแบ่งห้องเรียนกันเรียน  เด็กนักเรียนจะได้ยินเสียงรบกวนจากชั้นเรียนอื่นอื่นด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนตำราและอุปกรณ์การเรียน เด็กอนุบาลจะลำบากมากเพราะว่าไม่มีสถานที่ให้เด็กนักเรียนชั้นอนุบาลนอนในช่วงบ่าย เนื่องจากที่นอนและอาคารถูกเผา
และในภาคการศึกษาต่อไป พวกเรายังไม่มีกระดานดำเพียงพอ โต๊ะ เก้าอี ทั้งหมดก็ถูกทำลาย เมื่อไม่มีกระดานดำแล้วจะใช้อะไรสอนเด็ก?[194]

 

6. การปลูกฝังลัทธิแบ่งแยกดินแดนและการหาสมาชิกใหม่ที่โรงเรียน

 

ในช่วงเวลาก่อนหน้าที่ความรุนแรงเรื่องการแบ่งแยกดินแดนจะหวนกลับมาในปี 2547นั้น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและโรงเรียนปอเนาะเป็นสถานที่หลักเพื่อวัตถุประสงค์ในการปลูกฝังแนวคิดและการสรรหาบุคคลเข้าร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบ[195]การฝึกและรับสมัครไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือเป็นครู ภายในโรงเรียนเป็นการคุกคามที่ร้ายแรงต่อเด็กซึ่งมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาและยังถือได้ว่าเป็นการละเมิดข้อห้ามเรื่องการจัดหาแรงงานเด็กเพื่อใช้ในสงคราม [196]

กล่มก่อความไม่สงบใช้ห้องเรียนของปอเนาะและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามบางแห่ง เพื่อแสวงหาสมาชิกใหม่ที่ต้องการเข้าร่วมกลุ่ม อดีตผู้ก่อความไม่สงบในอำเภอยะหา จังหวัดยะลาคนหนึ่งได้อธิบายให้ Human Rights Watch ฟังถึงการเริ่มกระบวนการสร้างความรุนแรงและการปลูกฝังความคิด

ครูผู้สอนศาสนาอิสลาม (อุสตัส) ที่สอนอยู่ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเป็นผู้ทำการคัดเลือกนักเรียนในชั้นเรียน หลังจากนั้นก็จะมีการไปเยี่ยมเยือนเด็กถึงบ้าน หรือบางครั้งอาจใช้การสอนเพิ่มเติมภายหลังจากการเรียนปกติที่โรงเรียน มัสยิด หรือหอพัก นักเรียนถูกแบ่งกลุ่มและแยกเป็นระดับโดยใช้ความสามารถและความพร้อมเป็นเกณฑ์  เนื้อหาในการสอนได้แก่ วิชาประวัติศาสตร์และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบของมุสลิมเช่น มุสลิมภราดรภาพ (Al – Ikhwan)  อัล-มุสลิมีนในอียิปต์ (Al - Muslimeen) กองกำลัง ฮามาส (Hamas) ในปาเลสไตน์กองกำลังร่วมอิสระมุสลิมในซูดาน (Al-Jabhah Al-Islamiyah) พรรคการเมืองอิสลามในประเทศมาเลเซีย (PAS) และการเคลื่อนไหวของอิสลามในประเทศแอลจีเรีย

สำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาทางกลุ่มจะใช้วิธีการเรียนการสอนเพิ่มเติมหลังจากการเรียนตามปกติที่โรงเรียน การเรียนการสอนส่วนใหญ่จะใช้สถานที่ที่หอพักหรือมัสยิดซึ่งเป็นช่วงเย็นหรือค่ำขึ้นอยู่กับความสะดวกและมีการนัดพบกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ในบางครั้งครูสอนศาสนา (อุสตัสจะเสริมแทรกอุดมการณ์เรื่องการต่อสู้ให้กับนักเรียนในชั้นเรียนในระดับชั้น มุตาวาสชิต (มัธยมศึกษาตอนต้น) และ ระดับ ซานาวิ (มัธยมศึกษาตอนปลาย) และในบางโอกาสก็จะทำการคัดเลือกนักเรียนเพื่อไปทัศนศึกษานอกพื้นที่โดยมีครูสอนศาสนา (อุสตัส) และผู้บรรยายร่วมเข้าสอดแทรกอุดมการณ์การต่อสู้ให้กับนักเรียนในวันสุดท้ายก่อนกลับบ้าน
ผู้นำหลักของกลุ่มก่อความไม่สงบจะทำการเลือกเด็กและเยาวชนซึ่งมีพฤติกรรมดีและไม่พูดมาก หลังจากนั้นจะฝึกให้เด็กและคนธรรมดากลายเป็นมือปืน ผู้หญิงก็ยังตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มเพื่อการทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลกับคนในหมู่บ้าน โดยที่กลุ่มเป้าหมายเกือบทั้งหมดจะเป็นนักเรียนซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 16-25 ปี และไม่สนใจว่าเยาวชนเหล่านั้นจะเป็นผู้ติดยาเสพติดหรือไม่ สิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญมากที่สุดคือการที่เยาวชนเหล่านั้นต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่
ตามที่ได้รับมอบหมายได้  เป้าหมายหลักจะเป็นนักเรียนซึ่งมีความประพฤติดี ผลการเรียนดี มีความศรัทธาในศาสนาและเป็นผู้ที่สามารถเก็บข้อมูลและความลับได้ สำหรับเยาวชนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดหรือการชักชวน ทางกลุ่มก็จะปล่อยเด็กเหล่านั้นไปโดยไม่ทำการลงโทษใดๆ แต่หากเด็กเหล่านั้นเกิดพฤติกรรมการต่อต้านก็อาจจะถูกทางกลุ่มสังหารได้ โดยจะทำการตักเตือนเด็กผู้นั้นก่อนล่วงหน้า 2 ครั้งก่อนกระทำการดังกล่าว[197]

สำหรับกลุ่มแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต (Barisan Revolusi Natsional – Koordinas ; BRN-C)หรือกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติมาลายู (National Revolution Front - Coordinate) ผู้สูงอายุในจังหวัดปัตตานี บอกกับ Human Rights Watch ว่ากลุ่มดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

วิธีการเข้าถึงเยาวชนหรือเป้าหมายเพื่อการโน้มน้าวจิตใจและสร้างเสริมอิทธิพลคือ พวกเขาเพียงแค่เลือกจากเยาวชนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามโรงเรียนศาสนาและมัสยิด โดยมองหาอิหม่ามเพื่อให้ช่วยจัดกิจกรรมทางศาสนาสำหรับเยาวชนและผู้สนใจเพื่อให้ครอบคลุมถึงพันธกิจขององค์กร และยังสามารถหาสมาชิกใหม่จากมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย[198]

นักการเมืองท้องถิ่นในระดับอำเภอของจังหวัดสงขลาผู้หนึ่ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งก่อนหน้านี้ ได้อธิบายถึงวิธีการปลูกฝังลัทธิและกระบวนการสรรหาผู้เข้าร่วมกลุ่ม ว่าบางครั้งกระบวนการดังกล่าวก็เริ่มต้นขึ้นทันทีเมื่อหาตัวคนที่เหมาะสมได้

เป็นวิธีการล่อเยาวชนเพื่อให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังติดอาวุธ เขาใช้ นักเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามมาเป็นผ้ปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาเพื่อเยาวชนคนอื่น ๆ ... ส่วนใหญ่พวกเขาจะใช้โรงเรียนและสนามฟุตบอลที่ใกล้ [คน] ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้สถานที่ที่โรงเรียน สนามฟุตบอล ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากคนท้องถิ่นเป็นสถานที่หลัก ซึ่งจัดว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีมาก ...
นอกจากนั้น คนในกลุ่มทั้งหมดจะไปที่ศูนย์กลางการรวมตัวภายในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสถานที่ที่วัยรุ่นใช้ในการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อพบปะพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นการตอบโต้โดยใช้ความรุนแรงหรือการทำสงครามทางศาสนา (Jihad) การหาสมาชิกใหม่ของกลุ่มปกติแล้วจะไม่ทำที่ร้านน้ำชา แต่จะเป็นไปตามขั้นตอนโดยเริ่มจากการตั้งคำถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตและ ส่วนดี ส่วนเสีย ของการเป็นวัยรุ่น หลังจากนั้นก็จะชักชวนพูดคุยในประเด็นทางการเมือง ประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับตัวพวกเขา เช่นการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และในท้ายที่สุดก็จะพุดถึงความคิดที่จะต่อสู้เพื่อรักษาอิสรภาพของตน [199]

หลังจากการคัดเลือกและถูกปลูกฝังความเชื่อแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเข้าร่วมกลุ่มเยาวชนแบ่งแยกดินแดนหรือที่เรียกกันว่า กลุ่มเปอมูดอ (Pemuda) ข้อมูลดังกล่าวได้จากการให้สัมภาษณ์ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากนั้นผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องพิสูจน์ความกล้าหาญและความมุ่งมั่น ด้วยวิธีการเผยแพร่อุดมการณ์โดยใบปลิวรวมทั้งการขู่ฆ่า ขั้นตอนต่อไปคือการใช้ความรุนแรงมากขึ้น เช่นการเผาตู้โทรศัพท์ หรือการทำลายป้ายจราจรด้วยสีสเปรย์หรือทุบทำลายด้วยค้อน หลังจากนั้น ผู้ถูกคัดเลือกจะมีส่วนร่วมในการโจมตี เช่นเป็นหน่วยเฝ้าระวัง หรือเป็นหน่วยขัดขวางเส้นทางการหลบหนีของเหยื่อ เช่น ตัดต้นไม้ เผายางรถยนต์ หรือใช้ตะปูเรือใบ ในบางครั้งพวกเขาก็ถูกเกณฑ์เข้าร่วมกลุ่มกันเพื่อโจมตีเป้าหมายด้วยการลอบวางเพลิงสถานที่ราชการ ซึ่งรวมถึงโรงเรียน ด่านตรวจ และวัดพุทธ[200]

บ่อยครั้งที่ การสรรหาผู้เข้าร่วมกลุ่มมาจากการฝึกทั้งด้านการฝึกความเข็งแกร่งทางร่างกายและการให้ความรู้เทคนิคพื้นฐานทางการทหาร โดยสถานที่ที่ใช้ในการฝึกจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป เช่น สวนยาง สวนผลไม้ สนามโรงเรียน หรืออาจเป็นในป่าลึก หลังจากนั้นผู้ที่ต้องการเข้าร่วมกลุ่มบางคนก็จะได้รับเลือกเพื่อทำการฝึกอบรมเฉพาะอย่างเช่น การฟันดาบ การใช้ปืนและวัตถุระเบิดเป็นต้น และในขณะเดียวกันก็จะได้รับการฝึกเพิ่มเติมเรื่องการซุ่มโจมตีและเทคนิคในการเข้าโจมตี  ผ้ได้รับการคัดเลือกเหล่านี้

จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติการจริงและการสังหารในหลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับความชำนาญ ความต้องการ และความความพึงพอใจของกลุ่มที่สังกัดอยู่ คนเหล่านี้ส่วนมากจะมีประสบการณ์การสู้รบ (ส่วนใหญ่อายุ 20 กว่า) โดยมีการเคลื่อนไหวคล้ายกับกลุ่มคอมมานโดภายใต้การควบคุมของผู้นำระดับท้องถิ่น.[201]

ถึงแม้ว่าห้องเรียนหรือสนามของโรงเรียนมักจะเป็นจุดแรกที่ใช้เพื่อการติดต่อระหว่างนักเรียนและผู้ทำหน้าที่รับสมัครคนเข้าร่วมกลุ่มก่อการร้าย แต่ก็ไม่ได้เป็นสถานที่เดียวที่มีการเปิดรับ แต่อย่างไรก็ดี มีโรงเรียนเพียงน้อยแห่งที่เกี่ยว

ข้องกับการรับสมัครในรูปแบบนี้  ทั้งนี้โรงเรียนที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบใช้ ก็อาจไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของกิจกรรมสรรหาดังกล่าว แต่ถึงอย่างไรก็ตามครูหรือแม้กระทั่งครูใหญ่ก็ต้องยินยอมปฏิบัติตาม

7. รัฐบาลเข้าจู่โจมและจับกุมที่โรงเรียนอิสลามหลายแห่ง

รัฐบาลไทยเผชิญภาระกิจที่ซับซ้อนในการทำให้โรงเรียนไม่ถูกใช้เป็นจุดเริ่มสำหรับเด็กนักรียนที่จะถูกคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบซึ่งสถานที่เหล่านี้สามารถให้การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางทหารหรือเป็นสถานที่ปลอดภัยสำหรับซ่องสุมอาวุธหรือที่ซ่อนตัวสำหรับผู้ก่อความไม่สงบเพื่อป้องกันการซ่องสุมกำลังขณะนี้รัฐบาลต้องดำเนินการสืบสวนและตรวจค้นบนอาคารเรียนดังที่อธิบายไว้ในบทก่อนหน้านี้ ทั้งผู้บัญชาการกลุ่มก่อความไม่สงบและนักรบผ้ปฎิบัติการต้องรับผิดชอบต่อการกระทำรุนแรงที่ละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศเช่นการเกณฑ์และการใช้บุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปีอย่างไรก็ตามในบางโอกาสการจุ่โจมเหล่านี้เป็นผลให้มีการจับกุมนักเรียนส่วนใหญ่โดยพละการ,[202]หรือเป็นการเริ่มให้เกิดความรุนแรงซึ่งเป็นอันตรายต่อนักเรียนและครู.[203]

การปิดล้อมโรงเรียนสอนศาสนาและโรงเรียนรัฐบาล และการจู่โจมของรัฐบาลในพื้นที่ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และปอเนาะ อาจเป็นจุดที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของคนมุสลิมผู้นำอาวุโสในกลุ่มก่อความไม่สงบบอกกับHuman Rights Watch ว่าในมุมมองของเขา การต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนในรัฐไทยไม่ถือเป็นการทำสงครามจีฮัด(jihad)ในศาสนาอิสลามและยังได้ระบุเงื่อนไขที่จะถือเป็นการทำสงครามจีฮัด (jihad)ในศาสนาอิสลาม หนึ่งในนั้น คือ การถูกปิดล้อมของปอเนาะทั้งหลาย และการขัดขวางการศึกษาศาสนาอิสลาม โดยการจับกุมนักเรียน และครู.[204]

การจู่มโจมในโรงเรียน และการจับกุมนักเรียนอาจเป็นอันตรายต่อเด็ก แม้ว่าไม่มีการเข้าประชิดตัว เพราะจะทำให้เกิดความด่างพร้อย หรือข้อกังขาในสายตาของคนในชุมชน จากข้อสงสัยดังกล่าว หรือความกังวลเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการให้ความร่วมมือที่ชัดเจนกับฝ่ายตรงกันข้าม สามารถทำให้นักเรียนหมดโอกาสกลับไปในชุมชน หรือโรงเรียนได้

ภายใต้สถานการณ์ปกติ กฎหมายไทยได้กำหนดให้คนไทยซึ่งอายุต่ำกว่า 18 ปีถูกตำรวจจับกุมได้หากทำความผิดทางอาญาซึ่งหน้า หรือหากมีหมายศาล.[205]หลังการจับกุม ก่อนดำเนินการสืบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องสอบถามว่าเด็กต้องการมีที่ปรึกษาทางกฎหมายในระหว่างการสืบสวน หรือไม่และต้องจัดให้ถ้ามีการร้องขอ [206]การสอบสวนเด็กต้องมีขึ้นในสถานที่ที่เหมาะสม นอกจากนี้กฎหมายไทยระบุว่าตลอดการบสวน เมื่อใดก็ตามที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผ้กระทำความผิด จะมีโทษคือจำคุกสูงสุดสามปี หรือมากกว่านี้ หรือเมื่อเด็กร้องขอพบคนบางคนต้องมีการจัดให้ ได้แก่นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ อัยการ และบุคคลอื่น เช่นพ่อแม่หรือครู ตามที่เด็กร้องขอ[207]

อย่างไรก็ตาม ภายใต้สภาวะต่อเนื่องของการประกาศภาวะฉุกเฉินโดยรัฐบาลในเดือนกรกฎาคม 2548 ทหารสามารถค้นหา และกักขังผู้ต้องสงสัย เพื่อสืบสวนได้เป็นเวลา 30วันโดยไม่ต้องตั้งข้อหา และเด็กไม่ได้รับการคุ้มครองเพิ่มเตแต่อย่างใด

ในจังหวัดยะลา ผู้ว่าราชการจังหวัดบอกกับ Human Rights Watch ว่าทหารจะไม่เป็นกำลังหลักในการดำเนินการจู่โจมในบริเวณโรงเรียนอีกต่อไป นอกจากจะเป็นการติดตามไล่ล่า แต่ทหารต้องปรึกษากับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดำเนินการค้นหา ผู้ว่าราชการจังหวัดอธิบายว่านโยบายนี้"ปลอดภัยขึ้น"และ"ยอมรับกันมากขึ้น [208]

กรณีศึกษา : ปอเนาะท่าแอำเภอเมืองจังหวัดยะลา

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2550 ทหารพรานยิงปืนใส่รถกระบะที่หมู่บ้าน ในเขตอำเภอเมืองยะลา เป็นการสังหารนายอบูคอรี กาซอห์ นักศึกษามุสลิม อายุ 15 ปี และพี่เขย นายอาฟานดี พะห์มะ ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทหารพรานอ้างว่าพวกเขายิงใส่ผู้ก่อความไม่สงบจากรถกระบะระหว่างการติดตามไล่ล่าผู้ก่อความไม่สงบ[209]จากนั้นทหารพรานก็เข้าไปในวิทยาเขต ซึ่งใกล้กับ ปอเนาะ  ครู และ นักเรียนพยายามอธิบายว่า เยาวชน 2 คน ที่ถูกยิงไม่ใช่ผู้ก่อความไม่สงบ และได้ถูกนำส่งไปยังโรงพยาบาลแล้ว แต่ทหารพรานบางนายได้ยิงใส่เข้าไปในสหกรณ์โรงเรียน และบริเวณหอพักชาย กองกำลังรัฐบาลสั่งให้นักเรียนชายออกมาจากอาคารเรียน ให้ถอดเสื้อของตนออก และให้นั่งโดยหมอบหน้าลงกับพื้น ทหารพรานบางนายใช้วาจาที่รุนแรงกับนักเรียน และถ่มน้ำลายใส่พวกเขา เตะพวกเขา และตบหัวบางคน[210]ครูใหญ่กล่าวว่า ทหารพรานยังบุกเข้าไปในสหกรณ์โรงเรียน และได้ขโมยเงินไป 10,000 บาท (US $ 310) และ โทรศัพท์มือถือ 15 เครื่อง.[211]"มันเป็นการปล้นทรัพย์สินไม่ใช่การค้นหา" เขากล่าว226.หลังจากการจู่โจมนี้ รัฐบาลออกมาขอโทษสำหรับการกระทำของทหารพราน และจ่ายค่าชดเชยใหกับโรงเรียน

กรณีศึกษา: โรงเรียนแสงธรรมอิสลามวิทยาอำเภอบาเจาะจังหวัดนราธิวาส

โรงเรียนแสงธรรมอิสลามวิทยาเป็นโรงเรียน ปอเนาะ ที่ยังมีการเรียนภาคค่ำ ครอบคลุมหลักสูตรการสอนของโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งช่วยให้นักเรียนสามารถเลือกเรียนวิชาเหล่านี้ได้ เพื่อที่จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการจบตามหลักสูตรของรัฐบาลมีนักเรียน 70 คนในโรงเรียน อายูตั้งแต่ 10 ถึง 20 ปี ในแต่ละปีจะมีนักเรียนประมาณ 10 คน ได้รับประกาศนียบัตรชั้นปีที่ 6 จากหลักสูตรการเรียนภาคค่ำ[212]

ในตอนเช้าของ วันที่ 12 ตุลาคม 2552 กองกำลังผสมของนาวิกโยธิน ทหารพราน อาสาสมัครป้องกันท้องถิ่น และตำรวจมาที่โรงเรียน ครูใหญ่ของโรงเรียนอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า :

ผมได้ยินเสียงรถบันทุกมาถึงเมื่อประมาณ 06:00.ในตอนเช้า ประตูโรงเรียนยังปิดอยู่ ดังนั้นทหารบางนายจึงเริ่มปีนข้ามเข้าไป และทำให้เด็ก ๆ สนใจ.... รถบรรทุก[ทหาร] 13คัน เข้ามาภายใน ... และมีรถบันทุกคนติดอาวุธ ที่มีปืนกล และรถกวาดทุ่นระเบิด 1 คัน ... ผมเห็นที่ประตูด้านหน้าว่ามีเจ้าหน้าที่ 4 ท่าน... ดังนั้นเราจึงพูดกันว่าเกิดอะไรขึ้นและพวกเขาดุเราว่า :"อย่าได้คิดที่จะต่อสู้พวกคุณไม่มีทางชนะ และถ้าพวกคุณก่อปัญหามากนักพวกคุณจะ ต้องถูกปิดปาก" ผมบอกว่าผมเป็นครูใหญ่ และถามหาผู้บังคับบัญชา ผมถามเขาว่าเขานำกำลังมาเท่าไร เขาตอบว่า 600 นาย นั่นมันเกินความจำเป็น รถบรรทุกทหาร 1 คัน ก็น่าจะเพียงพอแล้ว[213]

ในการเข้าจู่โจม เจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาความมั่นคง อธิบายว่ากองกำลังผสมตำรวจและทหาร "มีกำลังพลมากกว่า 200 นาย" [214]

เด็กนักเรียน อายุ 10 ปี ที่ปอเนาะ  และเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนรัฐบาลท้องถิ่น บอก Human Rights Watch ถึงสิ่งที่เขาจำได้ว่า

ผมอยู่กับนักเรียนรุ่นพี่บางคนเมื่อทหารมา... เมื่อทหารบอกให้ผม และเด็กรุ่นพี่เข้าไปในรถบันทุก เราทำตามคำสั่ง แล้วพวกเขาก็พาเราไปค่ายในอำเภอบาเจาะ เมื่อเราไปถึงที่นั่นทหารให้อาหารและเครื่องดื่มกับเรา หลังจากนั้น ทหารบอกว่าจะนำตัวพวกเราเข้าไปข้างในเพื่อสอบสวน... ผมอยู่กับเด็กอีก 3 คน อายุไล่เลี่ยกันจากโรงเรียนเรา  ทั้ง 4 คนถูกเรียกเข้าไปพร้อมกัน มีทหารอยู่ประมาณ 7 นาย พวกเขาไม่ติดอาวุธ แต่ผมก็ยังคงกลัวอยู่ ผมคิดว่าทหารอาจจะกักขังผมไว้ที่นั้น และไม่ให้ผมกลับบ้าน... ทีแรกทหารถามผมว่าผมพักอยู่ที่ไหน และมาจากที่ไหน และอายุเท่าไร ผมตอบว่า 10 ปี แล้วพวกเขาถามผมเกี่ยวกับอาชีพที่พ่อแม่ผมทำ...ล้วนั้นก็คือทั้งหมดที่พวกเขาสนใจ  พวกเขาบอกผมว่าไปดูทีวีได้แล้ว แล้วผมก็ได้กินอาหารอีกหนึ่งมื้อ[215]

นักเรียนรุ่นพี่คนหนึ่งที่ถูกจับกุมในวันนั้นบอกกับHuman Rights Watchว่าเมื่อมาถึงที่ค่ายทหาร นักเรียนถูกแยกออกเป็นสองกลุ่มตามอายุ  กลุ่มหนึ่งสำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 15 และอีกกลุ่มหนึ่งสำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 15 "สำหรับกลุ่มของผม [พี่] ไม่ดีเหมือนกลุ่มน้อง" เขาบอกเรา[216]สำหรับน้องใหม่ เขากล่าวว่า "มันใช้เวลานานก่อนที่จะถูกเรียกไปสอบสวนและผมก็หิว ดังนั้นเราจึงได้ขออาหารจากทหาร" [217]

เขาเล่าต่อว่า :

ทหารเรียกนักเรียน 4 คน เข้าไปพร้อมกันรวมทั้งผมด้วย นักเรียนคนหนึ่งอายุ 16 อีกคนอายุ 17 และอีกคนอายุ 16 หรือ 17... ในห้องสอบสวนมีทั้งทหารนอกเครื่องแบบ ... และบรรดาผู้ตั้งคำถามเรา  เขาสวมเสื้อยืดทหารสีเขียว กางเกงทหาร และรองเท้าบูท พวกเขาไม่พกอาวุธ พวกเขาเริ่มต้นว่า "ทำไมคุณไปโรงเรียนนั้น" และ"เขาสอนอย่างไร "เขาสอนอะไรในโรงเรียนของคุณ" "ครูสอนอะไรคุณ และ"คุณรู้จักคนเลวๆ ไหม  แล้วพวกเขาเริ่มยกตัวอย่างชื่อบางคนเช่น "วาฮิด เพียงชื่อเดียวพวกเขาถามว่าผมรู้เกี่ยวกับ เอกสารของกลุ่มก่อความไม่สงบไหมขบวนการปลดปล่อยรัฐปัตตานีไหม ผมไม่เคยอ่าน แต่ทหารบอกผมว่า ถ้าผมเคยอ่าน พวกเขาจะ "ฝังผม"... นักเรียนคนอื่นๆ ถูกตั้งคำถามว่าพวกเขาจะทำอย่างไรกับชีวิตของ หาก

ได้รับการศึกษาด้านศาสนาเพียงอย่างเดียว

ผมไม่พอใจกับวิธีที่ทหารถามผม พวกเขาไม่หยาบ หรือก้าวร้าว แต่คำพูดที่พวกเขาถามเป็นการดูถูกกัน สิ่งที่ผมผิดหวังมากที่สุดคือเมื่อพวกเขาถามผมว่าทำไมผมต้องไปปอเนาะพวกเขากล่าวว่าผ้เรียนจบจากปอเนาะจะไม่มีงานทำทหารยังบอกผมว่า ถ้าพวกเขาพบว่าผมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มก่อความไม่สงบแล้ว พวกเขาจะพาผมไป [จับกุมผม] อย่างแน่นอน[218]

นักเรียนทั้งหมดที่มาโรงเรียนในวันนั้น ยกเว้นแต่นักเรียนตาบอด ถูกนำไปอยู่ภายใต้การอารักขา ครูใหญ่กล่าวว่า นักเรียน 40 คน ถูกจับขึ้นรถ แม้ว่าสื่อจะรายงานจำนวนตัวเลขที่สูงกว่านั้น[219]

ในขณะที่นักเรียนถูกสอบสวนอย่ที่หน่วยทหารทหารบางส่วนก็ตรวจค้นหาที่โรงเรียนครูใหญ่บอกกับ  Human Rights Watch ว่า ผมเห็นทหารใช้อุปกรณ์ที่มีด้ามจับสีดำและมีเสาอากาศที่หมุนได้ผมถามว่ามันใช้สำหรับอะไรพวกเขาบอกว่ามันเป็นเครื่องตรวจจับระเบิด[220]

มนุษย์กบน้ำ 4 นาย จากหน่วยนาวิกโยธิน ดำลงไปในบ่อปลาหลังโรงเรียน แต่โผล่ขึ้นมามือเปล่า[221]พ.ต.. จำลอง งามเนตร หัวหน้าตำรวจท้องที่บอกกับสื่อว่าตำรวจพบหนังสือเกี่ยวกับระเบิดพลีชีพ ในห้องหนึ่งของหอพักของโรงเรียน[222]

เวลา 17.00 น. นักเรียนทั้งหมดได้กลับมาที่โรงเรียน ยกเว้นคนเดียวที่ถือสัญชาติกัมพูชา เขา อายุราว 20 ปี ถูกกักขังเพราะไม่มีหนังสือเดินทาง เขาถูกกักขังข้ามคืน.[223] 

กองกำลังรักษาความปลอดภัยกล่าวในเวลานั้นว่า ที่พวกเขาดำเนินการจู่มโจมเพราะว่าเขาเชื่อว่านักเรียนบางคมอาจมีข้อมูลเกี่ยวกับการปล้นขบวนรถของข้าราชการระดับสูง เมื่อสุดสัปดาห์ก่อน และนักเรียนบางคนอาจมีความสัมพันธ์กับการกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ.[224]ครูใหญ่บอกเราว่า "พวกเขาบอกว่าพวกเขาได้รับแจ้งจากสมาชิกที่ห่วงใยในชุมชน เราไม่ได้มีปัญหากับทหารมาก่อน เหตุผลหนึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าเป็นเพราะการสับเปลี่ยนกำลังทหาร  หน่วยที่เรามีความสัมพันธ์ที่ดีเพิ่งย้ายออก และหน่วยใหม่ย้ายเข้ามา  พื้นที่นี้เป็นเขตพื้นที่อันตราย'สีแดง'และมีการใช้ความรุนแรงมากมีการระเบิดมาก มีการระดมยิงมาก แต่ที่โรงเรียนนี้ไม่มีความรุนแรง[225]

แหล่งข่าวทางทหารบอกกับ Human Rights Watch ว่า ปอเนาะ ได้กระตุ้นความสงสัย เนื่องจากจำนวนครั้งในการโจมตีในพื้นที่รอบๆโรงเรียนเมื่อเดือนก่อนหลังจากที่โรงเรียนได้ถูกพิสูจน์จากการเข้าจู่โจม แหล่งข่าวบอกองค์กรHuman Rights Watch ว่า ตอนนี้ทหารสงสัยว่าผู้ก่อความไม่สงบ พยายามทำให้โรงเรียนเป็นที่น่าสงสัย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการต่อต้าน และตอกย้ำรอยร้าวระหว่างโรงเรียนและรัฐบาล[226]

ในวันที่ 18 ตุลาคม 2552 ทางโรงเรียนได้รับการขอโทษอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลในการเข้าจู่โจม

ในการอธิบายถึงผลกระทบต่อเนื่องจากการจู่โจม ครูใหญ่ของโรงเรียนบอกHuman Rights Watch :

เด็กๆตกอยู่ในอาการตื่นตระหนก พวกเขาไม่ร้องไห้ ... บางคนตื่นตระหนก และกลัวมาก จนกระทั่งล้มป่วย เด็กๆ กล่าวว่าพวกเขาไม่ได้ถูกทำร้าย ทหารเพียงถามคำถามพวกเขาเท่านั้น แต่ก็น่ากลัวสำหรับพวกเขา โรงเรียนเปิดเรียนอีกครั้งในวันถัดไป แต่เด็กก็ไม่มีสมาธิกับครูผู้สอน หรือบทเรียน มีนักเรียน 2 คน ได้ออกจากโรงเรียนและกลับไปบ้าน หนึ่งในนั้นออกจากโรงเรียนไป 1 เดือน และอีกหนึ่งคนยังคงหายสาบสูญ ทั้งสองมีอายุประมาณ 17 ปี ต้องใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์สำหรับเด็กที่จะปรับตัว แต่ไม่ใช่เฉพาะเด็กเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ก็กระทบกระเทือนด้วย...

การสร้างอาคาร อาจกินเวลาหลายวัน แต่เพียงคนคนเดียวเท่านั้นก็สามารถทำบางสิ่งที่จะทำลายอาคารนั้นได้
ยี่สิบปีของการทำความดีได้จบสิ้นลงในวันนั้น[227]

ผลการศึกษาเฉพาะกรณีที่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมุสลีมีนอำเภอสายบุรจังหวัดปัตตานี

ที่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มุสลีมีน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีนักเรียนชายและหญิงมากว่า 500 คน อายุตั้งแต่ 12ปี จนถึง 21ปี กองกำลังรักษาความปลอกภัยทำการจู่โจมเพื่อการค้นโรงเรียนค่อนข้างบ่อย  หนึ่งในพนักงานอาวุโสของโรงเรียนกล่าวว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 โรงเรียนถูกบุกจู่โจมเพื่อทำการค้นมาแล้ว 12 ครั้งโดยประมาณ  ครั้งหนึ่งถูกบุกค้นตอนกลางดึก[228]ตามเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนเล่า มีอยู่สองครั้งที่มีเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาทำการค้น แต่ครั้งอื่นๆจะเข้ามาค้นร่วมกันโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร[229] เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนเล่าต่อว่า

แต่ละครั้งกองกำลังรักษาความปลอดภัย จะล้อมโรงเรียนก่อนพังประตูเข้าไป  แล้วค้นทุกอย่าง  พวกเขาเข้ามาโดยไม่ขออนุญาตหรือรอให้ใครอนุญาต  การบุกจู่โจมเป็นการกระทำที่ทำให้ทุกคนแตกตื่น และทำให้กิจกรรมของโรงเรียนในวันนั้นต้องหยุดชะงักลง  และส่งผลกระทบต่อเด็กเหล่านี้อย่างไม่มีวันลืม  นักเรียนและครูยังตกอยู่ในความหวาดกลัวไปนาน หลังจาการถูกจู่โจม ค้น และยังส่งผลกระทบไปถึงผู้ปกครองของนักเรียน  ผู้ปกครองมีความเป็นห่วง กลัวว่าลูกหลานของตนจะตกเป็นเป้าหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร

ครั้งหนึ่งที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยได้จับกุมตัวครูสอนศาสนาในโรงเรียนไป ถึงแม้ว่าครูคนนั้นจะถูกปล่อยตัวออกมาภายหลังแต่โรงเรียนนั้นบอกเขาว่าไม่ต้องกลับมาสอนอีก  ระหว่างการเช้าจู่โจมอีกครั้ง  ชายคนหนึ่งซึ่งแน่ชัดว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ในโรงเรียนทั้งสิ้น ถูกยิงเสียชีวิตในบริเวณโรงเรียน  ชายคนนั้นได้หลบซ่อนอยู่ในหอพักนักเรียนหญิง  เขาพยายามปลอมตัวเป็นเด็กนักเรียนหญิงด้วยการส่วมชุดของเด็กนักเรียนหญิง 

ผลลัพธ์ของการบุกจู่โจมในครั้งนั้นตามที่เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนเล่า “เด็กนักเรียนทุกคนมีความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก  เด็กนักเรียนหญิงได้รับความเดือดร้อนมากกว่าเด็กผู้ชาย เพราะว่าชายคนนั้นถูกยิงเสียชีวิตอยู่หน้าหอพักของเด็กนักเรียนหญิง  และเด็กนักเรียนชายก็เป็นกังวลว่าจะมีการค้นครั้งหน้าอีกหรือไม่”  ครูท่านหนึ่งที่โรงเรียนนั้นบอกกับ  Human Rights Watch ว่า เขาไม่กล้าที่จะมาสอนหนึ่งอาทิตย์หลังจากการบุกจู่โจมในครั้งนั้น

ผมกังวลเป็นอย่างมาก ผมไม่เคยรู้มาก่อนว่าใครจะตกเป็นเป้าหมาย  ดังนั้น ผมเลยอยู่กับบ้าน จนกระทั่งเจ้าของโรงเรียนได้บอกกับผมว่า ทุกอย่างปลอดภัยแล้วที่จะกลับไป   ความถี่ในการบุกจู่โจมทำให้การศึกษาหยุดชะงัก  และสร้างความรู้สึกไม่มั่นใจให้กับครูอาจารย์และเด็กนักเรียน  เพราะเราไม่รู้เลยว่าเมื่อไหร่ทหารจะกลับมาอีก   ดังนั้น เราทุกคนจึงอยู่กันอย่างขาดเสถียรภาพ  ผมรู้สึกไม่ปลอดภัยเลยและนักเรียนของผมก็รู้สึกไม่ปลอดภัยเช่นกัน[230]

ตามคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน เด็กนักเรียนสี่หรือห้าคนที่มีอายุราวๆ 16 หรือ 17 ปี ออกจากโรงเรียนไปหลังเกิดเหตุการณ์ระดมยิง พวกเขากังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของตัวเอง  และย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอื่น[231]

ครูท่านหนึ่งได้บอกกับ Human Rights Watch ว่า เหตุผลที่โรงเรียนถูกโจมตีอย่างตั้งใจและจำเพาะเจาะจงนั้นเป็นเพราะความไม่ไว้วางใจของกองกำลังรักษาความปลอดภัยในเรื่องที่ครูท่านหนึ่งถูกปล่อยตัวหลังจากการถูกจับกุมตัวไป[232]  อย่างไรก็ตามการบุกค้นจู่โจมยังคงดำเนินอยู่ที่โรงเรียนนี้แม้ว่าครูท่านนั้นจะไม่มาสอนแล้ว  Human Rights Watch ไม่มีข้อมูล ว่าการบุกค้นจู่โจมนี้เป็นเพราะได้หลักฐานใหม่ หรือเป็นเพราะว่าครูผู้ที่ออกไปแล้วทำให้โรงเรียนนี้กลายเป็นที่ระแวงสังสัยของกองกำลังรักษาความปลอดภัย

ผลการศึกษาเฉพาะกรณีที่ โรงเรียนเลี้ยงดูเด็กเล็ก

ครูท่านหนึ่งของโรงเรียนเด็กเล็ก  บอกกับทางHuman Rights Watch ว่า โรงเรียนของเขาได้เปลี่ยนจากการมีครูส่วนใหญ่เป็นชายมาเป็นส่วนใหญ่เป็นครูผู้หญิง เพื่อแก้ปัญหาการบุกค้นจู่โจมที่โรงเรียน เพราะความไม่ไว้วางใจครูที่เป็นผู้ชาย  เจ็ดปีที่แล้วโรงเรียนเด็กเล็ก ของเขามีครูผู้ชายสี่คนครูผู้หญิงสองคน และตอนนี้มีผู้ชายสามคนผู้หญิงห้าคน[233]

ครูท่านนี้ได้บอกกับ Human Rights Watch ว่า ครูใหญ่ของโรงเรียนเด็กเล็ก (tadika)  เคยถูกจับสามครั้งระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ด้วยข้อสงสัยว่ามีส่วนร่วมในการก่อความไม่สงบ  โดยที่ไม่มีหลักฐานในข้อกล่าวหา[234]“ดูเหมือนว่าครูใหญ่จะยอมรับว่าข้อกล่าวหานั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขา” ครูกล่าว[235]

ในการอธิบายว่าทำไมกองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลมีเป้าหมายที่เป็นครูสอนในโรงเรียนอิสลาม  ครูโรงเรียนเด็กเล็ก บอกกับHuman Rights Watch ว่า “ในการสอนนักเรียนให้เรียนรู้ภาษายาวีและวัฒนธรรมของมาเลย์นั้น ทางกองทัพมองว่าเราคิดกระด้างกระเดื่องและปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกองทัพและเป็นการกระตุ้นให้ก่อความไม่สงบ  โรงเรียนของผมไม่มีแม้กระทั่งวิชาประวัติศาสตร์  การสอนภาษามาเลย์โดยปกติธรรมดาให้กับนักเรียนนั้น ทำให้เราถูกมองว่าตั้งตนกระด้างกระเดื่องต่อกองทัพ”[236]

ที่โรงเรียนเลี้ยงดูเด็กเล็ก  ทหารได้เข้ามาแทรกแซงการสอน :

เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552  พวกเขามานั่งอยู่ในห้องเรียนของผม และติดตามฟังเวลาที่ผมพูดตลอดเวลา  พวกนี้เป็นทหารหน่วยพิเศษใส่หมวกเบเร่ต์สีแดงและมีอาวุธครบมือ พวกเขาถ่ายรูปผม และนักเรียนของผมตอนที่ผมกำลังสอนเด็กนักเรียน อายุ 6ปี ถึง 12ปี พวกทหารได้พูดกับเด็กนักเรียนหลังจากที่ผมออกไปสอนอีกห้องหนึ่ง พวกเขาถามนักเรียนว่าครูสอนอะไร มันทำให้ผมกลัว พวกทหารพรานก็เคย มาที่โรงเรียนตลอดทุกๆสองอาทิทย์ พวกทหารพรานอธิบายให้ผมฟังว่า พวกเขากำลังทำหน้าที่ลาดตระเวนและแวะที่โรงเรียนเพื่อพูดคุยกับบรรดาครูอาจารย์ และถามว่ามีนักเรียนมากี่คน “แค่คุยนิดหน่อย”

ผมเคยจัดค่ายฤดูร้อนที่โรงเรียนช่วงโรงเรียนปิดเทอมเมื่อปีที่แล้ว แต่พวกทหารคิดไปว่าเป็นสิ่งที่ไม่ชอบมาพากล ดังนั้นจึงส่งทหารมาควบคุมกิจกรรมพักแรม ในที่สุดเราก็มีทหารติดอาวุธครบมือ อยู่ในโรงเรียนขณะที่จัดกิจกรรมพักแรมทั้งหมด เจตนาของครูที่จัดกิจกรรมพักแรมก็เพื่อสอนพิธีกรรมตามวิถีของชาวอิสลาม แต่จบลงด้วยเหล่าทหารชาวพุทธที่ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับศาสนาอิสลามนั้นมาคอยควบคุมครูอิสลามที่ทำการสอน พวกเขายังบอกอีกว่ามาเพื่อดูแลโรงเรียน  คุณจะห้ามไม่ให้พวกเขาเข้ามาอย่างไรได้ ถ้าหากคุณบอกว่าไม่หรือคุณถามเขามากเกินไปพวกครูจะเดือดร้อน เขาจะคิดว่าพวกครูต่อต้านพวกเขา[237]

ผลการศึกษาเฉพาะกรณีที่ ดาเลาะห์ ปอเนาะ อำเภอยะริง จังหวัดปัตตานี

ปอเนาะในดาเลาะห์ จังหวัดปัตตานี คือโรงเรียนประจำโดยมีนักเรียนประมาณ 300 คน อายุระหว่าง 16ปี ถึง 20ปี บางคนมีอายุมากกว่านี้

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ได้มีกองกำลังผสม ระหว่างทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 200-250 นาย เข้ามาในโรงเรียนโดยไม่มีการบอกกล่าว ทำการค้นหาผู้ก่อความไม่สงบสี่คน ที่เชื่อว่ามาซ่อนตัวอยู่ในโรงเรียนนี้ หลังจากนั้นเกิดการยิงกันขึ้นระหว่างผู้ต้องสงสัยกับกองกำลังรักษาความปลอดภัย ศพผู้ต้องสงสัย 1 รายถูกทิ้งไว้อย่างนั้น  ระหว่างไล่จับกุมผู้ต้องสงสัยอีกสามราย (ดูภาพ 5) ครูใหญ่ของโรงเรียน การีม นาคนะวะผ้ มีบ้านอยู่ติดกับโรงเรียนได้เล่าเหตุการณ์ให้ Human Rights Watch ฟังว่า

วันนั้นมีชายสี่คนได้เข้ามาในโรงเรียน พวกเขาไม่ใช่นักเรียนของโรงเรียนนี้ แต่เคยเห็นชายสี่คนแถวนี้มาก่อน ผมคิดว่าอาจจะเป็นญาติพี่น้องกับนักเรียนบางคนในโรงเรียน ซึ่งมีบางครั้งบางคราวเด็กนักเรียนในโรงเรียนก็บอกญาติให้มาพักกับพวกเขาที่นี่ พวกสี่คนนั้นก็ไม่ได้ทำให้ผมสงสัยแต่อย่างใด 

เวลาประมาณบ่ายสามโมง วันนั้นผมกำลังเตรียมตัวที่จะสอนในช่วงเย็น เมื่อผมได้ยินเสียงปืนมาจากโรงเรียน ผมคิดว่ามันเป็นการบุกจู่โจม ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงกับชาวบ้านที่ว่า  ถ้าหากจะมีการจู่โจมค้นพวกทหารต้องติดต่อบอกกล่าวให้ครูใหญ่รู้เรื่องก่อน แล้วก็ให้เอารายชื่อของผู้ต้องสงสัยมาดู ดูแล้วครูใหญ่ก็จะสามารถไปนำตัวพวกนั้นออกมาให้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ทหารเข้าไปแล้วก็ยิงพวกเขา

เสียงปืนดังอยู่ประมาณ 15 นาที ผมคิดว่าเขาคงยิงไปไม่น้อยกว่า 200 นัด เมื่อผมไปถึงที่โรงเรียน ผมเห็นเด็กนักเรียนของผมกว่า 70 คนโดนถอดเสื้อออกและมือถูกมัดไว้อยู่ข้างหลังนอนคว่ำหน้าอยู่บนพื้น พวกทหารอธิบายให้ผมฟังว่าต้องมัดเด็กนักเรียนของผม  เพราะกลัวว่า
จะเกิดการจลาจลในตอนนั้น เพราะว่าพวกเขาบุกเข้ามาใน ปอเนาะ ดังนั้นทหารจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการยึดเอาไว้ก่อน[238]

ครูใหญ่เล่าต่อว่า เด็กนักเรียนประมาณ 100 คน โดนนำตัวไปที่ค่ายตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อทดสอบตามหลักนิติเวชศาสตร์

แต่พวกเขาได้รับการปล่อยตัวกลับมาเนื่องจากไม่มีหลักฐานร่องรอยของดินปืน หรือระเบิดตามตัว[239]

อีกสี่วันต่อมาตำรวจท้องที่และเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดเข้ามาพบกับครูใหญ่เพื่อทำการขอโทษ เรื่องการบุกจู่โจม  แต่ครูใหญ่ยังเป็นห่วงว่าแม้พวกเด็กนักเรียนจะพ้นผิดแต่ความเสียหายยังคงปรากฏอย่

ทั้งชื่อเสียงของโรงเรียน และชื่อเสียงของนักเรียน ที่ถูกจับตัวไปเสื่อมเสียอย่างไม่มีชิ้นดี  ปอเนาะแห่งนี้เป็นสถานที่เก่าแก่มีอายุมากกว่า 100ปี สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงแค่ข้ามวัน ได้ทำลายสิ่งที่ดีงามไปหมดสิ้น  ไม่มีใครที่จะสามารถลืมได้ พวกเจ้าหน้าที่ทำอย่างนี้กับปอเนาะได้อย่างไร อาจต้องใช้เวลาอีกชั่วอายุคนกว่าจะเยียวยาได้[240]

ครูใหญ่ประมาณว่าเด็กนักเรียนกว่า 200 คนได้ออกจากโรงเรียนหลังจากการจู่โจมครั้งนั้น “เด็กนักเรียนของผมหลายคนหลังจากที่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายนั้นขึ้น พากันตัดสินใจออกจากปอเนาะและกลับไปอยู่บ้าน” ครูใหญ่กล่าว เขาประมาณว่าครึ่งหนึ่งของเด็กนักเรียนที่ออกไปตอนนี้ได้กลับมาเรียนใหม่[241]

8. ข้อเสนอแนะ

ถึงกลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดน

  • ยุติการโจมตีโดยทันที ต่อประชาชนพลเรือน โดยไม่ต้องคำนึงถึงศาสนา เชื้อชาติ และอาชีพรวมถึงครูและเจ้าหน้าทีทางการศึกษาอื่นๆ
  • ยุติการโจมตีโดยทันที ต่อทรัพย์สินของประชาชนพลเรือน รวมไปถึงโรงเรียน
  • ยุติการจัดหาคัดเลือกและใช้บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี โดยทันที
  • ยุติการโจมตีทั้งหมดที่ไม่ได้แยกแยะทหารและพลเรือน และเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกวิธีการโจมตีกองกำลังและเป้าหมายทางทหาร เพื่อหลีกเลียงหรือให้มีอันตรายน้อยที่สุดกับประชาชนและทรัพย์สินของประชาชน
  • อย่าใช้บริเวณโรงเรียนเป็นที่กำบัง หรือซ่อนบุคคลใดหรืออาวุธ หากเป็นการสร้างความเสี่ยงให้พลเรือน

ผู้อาวุโสและผู้บัญชาการของกลุ่มเคลื่อนไหวการแบ่งแยกดินแดน ควรจะออกแถลงการณ์ และพิมพ์แผ่นพับ และใบปลิวเพื่ออธิบายและรับรองข้อเสนอแนะข้างต้น

ถึงรัฐบาลไทย

เกียวกับการโจมตี ครูและเจ้าหน้าที่ทางการศึกษา

  • ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าครูมีอิสระในการตัดสินใจที่จะต้องการความคุ้มครองของกองรักษาความปลอดภัยหรือร่วมเดินทางไปด้วย
  • ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการปรึกษาหารือกับทั้งครูใหญ่ และครูอย่างเป็นทางการและเป็นประจำเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย ที่จัดให้กับโรงเรียน และครู
  • ประเมินประสิทธิผลและหากพบว่าเหมาะสมแล้ว ก็ให้ขยายกระบวนการรักษาความปลอดภัยอย่างเป็นทางการในจังหวัดยะลา เพื่อคุ้มครองครูในการเดินทางไปกลับจากโรงเรียน โดยให้ความคุ้มครองบนถนนที่เป็นเส้นทาง มากกว่าที่จะคุ้มครองเฉพาะเจาะจงกับบุคคล

เกี่ยวข้องกับกองกำลังทหาร และอาสาสมัครทหารพรานที่เข้ายึดครองพื้นที่โรงเรียน

  • ห้ามกองกำลังรักษาความปลอดภัยใช้อาคารเรียน หรือสนามโรงเรียนสำหรับการตั้งค่าย หรือฐานที่มั่น ซึ่งจะเป็นการรบกวนสิทธิของเด็กที่จะได้รับการศึกษาภายใต้กฎหมายของราชอาณาจักรไทย
  • ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ากองกำลังรักษาความปลอดภัยมีความระมัดระวังในการป้องกันเด็กและประชาชนภายใต้การควบคุมที่จะปกป้องการโจมตีโดยเคลื่อนย้ายพวกเขาออกไปจากบริเวณโรงเรียนที่ยืดครองอยู่
  •  สำหรับโรงเรียนที่ถูกยึดครองจัดหาหรือจัดเตรียมทันทีให้มีที่ทำการชั่วคราวต่างๆ  (เช่นอาคารสำเร็จรูป หรือเต้นท์)  พร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น เช่น กระดานดำ  โต๊ะ  เก้าอี้ และอุปกรณ์การศึกษาต่างๆ  การให้บริการน้ำดื่ม และสุขา  ในสถานที่ปลอดภัยในบริเวณอื่นๆ เพื่อที่จะให้มีและให้ห้องเรียนสามารถดำเนินการสอนต่อเนื่องทันที และมีความปลอดภัย  โดยอย่ห่างจากที่ตั้งของกองกำลังรักษาความปลอดภัย
  • พร้อมที่จะจัดตั้งกลุ่มทำงานระหว่างกระทรวง ที่ประกอบด้วยตัวแทนที่เหมาะสมจากกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทยกระทรวงกลาโหม  กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก และคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กลุ่มทำงานนี้ควรจะ
  • เข้าเยี่ยมแต่ละหมู่บ้านที่โรงเรียนถูกยึดครอง หรือเคยถูกยึดครองโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัย เพื่อที่จะพบปะพูดคุยกับครูใหญ่ของโรงเรียน  ครู  นักเรียนปัจจุบัน และอดีตนักเรียน  ผู้ปกครอง  ผู้นำหมู่บ้าน และตำรวจท้องถิ่นนั้นๆ  เพื่อกำหนดการให้บริการเพิ่มเติมแก่โรงเรียน และนักเรียน ที่อาจจะมีความต้องการจากการหยุดพักในการเรียน และเริ่มปฎิบัติอย่างเหมาะสม
  • ตามการปรึกษาหารือดังกล่าว จัดทำเอกสารเผยแพร่ “การเรียนรู้จากบทเรียน” พร้อมทั้งคำแนะนำในการที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลจะเข้ายืดครองพื้นที่โรงเรียนในอนาคต
  • จัดตั้งกลไกการตรวจสอบติดตามทุกครั้งในการเข้ายึดครองพื้นที่โรงเรียนโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัย รวมถึงวันที่เข้ายึดครอง   ระยะเวลาของการยึดครอง และการปฏิบัติการเข้ายึดครอง จำนวนบุคคลากรที่ประจำอยู่ทีโรงเรียน  วันที่คาดหวังว่าจะสิ้นสุดการยึดครอง และการแจ้งเหตุผลประกอบการยึดครอง ทุกครั้งที่จะเข้ายึดครองพื้นที่โรงเรียน จะต้องมีการวางแผนสำหรับการส่งมอบโรงเรียนคืนให้ใช้เป็นสถานศึกษาเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้  ต้องปฎิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้เกิดความยุ่งยากกับการศึกษาของเด็กน้อยที่สุด
  • พัฒนากฎระเบียบและแนวทางที่เข้มงวดในการเข้าใช้พื้นที่โรงเรียน ของกองกำลังทหาร และอาสาสมัครทหารพราน โดยระมัดระวังให้เกิดความเดือดร้อนกับโรงเรียน นักเรียน ครู และเจ้าหน้าที่โรงเรียนน้อยที่สุด  แนวทางที่กองกำลังรักษาความปลอดภัยควรปฎิบัติ คือ
    • ต้องมีการแจ้งให้ข้าราชการท้องถิ่น ครูใหญ่ของโรงเรียนร้ล่วงหน้าโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะให้ชุมชมท้องถิ่นนั้นมีโอกาสหาสถานที่ทางเลือกอื่นสำหรับการยึดครอง และพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นกับการศึกษาของนักเรียน
    • เพื่อให้มีการตรวจสอบเพิ่มขึ้นและมีความโปร่งใส  ต้องแจ้งการเข้ายืดครองพร้อมด้วยเหตุผลที่เข้ายึดครอง ขนาดและขอบเขตของการยึดครอง และวันที่คาดว่าจะสิ้นสุดการยึดครอง ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมการคุ้มครองด็กแห่งชาติโดยทันที
  • มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกล่าวหาอย่างเต็มรูปแบบในการล่วงละเมิดและใช้ความรุนแรงของกองกำลังรักษาความปลอดภัยที่มีต่อเด็ก และเจ้าหน้าที่โรงเรียน และลงโทษทางวินัยตลอดจนดำเนินคดีต่อผู้ที่รับผิดชอบ โดยไม่คำนึงถึงตำแหน่ง
  • เมื่อถอนกำลังออกจากโรงเรียน ต้องทำให้โรงเรียนกลับส่สภาพเดิม หรือดีกว่าเดิมก่อนที่จะถูกยึดครอง รวมทั้งต้องลบร่องรอยของการยึดครองให้หมด เช่น ป้อมเวรยาม  รั้วลวดหนาม และจ่ายค่าชดเชยให้กับนักเรียนที่ได้รับผลกระทบกับการเข้ายึดครองโรงเรียน

เกี่ยวกับการเข้าโจมตีโรงเรียน

  • ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจล่วงหน้าว่าสามารถที่จะเตรียมการและดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีการโจมตีเกิดขึ้นเพื่อให้โรงเรียนมีการซ่อมแซมบูรณะหรือสร้างใหม่  และอุปกรณ์การเรียนต่างๆ ที่เสียหาย ก็จะได้รับการเปลี่ยนใหม่ ดังนั้นเด็กก็จะสามารถกลับไปโรงเรียนได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้  ระหว่างที่มีการบูรณะซ่อมแซมอาคารเรียน เด็กนักเรียน ควรจะได้รับการศึกษาโดยทางเลือกอื่น และมีสถานที่ที่เหมาะสม  รวมทั้งมีการดูแลทางด้านจิตใจด้วย
  • มีการตรวจสอบอย่างเต็มรูปแบบเกี่ยวกับการโจมตีโรงเรียนทุกครั้ง เพื่อหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ
  • ให้สัตยาบรรณของศาลอาญาระหว่างประเทศแห่งกรุงโรม ว่าด้วยการห้ามมิให้มีเจตนาชี้นำการโจมตีอาคารที่ใช้สำหรับการศึกษาซึ่งถือเป็นอาชญากรรมสงคราม  ในกรณีที่มิได้เป็นสถานที่เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร ระหว่างมีความขัดแย้งด้วยอาวุธภายนอกและภายในประเทศ

เกี่ยวกับการเข้าจู่โจมโรงรียน และจับกุมเด็กจำนวนมาก

  • มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกล่าวหาอย่างเต็มรูปแบบในการล่วงละเมิด และใช้ความรุนแรงของกองกำลังรักษาความปลอดภัยที่มีต่อเด็ก หรือครู และลงโทษทางวินัยโดยเหมาะสม หรือดำเนินคดีต่อผ้ที่รับผิดชอบ โดยไม่คำนึงถึงตำแหน่ง
  • ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการจับกุมและการคุมขัง ผ้กระทำผิดภายใต้พระราชกำหนดและบทบัญญัติของกฎหมายตามพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้กติกาประมวลกฎหมายแพ่งและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
  • ออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อบัญญัติโดยชัดเจนให้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาล และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจับกุม ควบคุมตัวเด็กและสอบสวนพิจาราณาความอาญา ยังคงมีผลบังคับใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • นอกเสียจากเพื่อความปลอดภัยเฉพาะหน้า ให้ละเว้นการจับกุมนักเรียน  ครู และบุคคลากรในสถานศึกษาหากไม่ใช่การพิจารณาเพื่อความปลอดภัย    กองกำลังทหาร และทหารอาสาสมัคร ควรอนุโลมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่อำเภอ เข้ามาดำเนินการค้นหาบนพื้นที่โรงเรียน  เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนและข้าราชการท้องถิ่นควรจะได้รับการแจ้งล่วงหน้า ในการค้นหาและร่วมรับร้การดำเนินการเพื่อความโปร่งใสของกระบวนการ
  • นอกเหนือจากความจำเป็นด้านความปลอดภัยแล้ว กองทหาร และทหารอาสาสมัคร ไม่ควรที่จะถืออาวุธเข้าไปในสถานศึกษา

เกี่ยวกับระดับการศึกษาที่ตกต่ำของจังหวัดชายแดนภาคใต้

  • เพื่อปรับปรุงการศึกษาและโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนทั้งหมดในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ให้มีการออกกฎหมายตามคำแนะนำที่บันทึกไว้ในรายงานครั้งสุดท้ายของคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และปอเนาะ

ถึงผ้แทนพิเศษสหประชาชาติเพื่อเสนอต่อ เลขาธิการ ว่าด้วยเรื่องเด็ก และความขัดแย้งโดยใช้กำลังอาวุธ

  • ขอให้มีการเชิญอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทย เพื่อไปเยี่ยมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อประเมินผลกระทบของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับเด็ก  และพบปะพูดคุยกับตัวแทนของกลุ่มในเรื่องพันธกิจของทุกฝ่ายตามประมวลกฎหมายต่างประเทศ

ถึงกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF):

  • จัดตั้งกลไกความร่วมมือกับองค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐและหน่วยงานอื่นๆ ของ UN  เพื่อตรวจสอบการโจมตีทางการศึกษา และการละเมิดอื่นๆ ที่กระทำกับเด็กในบริบทของความขัดแย้ง รวมถึงการคัดสรร จัดหา และใช้เด็กเข้าร่วมเป็นทหาร

ภาคผนวก

นาย เฉลียว อยู่สีมารักษ์

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ชั้น 1 อาคารราชวัลลภ  ถนน ราชดำเนินนอก

เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

โทรสาร 66 2281 9752

วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

Human Rights Watch กับการวิจัยในเรื่องการศึกษาในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

เรียน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คุณเฉลียว อยู่สีมารักษ์

ผมเป็นผู้ทำการวิจัยในเรื่องของ สิทธิของเด็กและเยาวชน   เป็นแผนกหนึ่งของ  Human Rights Watch   ซึ่งเป็นองค์กรสากลอิสระองค์กรหนึ่ง (NGO) ที่ตรวจสอบการปฎิบัติของประเทศทีมีพันธกรณีภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่งประเทศ   เมื่อปีที่ผ่านมา เราได้ดำเนินการกว่า 70 ประเทศทั่วโลก  ปัจจุบัน Human Rights Watch กำลังทำการวิจัยสำรวจประเด็นการศึกษาในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ของประเทศไทย  รวมถึงประเด็นการเข้าถึงการศึกษา  หลักสูตรการศึกษา ผลลัพธ์ทางการศึกษา และผลกระทบต่อเหตุการณ์และความปลอดภัยของครูอาจารย์และเด็กนักเรียน

เรา มีความประสงค์ที่จะทราบถึงลักษณะการดำเนินงาน และทัศนะคติที่ทางกระทรวงฯ ของท่านมีต่อประเด็นที่ได้กล่าวมาข้างต้น  เพื่อที่ทางเรา จะได้รวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้องต่อไป  จึงขอเรียนรบกวนท่าน ให้ช่วยแนะนำบุคคลใดบุคคลหนึ่งในกระทรวงฯ ของท่าน เพื่อให้ทางเราได้มีโอกาสพบปะเพื่อสอบถามหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นที่เกิดขึ้น   ผมจะยังอยู่ในกรุงเทพฯและพร้อมที่จะพบกับบุคคลที่ท่านจะแนะนำให้  ตามวันและเวลาดังนี้  วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553  ช่วงบ่าย   วันพุธที่ 7 เมษายน 2553 ช่วงเช้า    วันพฤหัสบดีที่  8 เมษายน พ.ศ. 2553 ช่วงบ่าย   และวันศุกร์ที่ 9 `มษายน 2553  ตลอดวัน  หากมีความจำเป็น ผมก็พร้อมที่จะทำการสนทนาโดยทางโทรศัพท์ได้ตลอดเวลาหลังจากสัปดาห์นี้

 เราอยากทราบว่า กระทรวงฯ ของท่าน มีความต้องการที่จะมีส่วนร่วมกับ Human Rights Watch ในส่วนของฐานข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องของการเข้าถึงการศึกษา และผลลัพธ์ทางการศึกษาของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้  ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยอย่างยิ่งสำหรับการทำการวิเคราะห์ข้อมูลของเรา  ผมได้รวบรวมรายการคำถาม ที่แนบอยู่ในตอนท้ายของจดหมายนี้  และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากทางกระทรวงฯของท่าน

กรุณาติดต่อผมได้ที่ อีเมล์ sheppab@hrw.org และทางโทรศัพท์มือถือหมายเลข- 08 43 27 30 96 จนกระทังถึงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 หรือโทรสารหมายเลข +1 212 736 13000  หลังจากวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553  ติดต่อผมได้โดยตรงทางหมายเลขโทรศัพท์ +1 212 377 9416 หรือทางไปรษณีย์ตามที่อยู่  Human Rights Watch, 350 Fifth Avenue, 34th floor, New York, NY 10118, USA.

ขอขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านได้สละเวลา ในการพิจารณาและให้ความช่วยเหลือ

ขอแสดงความนับถือ

 

Bede Sheppard

Researcher

แผนกสิทธิเด็กและเยาวชน

Human Rights Watch

รายการคำถามสำหรับฐานข้อมูล

สถิติว่าด้วยเรื่องการศึกษาในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

-           จำนวนโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลที่ตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-           จำนวนโรงเรียนสถานศึกษาอิสลามของเอกชนที่ตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนนักเรียนทั้งหมดที่สมัครเช้าเรียนในโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนนักเรียนทั้งหมดที่สมัครเข้าเรียนในโรงเรียนสถานศึกษาอิสลามเอกชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-           จำนวนอัตราสัดส่วนนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนในโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนอัตราสัดส่วนนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนในโรงเรียนสถานศึกษาของอิสลามเอกชนในจังหวัดปัตตานียะลาและนราธิวาสในแต่ละปีตั้งแต่ปี.. 2542 ถึง.. 2552

-           จำนวนอัตราสัดส่วนนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนในโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลที่เหลือทั่วประเทศ ในแต่ละปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนอัตราสัดส่วนนักเรียนที่ไปเข้าชั้นเรียนในโรงเรียนของรัฐบาลในจังหวัดปัตตานียะลาและนราธิวาสตั้งแต่ปี.. 2542 ถึง.. 2552

-           จำนวนอัตราสัดส่วนนักเรียนที่ไปเข้าชั้นเรียนในโรงเรียนของอิสลามเอกชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนอัตราสัดส่วนนักเรียนที่ไปเข้าชั้นเรียนในโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลที่เหลือทั่วประเทศในแต่ละปีตั้งแต่ปี.. 2542 ถึง.. 2552

-           จำนวนอัตราสัดส่วนครูในโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนอัตราสัดส่วนครูในโรงเรียนสถานศึกษาของอิสลามเอกชนในจังหวัดปัตตานียะลาและนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี.. 2542 ถึง.. 2552

-           จำนวนอัตราสัดส่วนครูในโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลที่เหลือทั่วประเทศในแต่ละปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-               สัดส่วนจำนวนครูต่อจำนวนนักเรียนในโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-           สัดส่วนจำนวนครูต่อจำนวนนักเรียนกี่คนในโรงเรียนสถานศึกษาของอิสลามเอกชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-               สัดส่วนจำนวนครูต่อจำนวนนักเรียนในโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลที่เหลือทั่วประเทศในแต่ละปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-           จำนวนอัตราหมุนเวียนของครูในโรงเรียนสถานศีกษาของรัฐบาลในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-           จำนวนอัตราหมุนเวียนของครูในโรงเรียนสถานศึกษาของอิสลามเอกชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

-           จำนวนอัตราหมุนเวียนของครูในโรงเรียนของรัฐบาลที่เหลือทั่วประเทศในแต่ละปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2552

สถิติว่าด้วยเรื่องความรุนแรงที่มีผลกระทบต่อบุคลากรการศึกษาและสถานที่

-           จำนวนโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลที่เสียหายจากการถูกโจมตีในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนโรงเรียนสถานศึกษาของโรงเรียนของอิสลามเอกชนที่เสียหายจากการถูกโจมตีในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-           ระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการปรับปรุงซ่อมแซม/สร้างใหม่สำหรับโรงเรียนที่เสียหายจากการถูกโจมตีในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนครูจากโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลที่เสียชีวิตในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-           จำนวนครูจากโรงเรียนสถานศึกษาของอิสลามเอกชนที่เสียชีวิตในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนครูจากโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลที่ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีในจังหวัดปัตตานียะลาและนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี.. 2547 ถึง.. 2552

-           จำนวนครูจากโรงเรียนสถานศึกษาของอิสลามเอกชนที่ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-           จำนวนของบุคลากรการศึกษาที่ไม่ใช่ครู (ผู้จัดการ ภารโรง  และลูกจ้างต่างๆที่ไม่ใช่ครู) จากโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลที่ถูกสังหาร ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนของบุคลากรการศึกษาที่ไม่ใช่ครู (ผู้จัดการภารโรง  และลูกจ้างต่างๆที่ไม่ใช่ครู) จากโรงเรียนสถานศึกษาของอิสลามเอกชนที่ถูกสังหารในจังหวัดปัตตานียะลาและนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี.. 2547 ถึง.. 2552

-           จำนวนของบุคลากรการศึกษาที่ไม่ใช่ครูจากโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลที่ได้รับบาดเจ็บจาการโจมตีในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนของบุคลากรการศึกษาที่ไม่ใช่ครูจากโรงเรียนสถานศึกษาของอิสลามเอกชนที่ได้รับบาดเจ็บจาการโจมตีในจังหวัดปัตตานียะลาและนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี.. 2547 ถึง.. 2552

-               จำนวนโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลที่ถูกจู่โจม โดยกองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-           จำนวนโรงเรียนสถานศึกษาของอิสลามเอกชนที่ถูกจู่โจม โดยกองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-           จำนวนโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาล ที่ได้รับการคุ้มครอง โดยกองกำลังหน่วยรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล (ตำรวจ หน่วยกำลังเสริม หรือกองทัพ) เข้าไปอยู่ภายในพื้นที่ของโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-           จำนวนโรงเรียนสถานศึกษาของอิสลามเอกชนที่ได้รับการคุ้มครอง โดยกองกำลังหน่วยรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล (ตำรวจ หน่วยกำลังเสริม หรือกองทัพ) เข้าไปอยู่ภายในพื้นที่ของโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนโรงเรียนสถานศึกษาของรัฐบาลที่กองกำลังหน่วยรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล (ตำรวจ หน่วยกำลังเสริม หรือกองทัพ) ใช้เป็นที่ตั้งฐาน หรือ ค่าย อยู่ภายในพื้นที่ของโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-               จำนวนโรงเรียนสถานศึกษาของอิสลามเอกชน ที่กองกำลังหน่วยรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล (ตำรวจ หน่วยกำลังเสริม หรือกองทัพ) ใช้เป็นที่ตั้งฐาน หรือค่าย อยู่ภายในพื้นที่ของโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในแต่ละปี  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

-           ระยะเวลาโดยเฉลี่ยของการคุ้มครองโรงเรียนสถานศึกษาโดยกองกำลังหน่วยรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล (ตำรวจ หน่วยกำลังเสริม หรือกองทัพ) เข้าไปตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552

ท่านผู้ว่าฯ  ธานนเวชกรกานนท์

ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส

ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส

ถนนพิชิตบำรุง  อำเภอเมือง 

จังหวัดนราธิวาส 96000

ประเทศไทย

แฟกซ์ +66 73 514 320 ต่อ 76, 029

วันที่ 4 พฤษภาคม 2553

เรื่อง งานวิจัยของ  Human Rights Watch  เกี่ยวกับจังหวัดนราธิวาส

เรียน ท่านผู้ว่าฯ ธานน เวชกรกานนท์

ขณะนี้ Human Rights Watch กำลังทำการวิจัย ถึงผลกระทบการศึกษาของเด็กในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีสาเหตุมาจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นขณะนี้ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ในไม่ช้านี้ เราจะเผยแพร่รายงานตามข้อมูลที่รวบรวมได้จากทำการวิจัย ระหว่าง เดือนมีนาคม และ เมษายน ก่อนที่เราจะเผยแพร่รายงานฉบับนี้ ออกไป เราขอความกรุณาท่านได้โปรดพิจารณา และแสดงความคิดเห็น ในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้มั่นใจว่าเราได้สะท้อนมุมมองของท่านให้ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้

Human Rights Watch เป็นองค์กรอิสระองค์กรหนึ่ง ที่อุทิศตนเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของรัฐ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2521 Human Rights Watch เป็นองค์กรที่ค้นหาความจริง ความถูกต้อง  ายงานด้วยความยุติธรรม  การใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินการตามเป้าหมาย ซึ่งจะร่วมมือกับกลุ่มสิทธิมนุษยชนในประเทศนั้นๆ  ในแต่ละปี Human Rights Watch เผยแพร่รายงานมากกว่า 100 ฉบับและบรรยายสรุปเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้กับ 80 ประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราใคร่ขอความกรุณาจากท่านในการอนุเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้:

1)       ผลกระทบอะไรบ้างที่ท่านประเมิน ในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กในจังหวัดนราธิวาส จากการเข้าโจมตีโรงเรียน ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ

2)       ผลกระทบอะไรบ้างที่ท่านประเมิน ในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กในจังหวัดนราธิวาส จากการทำร้ายครู ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ

3)       ผลกระทบอะไรบ้าง ที่ท่านประเมิน ในการเข้าถึงการศึกษา ของเด็ก จากการเข้าไปตั้งอยู่ของกองกำลังรักษาความปลอดภัย (ตำรวจ  ทหาร หรือ กลุ่ม แนวร่วม) ภายในบริเวณโรงเรียน

4)       ผลกระทบอะไรบ้าง ที่ท่านประเมิน ในการเข้าถึงการศึกษาของเด็ก จากการตรวจค้นและจู่โจม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม หรือปอเนาะ โดยกองกำลังรักษาความความปลอดภัย

สุดท้ายนี้ เราจักขอบพระคุณอย่างยิ่ง ในการอนุเคราะห์ตัวเลขสถิติรายการข้างล่าง  เพื่อให้เราสามารถแสดงสถานการณ์ที่ถูกต้องในจังหวัดนราธิวาส เพื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในชายแดนภาคใต้

สถิติเกี่ยวกับกองกำลังรักษาความความปลอดภัย ภายในบริเวณโรงเรียน :

1)       นับจากเดือนเมษายน 2553   จำนวนโรงเรียน ที่มีกองกำลังรักษาความปลอดภัย (ตำรวจ  ทหาร หรือ กลุ่มแนวร่วม) มาตั้งฐานปฎิบัติการ และดำเนินการ 24 ชั่วโมงภายในบริเวณโรงเรียน โดยมีเป้าหมายหลัก เพื่อคุ้มครองโรงเรียน หรือครู

2)       นับจากเดือนเมษายน 2553  จำนวนโรงเรียน ที่มีกองกำลังรักษาความปลอดภัย (ตำรวจ  ทหาร หรือ กลุ่มแนวร่วม) มาตั้งฐานปฎิบัติการและดำเนินการ 24 ชั่วโมงภายในบริเวณโรงเรียน โดยมีเป้าหมายอื่นๆนอกจากเพื่อคุ้มครองโรงเรียน หรือครู

3)       ระยะเวลาโดยเฉลี่ย ในการคุ้มครองโรงเรียนโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัย (ตำรวจ  ทหาร หรือ กลุ่มแนวร่วม) ที่ตั้งฐานปฎิบัติการอยู่ภายในบริเวณโรงเรียน ในจังหวัดนราธิวาส

สถิติเกี่ยวกับความรุนแรงต่อบุคลากรทางการศึกษา และทรัพย์สิน :

1)       นับจากเดือนเมษายน 2553  จำนวนโรงเรียนที่ครูได้รับการคุ้มครองจากกองกำลังรักษาความปลอดภัย (ตำรวจ  ทหาร หรือ กลุ่มแนวร่วม)  ในการเดินทางระหว่างที่พักและโรงเรียน

2)       จำนวนโรงเรียนรัฐบาล ที่ได้รับความเสียหายจากการโจมตีในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

3)       ระยะเวลาเฉลี่ยในการซ่อม หรือ บูรณะ โรงเรียนที่ได้รับความเสียหายจากการโจมตี ในจังหวัดนราธิวาส

4)       จำนวนครูที่ถูกฆ่าตาย และจำนวนครูที่ได้รับความบาดเจ็บจากโรงเรียนรัฐบาล  ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

5)       จำนวนครูที่ถูกฆ่าตายและจำนวนครูที่ได้รับความบาดเจ็บ จากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

6)        จำนวนบุคลากรที่ไม่เกี่ยวกับการศึกษาที่ถูกฆ่าตายและที่ได้รับความบาดเจ็บ (เช่น ผู้จัดการ ภารโรง พนักงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่ครู) จากโรงเรียนรัฐบาล ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

7)       จำนวนบุคลากรที่ไม่เกี่ยวกับการศึกษาที่ถูกฆ่าตาย และที่ได้รับความบาดเจ็บ จากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม   ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

8)       จำนวนโรงเรียนรัฐบาลที่ถูกตรวจค้นหรือจู่โจม โดยกองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

9)       จำนวนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ถูกตรวจค้นหรือจู่โจม โดยกองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐบาล ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

สถิติเกี่ยวกับการศึกษาในจังหวัดนราธิวาส :

1)       จำนวนโรงเรียนรัฐบาลและจำนวนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552

2)       จำนวนโรงเรียนรัฐบาลทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนและจำนวนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียน ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552

3)       จำนวนรายชื่อนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลและจำนวนรายชื่อนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552

4)       จำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลและจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552

5)       จำนวนครูที่เข้าสอนในโรงเรียนรัฐบาลและจำนวนครูที่เข้าสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552

6)       จำนวนอัตราส่วนครูต่อนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาล และ จำนวนอัตราส่วนครูต่อนักเรียน ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552

7)       จำนวนครูที่เข้า-ออกในโรงเรียนรัฐบาล และจำนวนครูที่เข้า-ออกในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดนราธิวาส ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552

ข้อมูลใดที่ท่านสามารถให้เราได้ภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2552 ข้อมูลนั้นจะปรากฏอยู่ในรายงานฉบับต่อไปของเราได้ทันเวลา  ท่านสามารถติดต่อเราได้ทางอีเมลล์ที่ bede.sheppard @ hrw.org โดยแฟกซ์ +1 212 736 1300   หรือทางไปรษณีย์ส่งมาที่ Human Rights Watch, 350 Fifth Avenue, 34th floor, New York, NY 10118-3299, USA

ขอแสดงความนับถือ

Bede Sheppard

Asia Researcher

แผนกสิทธิเด็กและเยาวชน

Human Rights Watch

ท่านผู้ว่าฯ  ธานน เวชกรกานนท์

ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี

ศาลากลางจังหวัดปัตตานี

ถนนเดชา  อำเภอเมือง 

จังหวัดปัตตานี 9400

ประเทศไทย

แฟกซ์ +66 73 514 320 ต่อ 76, 029

วันที่ 4 พฤษภาคม 2553

เรื่อง งานวิจัยของ  Human Rights Watch  เกี่ยวกับจังหวัดนราธิวาส

เรียน ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ธานน เวชกรกานนท์

ขณะนี้ องค์กรสิทธิมนุษย์ชนสากลกำลังทำการวิจัย ถึงผลกระทบในการศึกษาของเด็กในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีvสาเหตุมาจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นขณะนี้ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเร็วๆ เราจะเผยแพร่รายงานนตามข้อมูลที่รวบรวมได้จากทำการวิจัย ระหว่าง เดือนมีนาคม และ เมษายน ก่อนที่เราจะเผยแพร่รายงานฉบับนี้  เราขอความกรุณาท่านได้โปรดพิจราณา และแสดงความคิดเห็น ในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้มั่นใจว่าเราได้สะท้อนมุมมองของท่านให้ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้

องค์กรสิทธิมนุษย์ชนสากล  เป็นองค์กรอิสระหนึ่ง ที่อุทิศตนเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน องค์กรสิทธิมนุษย์ชนสากล เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของรัฐ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2521 องค์กรสิทธิมนุษย์ชนสากล   เป็นองค์กรที่แสวงหาความจริง ความถูกต้อง  รายงานด้วยความยุติธรรม  การใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินการตามเป้าหมาย ซึ่งจะร่วมมือกับกลุ่มสิทธิมนุษยชนในประเทศนั้น ในแต่ละปี องค์กรสิทธิมนุษย์ชนสากล   เผยแพร่รายงานมากกว่า 100 ฉบับและบรรยายสรุปเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้กับ 80 ประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราขอความกรุณาจากท่านในการอนุเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้:

1) ผลกระทบที่ท่านประเมิน ต่อเด็กในการเข้าถึงการศึกษาในจังหวัดนราธิวาส จากการทำลายโรงเรียน ของกลุ่มผู้ก่อการร้าย

 2) ผลกระทบที่ท่านประเมิน ต่อเด็กในการเข้าถึงการศึกษาในจังหวัดนราธิวาส จากการทำร้ายครู ของกลุ่มผู้ก่อการร้าย

3) ผลกระทบที่ท่านประเมินต่อเด็กในการเข้าถึงการศึกษา จากการเข้าไปตั้งอย่กองกำลังรักษาความมั่นคง (ตำรวจ  ทหาร หรือ กลุ่ม  แนวร่วม) ภายในบริเวณโรงเรียน

4) ผลกระทบที่ท่านประเมินต่อเด็กในการเข้าถึงการศึกษา จากการตรวจค้นและจู่โจม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม หรือปอเนาะ โดยกองกำลังรักษาความมั่นคงในพื้นที่

สุดท้ายนี้ เพื่อให้เราสามารถแสดงสถานการณ์ที่ถูกต้องในจังหวัดปัตตานี เพื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในชายแดนภาคใต้ เราขอขอบพระคุณในการอนุเคราะห์ให้ตัวเลขสถิติดังต่อไปนี้:

สถิติเกี่ยวกับกองกำลังรักษาความมั่นคงภายในบริเวณโรงเรียน :

1) นับจาก เดือน เมษายน 2553  จำนวนโรงเรียนที่มีกองกำลังรักษาความมั่นคง (ตำรวจ  ทหาร หรือ กลุ่มแนวร่วม) มาตั้งฐานปฎิบัตการและดำเนินการ 24 ชั่วโมง ภายในบริเวณโรงเรียนที่มีเป้าหมายหลักเพื่อป้องกันโรงเรียน หรือครู

2) นับจากเดือน เมษายน 2553  จำนวนโรงเรียนที่มีกองกำลังรักษาความมั่นคง (ตำรวจ  ทหาร หรือ กลุ่มแนวร่วม) มาตั้งฐานปฎิบัตการและดำเนินการ 24 ชั่วโมงภายในบริเวณโรงเรียน ที่มีเป้าหมายอื่นๆนอกจาก เพื่อป้องกันโรงเรียน หรือครู อาทิ เช่นการดำเนินการในโรงเรียนประถมที่บ้านคลองช้าง อำเภอมาโย โรงเรียนประถมโคกตะโหนด อำเภอหนองจิก โรงเรียนประถมปะกาลือเซาะ บ้านลาอะ โรงเรียนประถมปุลากาชิง อำเภอมาโย

3) ระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการป้องกันโรงเรียนโดยกองกำลังรักษาความมั่นคง (ตำรวจ  ทหารหรือกลุ่มแนวร่วม) ที่ตั้งฐานปฎิบัตการอยู่ภายในบริเวณโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี

สถิติเกี่ยวกับความรุนแรงต่อบุคลากรทางการศึกษา และทรัพย์สิน :

1) นับจาก เดือน เมษายน 2553  จำนวนโรงเรียนที่ครูได้รับการคุ้มครองจากกองกำลังรักษาความมั่นคง (ตำรวจ  ทหาร หรือ กลุ่มแนวร่วม)  ในการเดินทางระหว่างที่พักและโรงเรียน

2) จำนวนโรงเรียนรัฐบาลที่ได้รับความเสียหายจากการโจมตี ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

3) ระยะเวลาเฉลี่ยในการซ่อม หรือ บูรณะ โรงเรียนที่ได้รับความเสียหายจากการโจมตี ในจังหวัดปัตตานี

4) จำนวนครูที่ถูกฆ่าตาย และจำนวนครูที่ได้รับความบาดเจ็บ จากโรงเรียนรัฐบาล  ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

5) จำนวนครูที่ถูกฆ่าตาย และจำนวนครูที่ได้รับความบาดเจ็บ จากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

6) จำนวนบุคลากรที่ถูกฆ่าตายและจำนวนบุคลากรที่ได้รับความบาดเจ็บ ที่ไม่เกี่ยวกับการศึกษา (เช่น ผู้จัดการ ภารโรง พนักงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่ครู) จากโรงเรียนรัฐบาล ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

7) จำนวนบุคลากรที่ถูกฆ่าตายและจำนวนบุคลากรที่ได้รับความบาดเจ็บ ที่ไม่เกี่ยวกับการศึกษา  จากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

8) จำนวนโรงเรียนรัฐบาล ที่ถูกตรวจค้นหรือจู่โจม โดยกองกำลังรักษาความมั่นคงของรัฐบาล ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552

9) จำนวนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ถูกตรวจค้นหรือจู่โจม โดยกองกำลังรักษาความมั่นคงของรัฐบาล ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2547 ถึง 2552 

สถิติเกี่ยวกับการศึกษาในจังหวัดนราธิวาส :

1) จำนวนโรงเรียนรัฐบาลและจำนวนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552

2) จำนวนโรงเรียนรัฐบาลทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียน และจำนวนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียน ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552 

3) จำนวนรายชื่อนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาล และจำนวนรายชื่อนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552 

4) จำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาล และจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552

5) จำนวนครูที่เข้าสอนในโรงเรียนรัฐบาล และจำนวนครูที่เข้าสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552

6) จำนวนอัตราส่วนครูต่อนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาล แลจำนวนอัตราส่วนครูต่อนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552

 7) จำนวนครูที่เข้า-ออกในโรงเรียนรัฐบาล และจำนวนครูที่เข้า-ออกในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดปัตตานี ในแต่ละปี ระหว่างปี 2542 ถึง 2552 

ข้อมูลใดที่ท่านได้ให้เรา ณ. วันที่ 10 มิถุนายน 2552 จะมาถึงเราทันเวลาที่ข้อมูลนั้นจะปรากฏอยู่ในรายงานฉบับต่อไปของเรา ท่านสามารถติดต่อเราได้ทางอีเมลที่ bede.sheppard @ hrw.org โดยแฟกซ์ +1 212 736 1300 หรือทางไปรษณีย์ที่ Human Rights Watch, 350 Fifth Avenue, 34th floor, New York, NY 10118-3299, USA

ขอแสดงความนับถือ

 

Bede Sheppard

Asia Researcher

แผนกสิทธิเด็กและเยาวชน

Human Rights Watch

คำขอบคุณ

รายงานฉบับนี้เขียนโดย Bede Sheppard  นักวิจัยอาวุโส แผนกสิทธิเด็กและเยาวชน  Human Rights Watch รายงานการวิจัยโดยผู้เขียน และ นักวิจัยอาวุโสฝ่ายภาคพื้นเอเชีย คุณสุนัย ผาสุก

รายงานการวิจัยนี้แก้ไขโดย Zama Coursen - Neff รองผู้อำนวยการฝ่ายสิทธิเด็ก  คุณสุนัย ผาสุก  นักวิจัยอาวุโสฝ่ายภาคพื้นเอเชีย Phil Robertson รองผู้อำนวยการฝ่ายภาคพื้นเอเชีย James Ross ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายและนโยบายและ Robin Shulman ที่ปรึกษาสำนักงาน

Kyle Knight ผ้ประสานงานในฝ่ายสิทธิเด็ก ให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขและการผลิต  Anna Lopriore ผู้จัดการแผนกสร้างสรรค์ความคิด Ella Moran ผู้จัดการแผนกวิดีโอและการถ่ายภาพ  Grace Choi  ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งพิมพ์ และ Fitzroy Hepkins ผู้จัดการพัสดุภัณฑ์  ให้ความช่วยเหลือในการผลิต

[1]การโจมตีของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเป็นการละเมิดกฎหมายทางอาญาไทย เช่นการฆาตรกรรม (ประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย มาตราที่288 และการทำลายทรัพย์สินโดยการลอบวางเพลิงหรือการใช้วัตถุระเบิด (มาตรา 218-224, และ 335).

[2]สำหรับการสนทนาในส่วนของการบังคับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่รัฐไม่ใช่กลุ่มติดอาวุธ  ให้จากคณะกรรมการกาชาดสากล (ICRC), Henckaerts และ Doswald - Beck, EDS., กฎหมายมนุษยธรรมตามจารีตประเพณีระหว่างประเทศ (Cambridge: Cambridge Univ. กด 2005) หน้า 497-98

[3]อ้าง กฎข้อ อ้างถึงสนธิสัญญาเพิ่มเติมเพื่ออนุสัญญาเจนีวา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 และเกี่ยวโยงกับการคุ้มครองผู้เป็นเหยื่อของการขัดแย้งของกลุ่มติดอาวุธระหว่างประเทศ (สนธิสัญญา I) เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2520 มาตรา 48 และ 51(2)  สนธิสัญญาเพิ่มเติมเพื่ออนุสัญญาเจนีวา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 และเกียวโยงกับการคุ้มครองผู้เคราะห์ร้ายจากการขัดแย้งของกลุ่มติดอาวุธภายในประเทศ (สนธิสัญญา II) ของวันที่ 8 มิถุนายน 2520 มาตรา 13(2)

[4]ICRC, คณะกรรมการกาชาดสากล  กฎหมายมนุษยธรรมตามจารีตประเพณีระหว่างประเทศ กฎข้อ 5 อ้างถึงสนธิสัญญามาตรา 50

[5]ดูที่ สนธิสัญญามาตรา 50(1) คณะกรรมการกาชาดสากล  กฎหมายมนุษยธรรมตามจารีตประเพณีระหว่างประเทศ กฎข้อ 16 (กลุ่มคนที่มีความขัดแย้ง ต้องทำทุกวิถีทางที่ทำได้เพื่อตรวจสอบว่ากลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มที่มีวัตถุประสงค์ทางทหาร) อ้างถึง สนธิสัญญา I มาตรา 57(2)(เอ) ปี 2542 สนธิสัญญาครั้งที่ 2 ไปถึงปี 2547 Hague Convention เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรม มาตรา 7

[6]ICRC,คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ  กฎหมายมนุษยธรรมจารีตประเพณีระหว่างประเทศ กฎข้อ 7 และ ข้อ 9 อ้างถึง สนธิสัญญาต่างๆ และหลักฐานการปฎิบัติอื่นๆ ของรัฐ

[7]อ้าง  กฎข้อ 2 อ้างถึง สนธิสัญญา II มาตรา 13(2)

[8]ICRC, Customary International Humanitarian Law, chapters 1 and 2, citing, for example, Protocol Additional to the Geneva Conventions of 12 August 1949, and Relating to the Protection of Victims of Non-International Armed Conflicts (Protocol II) (adopted June 8 1977, and entered into force December 7, 1978), art. 13. See also Protocol I, art. 52(3) on the general protection of civilian objects: “In case of doubt whether an object which is normally dedicated to civilian purposes, such as a place of worship, a house or other dwelling or a school, is being used to make an effective contribution to military action, it shall be presumed not to be so used.”

[9]ดูที่ ICRCคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ  กฎหมายมนุษยธรรมจารีตประเพณีระหว่างประเทศ กฎข้อ22  อ้างถึง สนธิสัญญาI มาตรา 58(ซี) และกฎข้อ 24 อ้างถึงสนธิสัญญา I มาตรา 58(เอ)

[10]ดูที่อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) นำมาใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2532 G.A. Res. 44/25 ภาคผนวก 44 U.N GAOR Supp. (ฉบับที่  49) at 167, U.N. Doc. A/44/49 (2532) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2533 มาตรา 28(เอ) นำมาบังคับใช้ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2534  กติกาสากลว่าด้วยสิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR), นำมาใช้เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2509 G.A. Res. 2200A (XXI), 21 U.N. GAOR Supp. (ฉบับที่  16) at 49, U.N. doc. A/6316 (1966), 993 U.N.T.S. 3, มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2519 และไทยนำมาใช้บังคับ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2542

[11]ดูที่ คณะกรรมการกาชาดสากล  กฎหมายมนุษยธรรมตามจารีตประเพณีระหว่างประเทศ กฎข้อ135 อ้างถึงสนธิสัญญาII มาตรา 4(3)

[12]อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) นำมาใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2532 G.A. Res. 44/25 ภาคผนวก 44 U.N. GAOR Supp. (ฉบับที่  49) at 167 U.N. Doc.  A/44/49 (2532) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2533 มาตรา 38  ประเทศไทยอนุมัติให้ใช้ CRC ในปี 2535

[13]ดูรายละเอียดของประวัติศาสตร์ความพยายายามของรัฐบาลที่จะเข้าไปควบคุมการศึกษาของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ในภาคใต้ของประเทศไทย  ที่ Joseph Chinyong Liow  อิสลาม การศึกษา และการปฎิรูปการศึกษาที่ภาคใต้ของประเทศไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี และการเปลี่ยนแปลง จากสถาบันเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2552 หน้า 12-47

[14]สำหรับการอภิปรายในเรื่องประวัติศาสตร์ของลัทธิแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดูที่  สุรินทร์  พิศสุวรรณ  จากหนังสือ อิสลาม และชาตินิยมมาเลย์  เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาของชาวมาเลย์มุสลิมที่อยู่ทางภาคใต้ ของประเทศไทย (กรุงเทพ : สถาบันไทยคดีศึกษา ปี 2528); อุทัย ดุลยเกษม มาเลย์มุสลิมในภาคใต้ ของประเทศไทย: ปัจจัยอ้างอิงการก่อจลาจลทางการเมือง”  ใน  Lim Joo Jock และ  Vani S, eds. ลัทธิแบ่งแยกดินแดนติดอาวุธ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (สิงคโปร์: Institute of Southeast Asian Studies Regional Strategic Studies Program ปี 2527) หน้า 220-222; ธเนศร์  อัมพรสุวรรณ ความเป็นมาของของมาเลย์มุสลิม ลัทธิแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ของประเทศไทย”  รายงานของสถาบันวิจัยเอเซีย เลขที่ 32 ปี 2548;  สุภัทรา จันทร์ชิดฟ้า ความรุนแรงในหมอก (กรุงเทพ : กบไฝ 2548) หน้า 273-274

[15]สำหรับรายละเอียดข้อมูลของการโจมตี ดูที่ ศุภลักษณ์ กาญจนคุณดี และ ดอน พาธาน สันติภาพในเปลวเพลิง

(กรุงเทพ : หนังสือเนชั่นปี2547) หน้า16-30

สำหรับรายละเอียดข้อมูลของการโจมตีดูที่ศุภลักษณ์กาญจนคุณดีและดอนพาธานสันติภาพในเปลวเพลิง

(กรุงเทพ : หนังสือเนชั่นปี2547) หน้า16-30

[16]อ้าง

[17]ผู้บัญชาการอาวุโสซึ่งเกษียรแล้วของ กลุ่มพูโล ที่ยังคงติดต่อกับสมาชิกคนอื่นๆ ในรุ่นก่อนหน้าของนักรบแบ่งแยกดินแดน บอก Human Right Watch: ว่า "พวกเขาเรียกตัวเองว่านักต่อสู้ และมีความโหดเหี้ยมมากกับสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่... ฉันเป็นคนที่รักชาตินิยมมาก [ชาวมาเลย์มุสลิม] และยังคงฝันที่จะปลดปล่อยปัตตานีดารุลสลาม [แผ่นดินอิสลามในปัตตานี] ฉันจะไม่ลังเลที่จะใช้อาวุธที่จะต่อสู้อีกครั้ง แต่ไม่เหมือนแบบนี้ ไม่ใช่วิธีการของคนรุ่นนี้ที่กำลังปฎิบัติการอยู่ ดูเหมือนว่าพวกเขาฆ่าคนเพียงเพื่อสร้างความกลัว เพื่อเพิ่มอำนาจ และการควบคุมคนของเรา [ชาวมาเลย์มุสลิม] เราไม่เคยฆ่าพระสงฆ์ หรือ พลเรือนไทยผู้บริสุทธิ์ วัดพุทธ และ บรรดาครูของโรงเรียนไม่เคยถูกรบกวน หากทุกคนในหน่วยของฉันถูกจับได้ว่าละเมิดกฎเหล่านี้โดยทำร้ายผู้บริสุทธิ์ หรือโจมตีเป้าหมายที่ไม่สมเหตุผล พวกเขาก็จะถูกสอบสวนและลงโทษโดยสภาผู้อาวุโสของเรา... คนหนุ่มเหล่านี้ไม่ได้รับการแนะนำที่ถูกต้องจากผู้ใหญ่ที่มีความรู้ และมักจะปฎิบัติการตามความคิดของตนเองเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 Human Right Watchได้สัมภาษณ์ นาย เปาะ ม. จังหวัดนราธิวาส หนึ่งในอดีตผู้บัญชาการท้องถิ่นกลุ่ม พูโล พูดด้วยความเกลียดชังต่อการปฎิบัติการของการฆ่าพลเรือนไทยพุทธในปัจจุบัน บอกกับ Human Right Watch"ไม่ใช่หน้าที่ของเราที่เรียกพวกเขาว่าคนนอกศาสนาเพียงเพราะเขาเป็นคนไทยพุทธ พระเจ้าเท่านั้นที่รู้จริงว่าใครป็นผู้ปฎิเสธ [ของศาสนาอิสลาม] เราไม่อยู่ในตำแหน่งที่จะตัดสินพวกเขาและพิพากษาพวกเขาให้ตาย พวกเขาส่วนใหญ่เป็นคนดีที่อยู่ร่วมกับเราในหมู่บ้านเดียวกันมาหลายสิบปีด้วยมิตรภาพและความสุภาพ... เด็กๆของเราเติบโตขึ้นมาและก็เล่นกับเด็กๆของพวกเขา แต่ตอนนี้เด็กๆของเรากำลังฆ่าพวกเขา และเผาบ้านของพวกเขา นักรบเหล่านั้นได้ทำร้าย และฆ่าพระสงฆ์ นั้นไม่เคยเกิดขึ้นเมื่อผมใช้ชีวิตต่อสู้อยู่ในป่า พระสงฆ์เป็นคนของศาสนาและไม่สมควรถูกทำร้าย” Human Right Watchได้สัมภาษณ์ นาย บอร์ ฮ. จังหวัดนราธิวาส เมื่อ 26 ธันวาคม 2549

[18]รายงานในเดือน สิงหาคม 2550 เรื่อง "ไม่มีใครที่จะได้รับความปลอดภัย" Human Right Watchให้รายละเอียดการละเมิดสิทธิมนุษย์ที่กระทำต่อพลเรือนโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดน

[19] “8,000 attacks in past six years,” Bangkok Post, August 26, 2010.

"การลอบโจมตี8,000ครั้งในรอบหกปีที่ผ่านมา" หนังสือพิมพ์บางกอกโพสท์วันที่26 สิงหาคม2553

[20]Human Right Watchแสดงเอกสารฉบับหนึ่ง เป็นรายงานของรัฐบาลที่ดำเนินการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เหมาะสมในภาคใต้ เมื่อ เดือนมีนาคม 2550 เรื่องมันเป็นเหมือนการหายไปของลูกชายฉันอย่างฉับพลัน ซึ่งให้รายละเอียดของการ หายตัวโดยใช้กำลัง และใช้มาตรการที่ผิดกฎหมายอื่นๆ โดยกองกำลังรักษาความปลอดภัย

[21]วันที่ 28 เมษายน 2547 กลุ่มก่อการร้าย กว่า 100 ชีวิต ดำเนินการร่วมโจมตี 11 เป้าหมาย ซึ่งเป็นสถานที่ราชการ และหน่วยรักษาความปลอดภัย ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และสงขลา การโจมตีลงเอยโดยการโอบล้อมมัสยิดกรือแสะ ที่เป็นมัสยิดประวัติศาตร์ ในจังหวัด ปัตตานี เวลา 6 โมงเช้า กองกำลังรักษาความปลอดภัยไทยเริ่มปิดล้อมรอบมัสยิด การยกเลิกคำสั่งตามคำแนะนำของ พลเอก ชวลิต ทำให้หมดหนทางในการเจรจา พลเอก พัลลภ ปิ่นมณี รองผู้อำนวยการหน่วยบัญชาการความมั่งคงภายใน สั่งกองกำลังเข้ายึดมัสยิด เวลา 14:00 นาฬิกา ทำให้มีผู้เสียชีวิตที่อยู่ภายในมัสยิดรวมทั้งหมด 32 คน ใน เดือนกรกฎาคม ปี 2547 รัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการการสอบสวน สรุปได้ว่าหากกองกำลังรักษาความปลอดภัยวางกำลังโอบล้อมที่มัสยิดและรอบๆนั้น และยังเจรจากับกลุ่มก่อการร้ายภายใน กลุ่มก่อการร้ายอาจจะยอมจำนนในที่สุด แต่รัฐบาลยังไม่ได้เริ่มต้นการสอบสวนทางอาญาของเหตุการณ์นี้ สำหรับรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโปรดดูที่ "รายงานฉบับสุดท้ายของรัฐบาลที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีมัสยิดกรือแสะ" วันที่ 26 กรกฎาคม 2547

[22]วันที่ 25 ตุลาคม 2004 ระหว่างช่วงเดือนถือศีลอดรอมฎอนของชาวมุสลิม กองกำลังรักษาความปลอดภัยได้ใช้ความรุนแรง มีทั้งปืนใหญ่ แก๊สน้ำตา ตะบอง และกระสุนจริง เพื่อสลายผู้ชุมนุมที่อยู่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ ในจังหวัดนราธิวาส ผู้ประท้วง 7 คน เสียชีวิตจากบาดแผลถูกลูกกระสุนปืนที่ศีรษะ ประมาณ 1,300 คน ถูกจับกุมและนำตัวไปค่ายอิงคายุทธ จังหวัดปัตตานี โดยรถบรรทุกทหาร เพื่อสอบสวน มีหลายคนถูกเตะและตีด้วยตะบอง และ ท้ายปืนยาว ขณะที่พวกเขานอนราบลงบนพื้น  พร้อมกับมือทั้งสองถูกผูกมัดไว้ด้านหลัง พวกเขาถูกโยนกองซ้อนๆกันมาก ถึงห้าหรือหกชั้น ในรถบรรทุกทหาร และห้ามเคลื่อนย้าย หรือส่งเสียงรบกวน เมื่อรถมาถึงที่ค่ายอิงคายุทธ พบว่าผู้ถูกกักขัง 78 คน ขาดลมหายใจ หรือทับกันตาย สำหรับรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโปรดดูที่ "รายงานฉบับสุดท้ายของรัฐบาลที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระหาข้อเท็จจริงในกรณีเหตุการณ์ร้ายแรงที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส" วันที่ 17 ธันวาคม 2547

[23]Human Right Watchได้ออกมากล่าวซ้ำอย่างกังวลว่าพระราชกำหนดซึ่งให้อำนาจพิเศษในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นการจำกัดหรือริดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ที่มีการรับรองตามกติการะหว่างประเทศในประมวลกฎหมายแพ่งและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ตามรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย และกฎหมายไทย เป็นอำนาจที่ขัดแย้งกันมากที่สุดภายใต้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินในบทบัญญัติการจับกุม และกักขัง เราเกรงว่ารัฐบาลกำลังใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยกักกันคน โดยไม่ตั้งข้อหาได้ถึง 30 วัน ในสถานกักขังที่ไม่เป็นทางการ พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินริดรอนสิทธิ์ในการคัดค้านการกักขังก่อนขึ้นศาล (หมายศาล) นอกจากนี้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่มีการกำกับดูแลอย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการละเมิดและการกระทำผิด แตกต่างจากกฎหมายอาญาของประเทศไทย พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินไม่รองรับการมีที่ปรึกษาทางกฎหมาย และการพบสมาชิกในครอบครัว หรือการป้องกันที่มีประสิทธิภาพของฝ่ายตุลาการ และ บริหารต่อการกระทำผิดต่อผู้ถูกกุมขัง ซึ่งป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ Human Right Watchพบว่าความเสี่ยงของการละเมิดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อผู้ถูกกุมขังขาดการติดต่อกับผู้อื่น จะมีขึ้นในสถานที่ที่ไม่เป็นทางการ และภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่มักจะขาดการฝึกอบรมและประสบการณ์ในการบังคับใช้กฎหมายพลเรือน

Human Right Watchยังเป็นกังวลเกี่ยวกับบทบัญญัติคุ้มครองที่เปิดกว้างตามในพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินแม้แต่ในรัฐซึ่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชนควรมีวิธีที่จำกัดข้อคัดค้านอย่างมีประสิทธิภาพของสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพก่อนอำนาจตุลาการที่เป็นอิสระแต่ตามมาตรา17แห่งพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินให้ขยายความคุ้มครองที่ไม่จำเป็นจากความรับผิดทางอาญาทางแพ่งและทางวินัยสำหรับเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามอำนาจฉุกเฉินพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดให้โจทก์มีหน้าที่พิสูจน์พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้กระทำอย่าง "สุจริตมีความลำเอียง" และไม่เหมาะสม" การคุ้มครองนี้กำหนดอยู่ในประกาศของรัฐบาลหลายสมัย  เพื่อแสดงให้เห็นจุดยืนในการยุติข้อผิดrพลาดและยกเว้นโทษการกระทำผิดของผู้รับผิดชอบทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งและพันธมิตรของพวกเขาโดยยึดหลักการสร้างสันติภาพและการประนีประนอมทางการเมืองในประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญ

บัญญัติข้อ4 ของกติการะหว่างประเทศในประมวลกฎหมายแพ่งและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) หากในช่วงเวลาสาธารณะภัยฉุกเฉินซึ่ง "คุกคามชาติ" และประกาศอย่างเป็นทางการว่าด้วยสิทธิบางอย่างอาจจะถูกจำกัด" เท่าที่จำเป็นตามเหตุฉุกเฉินของสถานการณ์ตามคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบการปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศในประมวลกฎหมายแพ่งและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) มาตรการใดๆที่จำกัดสิทธิจะต้องแสดงระยะเวลาการคุ้มครองทางภูมิประเทศร์และขอบเขตของความฉุกเฉินและที่เป็นสัดส่วนกับภัยคุกคามเพิ่มเติมบทบัญญัติที่สำคัญของกติการะหว่างประเทศในประมวลกฎหมายแพ่งและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) เกี่ยวกับสิทธิในการดำรงชีวิตอิสระจากการทรมานหรือความโหดร้ายทารุณหรือการดูถูกเหยียดหยามหรือการลงโทษและเสรีภาพแห่งความคิดทางมโนธรรมและศาสนาไม่ว่าในสถานการณ์ใดจะไม่ถูกจำกัดการจำกัดสิทธิ์โดยไม่มีเหตุผลในเสรีภาพหรือเบี่ยงเบนจากหลักการพื้นฐานของการทดลองใช้งานรวมถึงข้อสันนิษฐานของผู้บริสุทธิ์จะไม่ได้รับอนุญาต

[24]และดูใน กลุ่มวิกฤติระหว่างประเทศ "ภาคใต้ของประเทศไทย: ความเคลื่อนไหวต่อการแก้ปัญหาทางการเมือง?" Asia Report เลขที่ 181 วันที่ 8 ธันวาคม 2552

[25]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณ ฮานิซะห์ ค. ผู้ปกครอง อำเภอเมือง จังหวัด ปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[26]Human Rights Watch สัมภาษณ์ครูใหญ่โรงเรียนอิสลามแสงธรรมวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม 2553

[27]ส่งอีเมลถึง Human Rights Watch จากเจ้าหน้าที่กระทรวงการศึกษาธิการ วันที่ 20 มิถุนายน 2553

[28]ดูอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) นำมาใช้ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2532 GA Res 44/25 ภาคผนวก 44 U.N. GAOR Supp. (ฉบับที่ 49) ที่ 167, UN Doc A/44/49 (2532) บังคับใช้ วันที่ 2 กันยายน 2533 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก CRC วันที่ 27 มีนาคม 2535 ข้อ 29 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก CRC กล่าว

ว่าการศึกษาควรจะมุ่งไปที่วัตถุประสงค์พื้นฐานดังต่อไปนี้ () การพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กความคิดและจิตใจและความสามารถทางกายภาพอย่างเต็มศักยภาพ () การพัฒนาในเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานและสำหรับเป็นหลักการบัญญัติในกฎบัตรของสหประชาชาติ () การพัฒนาในเรื่องการเคารพผู้ปกครองของเด็กเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองภาษาและคุณค่าสำหรับคุณค่าแห่งชาติของประเทศที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ประเทศที่ซึ่งเขาหรือเธอถือกำเนิดและอารยธรรมที่แตกต่างจากของตนเอง () การเตรียมเด็กเพื่อให้ใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีสระภาพ  ทั้งในจิตวิญญาณของความเข้าใจสันติภาพความอดกลั้นความเสมอภาคทางเพศและมิตรภาพระหว่างทุกๆคนกลุ่มเชื้อชาติและศาสนาและคนพื้นเมืองดั้งเดิม () การพัฒนาการในเรื่องการเคารพในสภาพแวดล้อมธรรมชาติดูได้ทั่วไปในคณะกรรมการสิทธิเด็กความคิดเห็นเลขที่1, CRC/GC/2001/1 (2001)

[29]คณะกรรมการสิทธิเด็ก ความคิดเห็นทั่วไปเลขที่ 1 วรรคที่ 4

[30]อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก CRC ข้อ 30 :"ในบรรดาประเทศที่มีเชื้อชาติศาสนา หรือภาษาชนกลุ่มน้อย หรือมีคนพื้นเมืองเดิมอยู่ เด็กดังกล่าวที่เป็นชนกลุ่มน้อย หรือที่เป็นชนพื้นเมือง จะต้องไม่ถูกปฏิเสธในสิทธิของชุมชน ซึ่งสมาชิกคนอื่นๆในกลุ่มของเขาหรือเธอต้องยอมรับวัฒนธรรมของเขาหรือเธอ รวมทั้งการนับถือและการปฏิบัติศาสนกิจ หรือการใช้ภาษา

[31]ดูคณะกรรมการสิทธิเด็ก  "การสังเกตการการประชุม : พม่า" CRC/C/15/Add.69 (2540)  วรรคที่ 39 :"คณะกรรมการ ... ขอแนะนำให้รัฐภาคี จัดหาหนทางการแปลเอกสารของโรงเรียนเป็นภาษาชนกลุ่มน้อย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ให้กับพื้นที่ที่เหมาะสม โรงเรียนและครูโดยให้การศึกษในภาษาชนกลุ่มน้อย" คณะกรรมการสิทธิเด็กใน "การสังเกตการการประชุม : ปารากวัย"CRC/C/15/Add.75 (1997) วรรค 3 :"คณะกรรมการ ... ยอมรับกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ปี 2535 ที่ว่าในปีแรกของการเรียนการสอนต้องให้เป็นภาษาพื้นเมืองของนักเรียน" และ วรรค 46 :"คณะกรรมการแนะนำให้เจ้าหน้าที่ใช้ทุกมาตรการที่เหมาะสมเพื่อรับประกันการดำเนินงานอย่างเต็มที่ในการคุ้มครองสิทธิการศึกษาของเด็กโดยใช้ภาษาของตน "และคณะกรรมการสิทธิเด็ก"การสังเกตการการประชุม : สหราชอาณาจักร "CRC/C/15/Add.34 (2538) วรรค33 :"คณะกรรมการยังชี้ให้เห็นว่ารัฐภาคีให้การสนับสนุนเพิ่มเติมในการสอนภาษาไอริชในโรงเรียนในไอร์แลนด์เหนือ

[32]ดูคณะกรรมการสิทธิเด็ก "การสังเกตการการประชุม : เอสโตเนีย" CRC/C/15/Add.196 (2546) วรรค 53 : "รับประกันคุณภาพการเรียนการสอนภาษาเอสโตเนียน ให้เด็กๆที่เป็นชนกลุ่มน้อย เพื่อให้เด็กที่พูดภาษาชนกลุ่มน้อยสามารถเข้าร่วมในระดับเท่าเทียมกันมากขึ้นกับเด็กที่พูดภาษาเอสโตเนียน โดยเฉพาะในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น" และคณะกรรมการสิทธิเด็ก"การสังเกตการการประชุม : China,"CRC/C/15/Add.56 (2539) วรรค 19 :"[ใน] ทิเบตเขตปกครองตนเอง ... ความพยายามไม่เพียงพอที่จะทำให้การพัฒนาระบบการศึกษาสองภาษาซึ่งรวมถึงการสอนภาษาจีนอย่างเพียงพอ  ข้อบกพร่องเหล่านี้อาจทำให้คนทิเบตและนักเรียนชนกลุ่มน้อยอื่นๆเสียเปรียบ เมื่อใช้กับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา" และ วรรค 40 : "[คณะกรรมการแนะนำ] ว่าการตรวจสอบจะดำเนินมาตรการ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กในเขตปกครองตนเองทิเบต และเขตพื้นที่ชนกลุ่มน้อยอื่นๆ มีการรับประกันว่ามีโอกาสในการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับภาษา และวัฒนธรรมของตนเอง รวมทั้งการเรียนรู้ภาษาจีน ควรป้องกันเด็กจากการเลือกปฏิบัติ และเพื่อให้เข้าถึงการศึกษาที่สูงขึ้นบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน

[33]ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 คุณ อัครเดช จุริวเยอร์ ภารโรงโรงเรียนบ้านบางโกพูโล อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ถูกฆ่าโดยมือปืนผู้จ่โจมขณะที่เขาออกมาจากร้านน้ำชา และยิงเขาตาย "ความโหดร้ายในการเข่นฆ่าทำให้แผนการเดินทางลงไปภาคใต้ของคณะบุคคลสำคัญเปลี่ยนแปลงไป" หนังสือพิมพ์ The Nation (ประเทศไทย) วันที่ 23 มกราคม 2551 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551  มูซอ เหลายา ภารโรงของโรงเรียนบ้านสาคูถูกยิงเสียชีวิตในขณะขับรถ "ประเทศไทย : สามคนสามเหตุการณ์ถูกยิงเสียชีวิตในขณะขับรถอยู่ในจังหวัดยะลา" การสังเหตุการณ์ของ BBC Asia Pacific วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551

วันที่ 23 กรกฎาคม 2551 สมนึก ถนอมไกล คนขับรถโรงเรียนถูกยิงเสียชีวิตโดยคนซ้อนรถมอเตอร์ไซค์ ในระหว่างเดินทางไปรับนักเรียนในเขตอำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี "สามคนเสียชีวิต บาดเจ็บสอง ในภาคใต้ของประเทศไทย กองทัพออกคำเตือนให้ระวังการโจมตี" ข่าว AFP, วันที่ 24 กรกฎาคม 2551 "ความรุนแรงในภาคใต้ : ทหารสองนายที่ลาดตระเวนทางเท้าได้รับบาดเจ็บจากกับระเบิด" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่ 24 กรกฎาคม 2551 วันที่ 8 กันยายน 2551 ภารโรงไทยพุทธ อายุ 58 ปี ถูกฆ่าในระหว่างการเดินทางมาทำงานที่โรงเรียนในจังหวัดปัตตานี "ตายสอง บาดเจ็บสอง ความปั่นป่วนในภาคใต้ของประเทศไทย" ข่าว AFP, วันที่ 8 กันยายน 2551 อัสมี่ กุเดง ภารโรงโรงเรียนถูกยิงตายระหว่าง

เดินทางมาทำงานในตำบลกรงปีนัง จังหวัดยะลา วันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 "อีก 4 คน ถูกระเบิดเสียชีวิตในภาคใต้ของประเทศไทย : ตำรวจ" ข่าว AFP วันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 พรหม วิเชียรรัตน์ ภารโรงที่โรงเรียนสายบุรีปัตตานีถูกยิงตายระหว่างมาทำงานเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2552 "ภารโรงโรงเรียนถูกฆ่าในภาคใต้" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่ 15 มิถุนายน 2552 กลุ่มก่อการร้ายผู้ต้องสงสัยได้ยิง Mama Mina คนขับรถโรงเรียนเชื้อสายมุสลิมมาเลย์เสียชีวิต ในระหว่างทางไปรับเด็กนักเรียนในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 "คนขับรถถูกฆ่าเสียชีวิตต่อหน้าเด็กๆ" หนังสือพิมพ์Bangkok Post, วันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 มาหะมะ สาเล ภารโรงของโรงเรียนบ้านชะเมาสามต้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีถูกยิงสามครั้ง และเสียชีวิตในวันทำการของโรงเรียน "ภารโรงโรงเรียน และชาวบ้าน ถูกฆ่าเสียชีวิตในปัตตานี" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่ 7 กันยายน 2553

[34]Human Rights Watch สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ คุณบุญสม ทองศรีไพร ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2010 fดูได้ที่  "ครูถูกฆ่าเสียชีวิตในการสร้างสถานะการณ์ในภาคใต้ของประเทศไทย" รายงานจาก Associated Press,วันที่ 8 กันยายน 2553

[35]Human Rights Watch สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ คุณบุญสม ทองศรีไพร ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2010

[36]Human Rights Watch สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ คุณบุญสม ทองศรีไพร ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553ดูได้ที่  "ครูถูกฆ่าเสียชีวิตในการสร้างสถานะการณ์ในภาคใต้ของประเทศไทย" รายงานจาก Associated Press, วันที่ 8 กันยายน 2553

[37]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณลาวัลย์ ส. อดีตครู สถานที่ และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[38]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณลาวัลย์ ส. อดีตครู สถานที่ และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

 

[39]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณลาวัลย์ ส. อดีตครู สถานที่ และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[40]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณลาวัลย์ ส. อดีตครู สถานที่ และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[41]Human Rights Watch สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่ง วันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[42]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณลาวัลย์ ส. อดีตครู สถานที่ และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[43]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณนุรีฮิม ส. ครูโรงเรียนรัฐบาล สถานที่ตั้ง และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[44]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณนุรีฮิม ส. ครูโรงเรียนรัฐบาล สถานที่ตั้ง และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[45]โดยใช้ชื่อนามสมมติของเหยื่อ วันที่ และสถานที่เสียชีวิต ไม่เป็นที่เปิดเผย เนื่องจากกังวลด้านความปลอดภัยสำหรับผู้อื่น

[46]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณสำลี บ. เจ้าหน้าที่โรงเรียน สถานที่และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[47]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณมะยูดิน บ. ครูใหญ่ สถานที่ และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2551

[48]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณมะยูดิน บ. ครูใหญ่ สถานที่ และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2551

[49]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณสำลี บ. เจ้าหน้าที่โรงเรียน สถานที่และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[50]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณสำลี บ. เจ้าหน้าที่โรงเรียน สถานที่และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553             

[51]Human Rights Watch สัมภาษณ์ลูกคนหนึ่งของครูใหญ่ สถานที่และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[52]"ประกาศของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนปัตตานี" คำที่เขียนดั่งเดิมเป็นภาษาไทย พบในจังหวัดยะลา เมื่อ เดือนมกราคม 2550 และอยู่ในแฟ้มของ Human Rights Watch

[53]"ประเทศไทย : สอบสวนการตายของนักโทษ ในข้อกล่าวหาสงสัยว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ถูกทรมาน จุดประกายให้เกิดการโจมตีแก้แค้น" ข่าวจาก Human Rights Watch วันที่ 16 มิถุนายน 2553

[54] “Pregnant schoolteacher shot to death,” Bangkok Post, June 4, 2009; “Pregnant teacher among four killed in Thai south,” AFP, June 2, 2009; “Teachers’ lives at risk daily,” Bangkok Post, June 4, 2009.

"ครูโรงเรียนที่ตั้งครรภ์ถูกยิงเสียชีวิต" หนังสือพิมพ์” Bangkok Post, วันที่ 4 มิถุนายน 2552 "ครูตั้งครรภ์หนึ่งในสี่ที่ถูกฆ่าเสียชีวิตในภาคใต้ของไทย" ข่าวจาก” AFP, วันที่ 2 มิถุนายน 2552 "ชีวิตครู" กับความเสี่ยงรายวัน" หนังสือพิมพ์”Bangkok Post, วันที่ 4 มิถุนายน 2552

[55]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณอิสมาอิล สาลา เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน สมาพันธ์ยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย เมิ่อวันที่ 28 มีนาคม 2553

[56]"ครูถูกฆ่าและเผาในจังหวัดปัตตานี" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post,วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553

[57]ข่าวจาก Human Rights Watch "ประเทศไทย : “กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบโจมตี ปิดโรงเรียนในภาคใต้" วันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 Marwaan Macan - Markar "ภาคใต้ของประเทศไทย :'กำลังได้รับความรุนแรงยิ่งขึ้น'" ข่าวจาก Asia Times, วันที่ 7 ธันวาคม 2549

[58]ข่าว Human Rights Watch "ประเทศไทย : กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบโจมตี ปิดโรงเรียนในภาคใต้" วันที่ 29 พฤศจิกายน 2549

[59]ตามการวิเคราะห์โดย Deep South Watch, ครูมีอัตราการตายสูง เมื่อถูกโจมตีร้อยละ 59 ของครูที่ถูกทำร้ายได้เสียชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับพระภิกษุสามเณรซึ่งมีร้อยละ22  และ ร้อยละ  41 ของประชาชนธรรมดาที่ถูกโจมตี ศรีสมภพ จิตรภิรมศรี "ปีที่หกของการต่อสู้ในภาคใต้ : การเคลื่อนไหวของการจลาจลและความรุนแรงในรูปแบบใหม่" วันที่ 10 มีนาคม 2553, หาดูได้ที่http://www.deepsouthwatch.org/node/730

[60]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณเจริญ ชัยสิทธิ์ เลขาธิการสมาพันธ์ครูไทยแห่งชาติ ที่กรุงเทพ วันที่ 8 เมษายน 2553

[61]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณไหม ซ. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย เดือน เมษายน 2553

[62]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณเจริญ ชัยสิทธิ์ เลขาธิการสมาพันธ์ครูไทยแห่งชาติ ที่กรุงเทพ วันที่ 8 เมษายน 2553

[63]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณจินตหรา ป. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[64]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณจินตหรา ป. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[65]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณจินตหรา ป. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[66]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณไหม ซ. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย เดือน เมษายน 2553

[67]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณอินทิรา ท. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[68]Human Rights Watch สัมภาษณ์ครูที่โรงเรียนบ้านบาโง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

 

[69]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา จังหวัดยะลา วันที่ 29 มีนาคม 2553

[70]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา จังหวัดยะลา วันที่ 29 มีนาคม 2553

[71]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณไหม ซ. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[72]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณนุรีฮิม ส. ครูโรงเรียนรัฐบาล สถานที่ตั้ง และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[73]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณจินตหรา ป. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[74]Human Rights Watch คุณนุรีฮิม ส. ครูโรงเรียนรัฐบาล สถานที่ตั้ง และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[75]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณปฎิภาน ก. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย เดือน เมษายน 2553

[76]"ครู 100 ท่าน ขอโอนย้าย " หนังสือพิมพ์Bangkok Post, วันที่ 16 มิถุนายน 2552

[77]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณเกษริน ว. และคุณจิตรหา ป. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[78]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณดวงพร วิสินชัย ครูใหญ่โรงเรียนบ้านตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

[79]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณไหม ซ. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย เดือน เมษายน 2553

[80]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณไหม ซ. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย เดือน เมษายน 2553

[81]สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศของกระทรวงศึกษาธิการ "เน้นในการปรับปรุงคุณภาพทางการศึกษาในปี 2552" เดือน กรกฎาคม 2552

[82]Human Rights Watch สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ คุณบุญสม ทองศรีไพร ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2010

[83]"ประเทศไทย : 10 โรงเรียนในจังหวัดยะลาปิดหลังจากครูใหญ่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงขณะขับรถ" ข่าวจาก Thai New Service วันที่ 7 สิงหาคม 2551

[84]"โรงเรียนหลายแห่งปิดท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดในภาคใต้ของประเทศไทย" ข่าวจาก Xinhua News Agency, วันที่ 3 กรกฎาคม 2551

[85]Human Rights Watch สัมภาษณ์แหล่งข่าวราชการลับทางทหาร วันที่ 27 มีนาคม 2553

[86]"ครูเสียชีวิตในเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ของไทย" ข่าวจากAssociated Press, วันที่ 8 กันยายน 2553

[87]คูณสุรศักดิ์ กล้าหาญ "ฝ่ายรัฐบาลภาคใต้จะไม่ใช้ผู้สมานฉัทน์ในแถบภูมิภาคมาเป็นสื่อสร้างสันติภาพ" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552

[88]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณฮามา ฟูล่า ครูใหญ่ สถาบันบ้านตาเซะ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา วันที่ 28 มีนาคม 2010

[89]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณไหม ซ. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย เดือน เมษายน 2553

[90]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณปฎิภาน ค. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย เดือน เมษายน 2553

[91]อีเมล์ จาก องค์กรอิสระ เพื่อสิทธิเด็ก Human Rights Watch, วันที่ 30 เมษายน 2553

[92]Human Rights Watchสัมภาษณ์คุณมาเรียนี. อาชีพครูอาศัยอยู่ในบ้านคลองช้างอำเภอมายอจังหวัดปัตตานีวันที่26 มีนาคม 2553.

[93]Human Rights Watchสัมภาษณ์คุณมาเรียนี. อาชีพครูอาศัยอยู่ในบ้านคลองช้างอำเภอมายอจังหวัดปัตตานีวันที่26 มีนาคม 2553

[94]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด.ช.บาซอ บ. อายุ 12 ขวบ อาศัยอยู่ในบ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มีนาคม 2553

[95]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณมาเรียนี ม. อาชีพครู อาศัยอยู่ในบ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553.

[96]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด..สิทธิ ส. อายุ 9 ขวบ นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาบ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[97]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณบุคอรี ส. ผู้ปกครอง วันที่ 26 มีนาคม 2553 คุณชาฟีเราะห์ ป. ผู้ปกครอง และคุณไดแอน ร. ผู้ปกครอง จากบ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มีนาคม 2553

[98]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณไดแอน ร. ผู้ปกครอง จากบ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มีนาคม 2553

[99]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณบุคอรี ส. ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาที่บ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[100]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด..บาซอ บ. อายุ 12 ขวบ อาศัยอยู่ในบ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มีนาคม 2553

[101]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด..ฮาไซนา ส. อายุ 10 ขวบ อาศัยอยู่ในบ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มีนาคม 2553

[102]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด..ฮาไซนา ส. อายุ 10 ขวบ อาศัยอยู่ในบ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มีนาคม 2553

[103]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณ ชาฟีเราะห์ ป. ผู้ปกครอง บ้านคลองช้าง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มีนาคม 2553

[104]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณบุคอรี ส. ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาที่บ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553.

[105]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณมาเรียนี ม. อาชีพครู อยู่ในบ้านคลองช้าง และมี คุณลาตีฟ ซ. คนในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ใกล้โรงเรียนประถมศึกษาบ้านคลองช้าง และ คุณชาฟีเราะห์ ป. ผู้ปกครอง บ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[106]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณลาตีฟ ซ.คนในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ใกล้โรงเรียนประถมศึกษาบ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[107]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณมาเรียนี ม. อาชีพครู อาศัยอยู่ในบ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[108]Human Rights Watch สัมภาษณ์คนในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ในบ้านคลองช้างอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[109]Human Rights Watch สัมภาษณ์ครูใหญ่ บ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เดือน สิงหาคม 2553

[110]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณ ชาฟีเราะห์ ป. ผู้ปกครอง บ้านคลองช้าง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มีนาคม 2553

[111]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณไดแอน ร. ผู้ปกครอง จากบ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มีนาคม 2553

[112]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด..อาดิค ค. อายุ 12 ปี และ ด..บาซอ บ. อายุ 12 ปี บ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มีนาคม 2553

[113]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณ ชาฟีเราะห์ ป. ผู้ปกครอง บ้านคลองช้าง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มีนาคม 2553

[114]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณอาดิล ส.คนในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ใกล้โรงเรียนประถมศึกษาบ้านคลองช้าง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[115]Human Rights Watch เยี่ยมชมโรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[116]Human Rights Watch เยี่ยมชมโรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[117]Human Rights Watch สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[118]"ครูฝึกทหารทั้ง 5 คน ที่เสียชีวิตจากการโจมตีค่าย" หนังสือพิมพ์ The Nation, วันที่ 5 มีนาคม 2550

[119]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณนาดิรา อ. และ คุณนาซรี จ. ไม่ใช่ชื่อจริง ผู้ปกครอง โรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553 Human Rights Watch สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553 Human Rights Watch สัมภาษณ์แหล่งข่าวราชการลับทางทหาร จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[120]Human Rights Watch สัมภาษณ์แหล่งข่าวราชการลับทางทหาร จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[121]Human Rights Watch สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[122]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณนอร์มะห์ ส. ผู้ปกครอง โรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[123]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณนาฟิซะห์ อ. ย่าของนักเรียน โรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[124]Human Rights Watch สัมภาษณ์แหล่งข่าวราชการลับทางทหาร จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[125]Human Rights Watch สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[126]Human Rights Watch สัมภาษณ์แหล่งข่าวกองทัพท้องถิ่น จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[127]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณนาซรี จ. ผู้ปกครอง โรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[128]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณนาซรี จ. ผู้ปกครอง โรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[129]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณนาฮีซะ บ. ผู้ปกครอง โรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[130]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณนาดีรา อ. คุณโรฮิซา ม. คุณรูบิอะ ร. และ คุณนาซรี จ. ไม่ใช่ชื่อจริงของพวกเขา ชาวบ้านในท้องถิ่น และผู้ปกครอง โรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[131]Human Rights Watch สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[132]Human Rights Watch สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโรงเรียนประถมศึกษาปากาลือสง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[133]Human Rights Watch เยี่ยมชม สถานศึกษาปอเนาะดารุสสลามแอลฟาโตนียะห์  อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มีนาคม 2553 หลังจาก สิงหาคม 2553 ทหารพรานก็จากไปจากสถาบัน และเคลื่อนย้ายฐานห่างจากโรงเรียน ประมาณ 500 เมตร

[134]ในโรงเรียนบ้านคลองมานิง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีทหารจากกองทัพ "หน่วยสันติภาพและการพัฒนา" ได้เข้าครอบครองหนึ่งในสี่ของอาคารเรียนสองชั้น ในโรงเรียนบ้านสามาลา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เดิมทีทหารใช้พื้นที่กว่าครึ่งของอาคารเรียนชั้นล่างของอาคารหลักสองชั้น แต่หลังจากที่โรงเรียนขอให้ใช้พื้นที่ให้น้อยลงตอนนี้พวกเขาก็ใช้ประมาณหนึ่งในสามของชั้นล่าง Human Rights Watch เยี่ยมชม โรงเรียนบ้านคลองมานิง และโรงเรียนบ้านสามาลา เดือน สิงหาคม 2553

[135]Human Rights Watch เยี่ยมชม โรงเรียนบ้านทุ่งคา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา วันที่ 28 มีนาคม 2553

[136]Human Rights Watch สัมภาษณ์ครูผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ชื่อ สถานที่ และวันให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[137]Human Rights Watch เยี่ยมชมโรงเรียนประถมศึกษาบ้านลาอา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2552

[138]อีเมล์ จาก องค์กรอิสระ เพื่อสิทธิเด็ก Human Rights Watch, วันที่ 30 เมษายน 2553

[139]Human Rights Watch เยี่ยมชมโรงเรียนประถมศึกษาบ้านกรือเส อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เดือน สิงหาคม 2553

[140]Human Rights Watch สัมภาษณ์ชาวบ้านบ้านากาชิเนาะ  อำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี เดือนสิงหาคม 2553

[141]Human Rights Watch เยี่ยมชมโรงเรียนประถมศึกษาบ้านล อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2552

[142]Human Rights Watch เยี่ยมชมที่โรงเรียนประถมศึกษาปากาลือเซาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[143]พบปะพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับชาวบ้านในท้องถิ่น พูลากาสิง อำเภอมายอ  จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553 กล่าวว่ามีความกังวลในความปลอดภัยส่วนบุคคล ชาวบ้านไม่ได้เต็มใจอยากให้สัมภาษณ์กับ Human Rights Watch เกี่ยวกับสถานการณ์ที่โรงเรียนซึ่งHuman Rights Watch ไปเยี่ยมชมที่บ้านคลองช้าง เดือน สิงหาคม 2553

[144]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณโรสมัน น. ครูที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน บ้านลาอะ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[145]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณฮานิฟ ป. พ่อของนักเรียนระดับ 3 ที่โรงเรียนประถมศึกษาบ้านลาอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[146]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณโรสมัน น. ครูที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน บ้านลาอะ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[147]Human Rights Watch สัมภาษณ์ชาวบ้าน 3 คน ในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[148]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณโรสมัน น. ครูที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน บ้านลาอะ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[149]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา จังหวัดยะลา วันที่ 29 มีนาคม 2553

[150]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา จังหวัดยะลา วันที่ 29 มีนาคม 2553

[151]Human Rights Watch สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโรงเรียนประถมศึกษาปากาลือเซาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[152]Human Rights Watch สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโรงเรียนประถมศึกษาปากาลือเซาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[153]Human Rights Watch สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโรงเรียนประถมศึกษาปากาลือเซาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 27 มีนาคม 2553

[154]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณโรสมัน น. ครูที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน บ้านลาอะ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[155]Human Rights Watch สัมภาษณ์ชาวบ้าน 3คน ในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[156]Human Rights Watch สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ คุณบุญสม ทองศรีไพร ประธานสมาพันธ์ครูของจังหวัดชายแดนภาคใต้ วันที่ 7 กันยายน 2553 และดูได้ที่  "การชุมนุมรำลึกถึงผู้เสียชีวิต 124 คน" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่ 17 มกราคม 2553, อ้างถึงการลอบวางเพลิง 325 ครั้ง โจมตี โรงเรียน 287 แห่ง ตามมาด้วยอีก 2 โรงเรียนถูกโจมตี

[157]ดู กฎหมายคุ้มครองสิทธิเด็ก ICRC กฎหมายมนุษยธรรมจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ข้อ 52 :"พลเรือนจะไม่ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีหรือจากการแก้แค้น.... การโจมตีจะต้องจำกัดเป้าหมายทางทหารอย่างเคร่งครัด... ในกรณีที่สงสัยว่าสถานที่ซึ่งโดยปกติเป็นการใช้สำหรับพลเรือน ...เช่น โรงเรียน ถูกนำมาใช้เพื่อให้มีส่วนร่วมในการดำเนินการทางทหารให้มีประสิทธิภาพ ต้องไม่สันนิษฐานว่าจะใช้" ดูเพิ่มเติมใน อัยการ v. Kordic, IT-95-14/2-A (คำพิพากษา วันที่ 17 ธันวาคม 2547), วรรค 42 :"ไม่มีข้อสงสัยว่าอาชญากรรมที่ได้ ทำลาย อาคารทางการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ"

[158]การโจมตีจากบนอาคารเรียน ที่ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารต้องไม่ทำตามอำเภอใจหรือไม่มีรูปแบบ การโจมตีตามอำเภอใจเป็นหนึ่งในการโจมตีที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ทางทหาร หรือวิธีการหรือรูปแบบที่ใช้ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างนักรบ และพลเรือน  การโจมตีที่ผิดรูปแบบเป็นที่คาดว่าจะสูญเสียชีวิตพลเรือนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่คาดว่าทหารจะได้รับจากการโจมตี ดู กฎหมายคุ้มครองสิทธิเด็ก ICRC กฎหมายมนุษยธรรมจารีตประเพณีระหว่างประเทศ กฎข้อ 11-12 และ 14 อ้างอิง Protocol I (1977) ข้อ 51(4)--(5)

[159]ดู กฎหมายคุ้มครองสิทธิเด็ก ICRC กฎหมายมนุษยธรรมจารีตประเพณีระหว่างประเทศ กฎข้อ 15 อ้าง Protocol I (1977) ข้อ 57(1)

[160]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ครู 4 คน และองค์กรสิทธิมนุษยชนสากล ได้เยี่ยมชมโรงเรียนบ้านบาโง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

[161]Human Rights Watch สัมภาษณ์ครู 4 คน ที่โรงเรียนบ้านบาโง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

[162]Human Rights Watch สัมภาษณ์ครูที่โรงเรียนบ้านบาโง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

[163]Human Rights Watch สัมภาษณ์ครูที่โรงเรียนบ้านบาโง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

[164]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณบิซา ม. ชาวบ้านท้องถิ่น บ้านปายออำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[165]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณบิซา ม. ชาวบ้านท้องถิ่น บ้านปายออำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[166]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด..ฮาแส อ. อายุ 7 ปี นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาบ้านปายอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

[167]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด..อาฟรีนา ส. อายุ 9 ปี นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาบ้านปายอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

[168]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด..ฮาแส อ. อายุ 7 ปี นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาบ้านปายอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

[169]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด..ฮารอง ม. อายุ 10 ปี นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาบ้านปายอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่24 มีนาคม 2553

[170]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด..กิมพลี อ.อายุ 10 ปี นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาบ้านปายอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่24 มีนาคม 2553

[171]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด..ฮาแส อ. อายุ 7 ปี นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาบ้านปายอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

[172]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด..อาฟรีนา ส. อายุ 9 ปี นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาบ้านปายอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

[173]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณบิซา ม. ชาวบ้านท้องถิ่น บ้านปายออำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[174]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณบิซา ม. ชาวบ้านท้องถิ่น บ้านปายออำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[175]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณบิซา ม. ชาวบ้านท้องถิ่น บ้านปายออำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[176]"ประเทศไทย : โรงเรียนในปัตตานีถูกวางเพลิง ชั้นเรียนถูกปิด" Thai News Service, วันที่ 6 มกราคม 2553 "ประเทศไทย : ตาย 1 จากการวางเพลิงโรงเรียนในภาคใต้" Thai News Service, วันที่ 6 มกราคม 2553 "บาดเจ็บ 2 จากการระเบิดภาคใต้ของไทย" ผู้สังเกตุการณ์ BBC Asia Pacific, วันที่ 5 มกราคม 2553 "บาดเจ็บ 6 จากการระเบิด" หนังสือพิมพ์ The Nation (ประเทศไทย)วันที่ 4 มกราคม 2553 "ระเบิดเจ็บ 6 โรงเรียนถูกลอบวางเพลิง" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่ 3 มกราคม 2553

[177]ตัวอย่าง ผู้ถูกสงสัยว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยิงที่พักอาศัยของครูที่โรงเรียนบาจาโบ ในอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 20 ธันวาคม 2552 และเรือนพักอาศัยในโรงเรียนบ้านตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 13 ตุลาคม 2552 "กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเผาที่พักของครู โจมตีทหารในภาคใต้ของไทย" ผู้สังเกตุการณ์ BBC Asia Pacific, วันที่ 21 ธันวาคม 2552; คุณอนุชา เจริญโพ "รัฐบาลเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการกับความไม่สงบ" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่ 14 ตุลาคม 2552

[178]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณ เกษริน ว. อาชีพครู สถานที่ และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เปิดเผย ปี 2553

[179]พบใบปลิวใกล้โรงเรียนรัฐบาล ในจังหวัดปัตตานี ที่ถูกเผาในเดือนพฤษภาคม 2550 อยู่ในแฟ้มของ Human Rights Watch

[180]Human Rights Watch สัมภาษณ์ สถานที่ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2551

[181]คุณอับดุลเลาะ เบนจากาด "โรงเรียนในภาคใต้ถูกวางเพลิง เด็กที่ถูกยิงยังอาการไม่สู้ดี" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่ 15 มีนาคม 2552

[182]ลอบวางเพลิงโรงเรียนในปัตตานีก่อนเปิดเทอมใหม่" Thai News Service, วันที่ 2 พฤศจิกายน 2552

[183]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ครู 2 คน ที่โรงเรียนบ้านบาโง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

[184]Human Rights Watch สัมภาษณ์ครูที่โรงเรียนบ้านบาโง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

[185]คุณอับดุลเลาะ เบนจากาด "โรงเรียนในภาคใต้ถูกวางเพลิง เด็กที่ถูกยิงยังอาการไม่สู้ดี" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่ 15 มีนาคม 2552

[186]ตัวอย่างอื่นๆ ซึ่งรายงานผ่านสื่อเมื่อเร็วๆ นี้ กล่าวว่า : เพียงแค่ก่อนเที่ยงคืนของ วันที่ 15 มีนาคม 2551 ผู้ต้องสงสัยกลุ่มก่อความไม่สงบใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อจุดระเบิดที่โรงเรียนในเขตอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีทำให้มีผ้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บ 5 คน

ขณะพยายามดับไฟที่โรงเรียนเมื่อระเบิดได้ระเบิดขึ้น "ระเบิดฆ่า 2 คน บาดเจ็บ 18 คน ในภาคใต้ไทยมุสลิม" ข่าวจาก Reuters, วันที่ 16 มีนาคม 2551  วันที่ 20 มีนาคม 2551, กลุ่มก่อความไม่สงบจุดไฟเผาโรงเรียนในอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส และยิงอาสาสมัครป้องกันที่พยายามเข้าไปดับฟ ทั้งสองฝ่ายต่างยิงปืนใส่กันนานกว่าห้านาที แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ "คุณเฉลิม : ผมไม่กลัวที่จะเดินทางไปภาคใต้; กล่าวว่าสงขลาไม่มีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงจากอันตราย" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่ 21 มีนาคม 2551 ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2551 อาคารหนึ่งของโรงเรียนบ้านกระหวะ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ถูกเผาโดยกลุ่มก่อความไม่สงบ ผู้วางเพลิงยิงใส่ตำรวจสารวัตรสืบสวนที่กำลังรตรวจสอบความเสียหาย "ความไม่สงบที่ภาคใต้; โรงเรียนถูกวางเพลิงชั่วโมงก่อนเปิดเทอมใหม่"หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่ 13 พฤษภาคม 2551 ทีมงานของตำรวจและทหารโต้ตอบการยิง ที่โรงเรียนบ้านละหารยามู อำเภอยะรัง ในจังหวัดปัตตานี ที่ถูกกลุ่มก่อความไม่สงบซุ่มวางระเบิดข้างถนนและยิงปืนใส่ วันที่ 10 สิงหาคม 2551 "เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกยิงบาดเจ็บอาการสาหัส" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่12 สิงหาคม 2551 กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบยิงใส่ที่พักของครูตั้งอยู่ภายในโรงเรียนบาทากุโบ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 20 ธันวาคม 2552 และดักซุ่มมยิงทหารที่มาตรวจในที่เกิดเหตุ ได้รับบาดเจ็บ 2 นาย "กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเผาอาคารที่พักของครู โจมตีทหารในภาคใต้ของไทย" ผู้สังเกตุการณ์ BBC Asia Pacific, วันที่ 21 ธันวาคม 2552

[187]Human Rights Watch เยี่ยมชม โรงเรียนบ้านทุ่งคา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา วันที่ 28 มีนาคม 2553

[188]Human Rights Watch สัมภาษณ์ทหารที่โรงเรียน ในจังหวัดยะลา วันที่ 28 มีนาคม 2553 "ประเทศไทย : การลอบวางเพลิงโรงเรียน และการโจมตีด้วยระเบิดที่ไม่ทำงาน ในจังหวัดยะลา" แหล่งข่าว Thai News Service, วันที่ 23 มีนาคม 2553 "ประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บ จากการปะทะกันในภาคใต้ อาจได้รับผลประโยชน์ที่ดีขึ้น" แหล่งข่าว Thai News Service, วันที่ 22 มีนาคม 2553

[189]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณอังคณา นีละไพจิตร ประธานกลุ่มทำงานเกี่ยวกับความยุติธรรมเพื่อสันติ กรุงเทพ วันที่ 23 มีนาคม 2553 และ คุณกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา วันที่ 29 มีนาคม 2553 ตัวอย่างเช่น ตามรายงานของสื่อผู้ที่ถูกจับกุมในการลอบวางเพลิงโรงเรียนบ้านต้นยง อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ในเดือนสิงหาคม 2553 อ้างว่าเขาได้รับการจ้างเผาโรงเรียนโดยประธานสภาท้องถิ่น บุคคลที่ถูกกล่าวหา กล่าวว่าการดำเนินผู้รลอบวางเพลิงเป็นทหารจาก"หน่วยสันติภาพและการพัฒนา" ที่มีฐานที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนที่ถูกโจมตี  ดู "การสืบสวนใหม่ กรณีเผาโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองท้องถิ่น" แหล่งข่าว คมชัดลึก วันที่ 14 กันยายน 2552 และ "ได้จับกุมผู้ต้องสงสัยเผาโรงเรียน"กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ วันที่ 2กันยายน 2552

 

[190]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณลาวัลย์ ส. อดีตครู สถานที่ และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[191]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณลาวัลย์ ส. อดีตครู สถานที่ และวันที่ให้สัมภาษณ์ไม่เป็นที่เปิดเผย ปี 2553

[192]Human Rights Watch สัมภาษณ์ครูที่โรงเรียนบ้านบาโง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

[193]Human Rights Watch สัมภาษณ์ครูที่โรงเรียนบ้านบาโง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

[194]Human Rights Watch สัมภาษณ์ครูที่โรงเรียนบ้านบาโง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี วันที่ 24 มีนาคม 2553

[195]เข้าไปดูได้ใน International Crisis Group "การรับสมัครทหารในภาคใต้ของประเทศไทย" Asia Report รายงานฉบับที่ 170, วันที่ 22 มิถุนายน 2552 และ Joseph Chinyong Liow  และ Don Pathan "เจอผี : การก่อความไม่สงบที่ไม่มีรูปแบบในภาคใต้ของประเทศไทย" Lowy Institute Paper 30, 2010

[196]สนธิสัญญาขั้นต้นของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ในการเข้าไปมีส่วนร่วมของเด็กๆ ในความขัดแย้งด้วยการใช้กำลังอาวุธ นำมาใช้เมือ วันที่ 25 พฤษภาคม 2543 A/RES/54/263, บังคับใช้ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 ข้อ 4(1) :"กลุ่มติดอาวุธที่มีรุปแบบที่ต่างจากกองทัพของรัฐ ไม่ว่าภายใต้สถานการณ์ใดๆ การ เกณฑ์หรือใช้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ในการสู้รบ" ประเทศไทยเป็นภาคีในสนธิสัญญาขั้นต้น เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549

[197]Human Rights Watch สัมภาษณ์อดีตผู้ก่อความไม่สงบ สถานที่ไม่เป็นที่เปิดเผย เดือน กันยายน 2550

[198]Human Rights Watch สัมภาษณ์ผู้อาวุโส  BRN-C จังหวัดปัตตานี เดือนตุลาคม 2550

[199]Human Rights Watch สัมภาษณ์นักการเมืองท้องถิ่น สถานที่ไม่เป็นที่เปิดเผย เดือน กันยายน 2550.

[200]ดูใน Human Rights Watch สัมภาษณ์สมาชิกประสานงานกลุ่ม BRN ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เดือนเมษายน 2547 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2549  ดูใน "ไม่มีใครปลอดภัย:ผู้ก่อความไม่สงบสร้างความรุนแรงต่อพลเรือนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย" รายงานโดย Human Rights Watch เดือน สิงหาคม 2550

[201]ดูใน Human Rights Watch สัมภาษณ์สมาชิกประสานงานกลุ่ม BRN ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เดือน เมษายน 2547 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2549 ดู "ไม่มีใครปลอดภัย:ผู้ก่อความไม่สงบ สร้างความรุนแรงต่อพลเรือนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย" รายงานโดย Human Rights Watch เดือน สิงหาคม 2550

[202]อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก CRC ข้อ 37(b) :"เด็กจะไม่ถูกริบดรอนเสรีภาพของตนอย่างผิดกฎหมายหรือโดยไม่มีหลักเกณฑ์    การจับกุม การกักขัง หรือการจําคุกเด็ก จะต้องสอดคล้องกับกฎหมาย และจะถูกใช้เพียงเป็นมาตรการสุดท้าย และเป็นช่วงเวลาที่สั้นที่เหมาะสม เข้าไปดูใน กติการะหว่างประเทศในประมวลกฎหมายแพ่งและสิทธิทางการเมือง (ICCPR), GA res 2200A (XXI), 21 U.N. GAOR supp(ฉบับที่ 16) ที่ 52, UN Doc A/6316 (1966), 999 UNTS 171 บังคับใช้ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2519 ข้อ 9 :"ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพและความมั่นคงของบุคคล ไม่มีใครต้อง

ถูกจับกุม หรือกักขัง ไม่มีใครต้องถูกริดรอนเสรีภาพของเขา ยกเว้นด้วยหลักฐานและตามขั้นตอนที่มีขึ้นตามกฎหมาย ประเทศไทยให้สัตยาบัน กติการะหว่างประเทศในประมวลกฎหมายแพ่งและสิทธิทางการเมือง ICCPR เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539

[203]หลักการพื้นฐานของสหประชาชาติในการใช้กำลัง และอาวุธปืน โดยเจ้าหน้าที่ ที่บังคับใช้กฎหมาย และจรรยาบรรณสำหรับเจ้าหน้าที่ ที่บังคับใช้กฎหมาย แต่เจ้าหน้าที่ ที่บังคับใช้กฎหมายควรปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยไม่ใช้ความรุนแรง และใช้บังคับเฉพาะเมื่อจำเป็นอย่างเคร่งครัด เมื่อการใช้กำลังไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรใช้ในสัดส่วนเดียวกับความร้ายแรงของความผิด และวัตถุประสงค์ ตามกฎหมาย และต้องลดความเสียหายและบาดเจ็บให้น้อยที่สุด ดูหลักการพื้นฐานในการใช้กำลัง และอาวุธปืนโดยเจ้าหน้าที่ ที่บังคับใช้กฎหมาย (หลักพื้นฐาน) นำมาใช้โดยประเทศสมาชิกผู้นำ 8 ประเทศของสหประชาชาติ ในการป้องกันอาชญากรรมและการปฎิบัติต่อผู้ต้องขัง Havana,วันที่ 27 สิงหาคม ถึง 7 กันยายน 2533, UN Doc A/CONF.144/28/Rev.1 หลักการที่ 112 (1990), 4 และ 5; United Nations จรรยาบรรณเจ้าหน้าที่ ที่บังคับใช้กฎหมาย นำมาใช้ วันที่ 17 ธันวาคม 2522, GA res 34/169, ภาคผนวก, 34 U.N. GAOR Supp. (ฉบับที่ 46) ที่ 186, UN Doc A/34/46 (1979), ข้อ 3

[204]Human Rights Watch ได้สัมภาษณ์ นาย เปาะ ม. จังหวัดนราธิวาส วันที่ 20 กรกฎาคม 2552

[205]พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.. 2534 (1991), มาตราที่ 49

[206]เกณฑ์การปฎิบัติคดีอาญา มาตรา 133 ทวิ

[207]เกณฑ์การปฎบัติคดีอาญา มาตรา 133 ทวิ และ 134 ตรี

[208]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา จังหวัดยะลา วันที่ 29 มีนาคม 2553

[209]"มีอาวุธเท่ากับท้าทายอันตราย" หนังสือพิมพ์ Bangkok Post, วันที่ 30 มีนาคม 2550

[210]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณฮามา ฟูล่า ครูใหญ่ และ Human Rights Watch เข้าเยี่ยมชม สถาบันบ้านตาเซะ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา วันที่ 28 มีนาคม 2553

[211]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณฮามา ฟูล่า ครูใหญ่ สถาบันบ้านตาเซะ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา วันที่ 28 มีนาคม 2010

[212]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณมูฮัมมัด กามี ไอซอ ครูใหญ่ โรงเรียนอิสลามแสงธรรมวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม 2553

[213]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณมูฮัมมัด กามี ไอซอ ครูใหญ่ โรงเรียนอิสลามแสงธรรมวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม 2553

[214]"ทหารไทยโจมตี โรงเรียนมุสลิม" Al Jazeera ภาคภาษาอังกฤษ วันที่ 12 ตุลาคม 2552

[215]Human Rights Watch สัมภาษณ์ ด.. การีม อ. อายุ 10 ปี, โรงเรียนอิสลามแสงธรรมวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม 2553

[216]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณคอลิด ร. อายุ 20 ปี โรงเรียนอิสลามแสงธรรมวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม 2553

[217]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณคอลิด ร. อายุ 20 ปี โรงเรียนอิสลามแสงธรรมวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม 2553

[218]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณคอลิด ร. อายุ 20 ปี โรงเรียนอิสลามแสงธรรมวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม 2553

[219]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณมูฮัมมัด กามี ไอซอ ครูใหญ่ โรงเรียนอิสลามแสงธรรมวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม 2553

[220]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณมูฮัมมัด กามี ไอซอ ครูใหญ่ โรงเรียนอิสลามแสงวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม 2553 อุปกรณ์หลัก ที่ใช้อธิบาย คือ GT200 เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดเจ้าปัญหาที่ถูกใช้เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน ในการคุมตัวผู้ต้องสงสัยจำนวนมาก เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศผลการศึกษาเครื่อง GT200 ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ซึ่งสรุปได้จากกรณีตัวอย่างว่า เป็นอุปกรณ์ในการค้นพบสารระเบิดได้เพียงร้อยละ 20 จากตัวอย่างทั้งหมด ดู "ประเทศไทย : หยุดการใช้เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่น่าอดสู : เครื่องมือ GT200 ทำให้เกิดความขัดแย้งในภาคใต้" Human Rights Watch ให้ข่าว วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 ดูได้ที่http://www.hrw.org/en/news/2010/02/ 17/thailand-stop-using-discredited-explosives-detector

[221] Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณมูฮัมมัด กามี ไอซอ ครูใหญ่ โรงเรียนอิสลามแสงธรรทวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม

[222]"ทหารไทยจู่โจมโรงเรียนมุสลิม" Al Jazeera ภาคภาษาอังกฤษ วันที่ 12ตุลาคม 2552 คัดลอกข้อมูลไว้ในแฟ้ม Human Rights Watch

[223]สัมภาษณ์คุณมูฮัมมัด กามี ไอซอ ครูใหญ่ โรงเรียนอิสลามแสงธรรมวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม 2553 สื่อท้องถิ่นรายงานว่าเขาเคยเป็นครู แต่ครูใหญ่กล่าวว่าข้อมูลนี้ไม่ถูกต้อง และเขาเคยเป็นนักเรียน ตามหลักเกณฑ์ของโรงเรียน นักเรียนได้ส่งหนังสือเดินทางของเขาไปยังกัมพูชาเพื่อต่ออายุ และนำเอกสารการต่ออายุมาแสดง

[224]ทหารไทยจู่โจมโรงเรียนมุสลิม”Al Jazeeraภาคภาษาอังกฤษ วันที่ 12ตุลาคม 2552 คัดลอกข้อมูลไว้ในแฟ้ม Human Rights Watch

[225]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณมูฮัมมัด กามี ไอซอ ครูใหญ่ โรงเรียนอิสลามแสงธรรมวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม 2553

[226]Human Rights Watch สัมภาษณ์แหล่งข่าวทางทหาร สถานที่ไม่เป็นที่เปิดเผย วันที่ 24 มีนาคม 2553

[227]Human Rights Watch สัมภาษณ์คุณมูฮัมมัด กามี ไอซอ ครูใหญ่ โรงเรียนอิสลามแสงธรรมวิทยา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส วันที่ 31 มีนาคม 2553

[228]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณมาลิก ส. สมาชิกเจ้าหน้าที่อาวุโส โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมุสลิมีนอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 25 มีนาคม 2553

[229]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณมาลิก ส. สมาชิกเจ้าหน้าที่อาวุโส โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มุสลิมีนอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 25 มีนาคม 2553

[230]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณโรสมัน น. ครูที่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มุสิลมีน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[231]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณมาลิก ส. สมาชิกเจ้าหน้าที่อาวุโส โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ุสลิมีน  อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 25 มีนาคม 2553 และสัมภาษณ์ คุณโรสมัน น.ครูที่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มุสลิมีนอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26 มีนาคม 2553

[232]Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณโรสมัน น. ครูที่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ุสลิมีน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี วันที่ 26มีนาคม 2553

[233]Human Rights Watchสัมภาษณ์ คุณมุสตาฟา ส. อาชีพครู สถานที่ไม่เป็นที่เปิดเผย วันที่ 25 มีนาคม 2553

[234] Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณมุสตาฟา ส. อาชีพครู สถานที่ไม่เป็นที่เปิดเผย วันที่ 30 มีนาคม 2553

[235] Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณมุสตาฟา ส. อาชีพครู สถานที่ไม่เป็นที่เปิดเผย วันที่ 30 มีนาคม 2553

[236] Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณมุสตาฟา ส. อาชีพครู สถานที่ไม่เป็นที่เปิดเผย วันที่ 30 มีนาคม 2553

[237] Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณมุสตาฟา ส. อาชีพครู สถานที่ไม่เป็นที่เปิดเผย วันที่ 30 มีนาคม 2553

 

[238] Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณการีม นาคนาวา ครูใหญ่ สถาบันดอเลาะ อำเภอท่าริง จังหวัดปัตตานี วันที่ 25 มีนาคม 2553

[239] Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณการีม นาคนาวา ครูใหญ่ สถาบันดอเลาะ อำเภอท่าริง จังหวัดปัตตานี วันที่ 25 มีนาคม 2553

[240] Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณการีม นาคนาวา ครูใหญ่ สถาบันดอเลาะ อำเภอท่าริง จังหวัดปัตตานี วันที่ 25 มีนาคม 2553

[241] Human Rights Watch สัมภาษณ์ คุณการีม นาคนาวา ครูใหญ่ สถาบันดอเลาะ อำเภอท่าริง จังหวัดปัตตานี วันที่ 25 มีนาคม 2553